ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร

อดีตรองนายกรัฐมนตรีไทย

พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร หรือ บิ๊กเจี๊ยบ (9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2496 - ปัจจุบัน) เป็นนายทหารชาวไทย, อดีตรองนายกรัฐมนตรี, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ, อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด, อดีตสมาชิกวุฒิสภา และอดีตรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฝ่ายความมั่นคง

ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล
ถัดไปดอน ปรมัตถ์วินัย
รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 – 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
หัวหน้าประยุทธ์ จันทร์โอชา
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2554 – 30 กันยายน พ.ศ. 2557
ก่อนหน้าพลเอก ทรงกิตติ จักกาบาตร์
ถัดไปพลเอก วรพงษ์ สง่าเนตร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2496 (70 ปี)
อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา
คู่สมรสเพ็ญลักษณ์ ปฏิมาประกร
ชื่อเล่นเจี๊ยบ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัดกองบัญชาการกองทัพไทย
ประจำการพ.ศ. 2515 - พ.ศ. 2557
ยศ พลเอก
พลเรือเอก
พลอากาศเอก
บังคับบัญชาผู้บัญชาการทหารสูงสุด

ประวัติ แก้

ชีวิตส่วนตัว แก้

ธนะศักดิ์ ชื่อเล่นนามว่า เจี๊ยบ เกิดที่อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา เป็นบุตรของ พ.อ. ยงยุทธ ปฏิมาประกร หลานตาใน รองอำมาตย์เอก หลวงนิติการประสิทธิ์ (นวน เหมนิธิ) กับ ภริยาคนที่ 2 อุก นิติการประสิทธิ์ (ญ.) เป็นผู้สืบสายสกุล “ณ ราชสีมา” ชั้น 8 สาย "พระยาภักดีสงคราม (เจ้าเมืองนางรอง)"[1][2] และสวาสดิ์ ปฏิมาประกร (ญ.)

ธนะศักดิ์ สมรสกับ นางเพ็ญลักษณ์ ปฏิมาประกร (นามสกุลเดิม: บุนนาค)[3]

การศึกษา แก้

ธนะศักดิ์ จบการศึกษาจาก ดังนี้

(ตท.12 และจปร.23 ซึ่งเป็นรุ่นเดียวกับพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา, พล.อ. ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ, พล.อ. ธวัชชัย สมุทรสาคร)[4]

บทบาทในทางสังคม แก้

งานด้านการทหาร แก้

 
พล.อ. ธนะศักดิ์ จับมือกับพล.อ. พิคราม ซิงห์ เสนาธิการทหารบกอินเดีย คนที่ 24 เมื่อปีพ.ศ. 2557

ธนะศักดิ์ได้รับพระราชทานยศ ร้อยตรี ในปีพ.ศ. 2519 เป็นทหารเหล่าทหารราบ ตำแหน่งแรกของธนะศักดิ์ คือ ผู้บังคับหมวดปืนเล็ก กองร้อยอาวุธเบา กองพันทหารราบที่ 2 กรมผสมที่ 4 จังหวัดนครสวรรค์ เติบโตในราชการมาจากกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ (ทหารเสือราชินี) และหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ จังหวัดลพบุรี โดยตรง และเคยเป็นผู้บังคับบัญชาหน่วยนี้มาก่อน รวมทั้งเป็นผู้บังคับบัญชาคนแรกของหน่วยปฏิบัติการเฉพาะกิจ 90 ซึ่งสังกัดในหน่วยนี้ด้วย[6] ต่อมาในการรัฐประหารเมื่อปี พ.ศ. 2557 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ[7] ซึ่งตั้งขึ้นภายหลังการยึดอำนาจครั้งนั้น

ชีวิตส่วนตัวมีชื่อเล่นว่า "เจี๊ยบ" สื่อมวลชนจึงมีชื่อที่นิยมเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า "บิ๊กเจี๊ยบ"

งานด้านการเมือง แก้

ในรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เขาดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557 มีแหล่งข่าวทางทูตว่า ความปรารถนาชัดแจ้งและดิ้นรนที่จะได้การรับรองจากตะวันตกผลักดันให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแสวงการให้สัญญาณเชิงสัญลักษณ์มากกว่าการริเริ่มที่มีแก่นสาร แหล่งข่าวกระทรวงการต่างประเทศอีกแหล่งหนึ่งว่า พล.อ.ธนะศักดิ์ พาดพิง"ประชาธิปไตย" 13 ครั้งในสุนทรพจน์เขา ขณะที่ประธานาธิบดีสหรัฐบารัก โอบามา พาดพิง 7 ครั้ง และนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรเดวิด แคเมอรอนพาดพิง 10 ครั้ง การอ้างถึงประชาธิปไตยบ่อยครั้งกลายเป็นเรื่องขบขันในบรรดาสมาชิกชุมชนทางทูต

ต่อมาเขาได้พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีเพียงตำแหน่งเดียว และได้รับมอบหมายให้กำกับดูแลงานกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และกระทรวงวัฒนธรรม[8]

เกียรติยศ แก้

รางวัล แก้

  • รางวัลเกียรติยศจักรดาว สาขาบริหารการปกครองและเสริมสร้างความมั่นคงแห่งชาติ ประจำปีพ.ศ. 2554[9]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

ไทย แก้

ต่างประเทศ แก้

  •   สิงคโปร์:
    • พ.ศ. 2556 -   เครื่องอิสริยาภรณ์ดัรจะฮ์ อูตามา บักตี เจอเมอร์ลัง (เท็นเทรา)[18][19]
  •   อินโดนีเซีย:
    • พ.ศ. 2556 -   เครื่องอิสริยาภรณ์ดาราการติกาเอกปักษี ชั้นอุตมา[20]
  •   มาเลเซีย:
    • พ.ศ. 2556 -   เครื่องราชอิสริยาภรณ์เกปาห์ลาวานัน อังคะตัน เต็นเตรา ชั้นที่ 1[21]

ลำดับสาแหรก แก้

อ้างอิง แก้

  1. กรมศิลปากร, จดหมายเหตุนครราชสีมา 11 กันยายน พ.ศ. 2497, พิมพ์สนองคุณ เจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น ณ ราชสีมา) และ เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินท์ ณ ราชสีมา), กรุงเทพฯ: ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ม.ป.ป.)
  2. ต้นสกุล ณ ราชสีมา ย้อนเรื่อง เมืองโคราช
  3. "เว็บไซต์สายสกุลบุนนาค". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-09. สืบค้นเมื่อ 2011-09-30.
  4. โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งทหารแล้ว พล.อ.ธนะศักดิ์ นั่งแท่นผบ.ทท.คนใหม่ จากกระปุกดอตคอม
  5. “พล.อ.ธนะศักดิ์” รับปริญญาเอก ม.บูรพา ได้ดุษฎีนิพนธ์ดีเด่น[ลิงก์เสีย]
  6. วาสนา นาน่วม, ลับลวงเลือด สำนักพิมพ์มติชน (กันยายน, 2553) ISBN 9789740206552
  7. พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 32 ราย)
  8. นายกฯ"แบ่งงาน 6 รองนายกฯ....
  9. รางวัลเกียรติยศจักรดาว ปี 2554[ลิงก์เสีย]
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๓, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2005-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑๐, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๗๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๒, ๓ มิถุนายน ๒๕๒๕
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๕๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๑๒ กันยายน ๒๕๒๒
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๓๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๙, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๓๐
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๑๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๑, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๓๑
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๓, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๗, ๕ มิถุนายน ๒๕๕๕
  17. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๐ ข หน้า ๑, ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๓๘
  18. PRESIDENT TONY TAN KENG YAM CONFERS DISTINGUISHED SERVICE ORDER (MILITARY) ON GENERAL TANASAK PATIMAPRAGORN, CHIEF OF DEFENCE FORCES OF ROYAL THAI ARMED FORCES, AT STATE ROOM, ISTANA
  19. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๑๐ ข หน้า ๒, ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๗
  20. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๒๙ ข หน้า ๕, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๖
  21. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๑๑, ๑๗ กันยายน ๒๕๕๖
ก่อนหน้า ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ถัดไป
พลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก
สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล
นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล
กิตติรัตน์ ณ ระนอง
พงศ์เทพ เทพกาญจนา
ปลอดประสพ สุรัสวดี
ยุคล ลิ้มแหลมทอง
   
รองนายกรัฐมนตรี (ครม.61)
(30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 - 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560)
  พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ
สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (ครม. 61)
(30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 - 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558)
  ดอน ปรมัตถ์วินัย
พลเอก ทรงกิตติ จักกาบาตร์    
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
(1 ตุลาคม พ.ศ. 2554 - 30 กันยายน พ.ศ. 2557)
  พลเอก วรพงษ์ สง่าเนตร