ธงรวมเกาหลีเป็นธงที่คิดขึ้นเพื่อใช้เป็นตัวแทนของทั้งประเทศเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ในการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติ เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1991 โดยทั้งสองประเทศได้รวมทีมกีฬาของตนเข้าเป็นทีมเดียวในการเข้าร่วมการแข่งขันเทเบิลเทนนิสชิงแชมป์โลกครั้งที่ 41 ที่เมืองชิบะ ประเทศญี่ปุ่น และการแข่งขันฟุตบอลเยาวชนชิงแชมป์โลกครั้งที่ 6 ที่กรุงลิสบอน ประเทศโปรตุเกส


ธงรวมชาติเกาหลี
ชื่ออื่น
ชื่อเกาหลี
ฮันกึล통일기 , 한반도기
ฮันจา統一旗 , 韓半島旗
อักษรโรมันฉบับปรับปรุงTong-ilgi , Hanbandogi
สัดส่วนธง 2:3
ประกาศใช้ 1991; 33 ปีที่แล้ว (1991)
ลักษณะ Image of the Korean Peninsula in solid blue, including Jeju and Ulleung islands.

ประเทศเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ได้ร่วมเดินสวนสนามภายใต้ธงรวมเกาหลีในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2000 ที่เมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย, โอลิมปิกฤดูร้อน 2004 ที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ, โอลิมปิกฤดูหนาว 2006 ที่เมืองโตริโน ประเทศอิตาลี และในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ 2006 ที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ อย่างไรก็ตาม ในการแข่งขันกีฬารายการดังกล่าว ทั้งสองประเทศจะแยกกันแข่งขันกีฬาในนามของชาติตนเอง ในโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ที่กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน คณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในครั้งนั้นได้วินิจฉัยว่าทั้งสองประเทศต้องเข้าร่วมแข่งขันแยกกันตามประเทศของตน ทำให้ในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งนี้ไม่มีการใช้ธงรวมเกาหลี[1] ธงรวมเกาหลีจะนำกลับมาใช้อีกครั้งในโอลิมปิกฤดูหนาว 2018[2] และ เอเชียนเกมส์ 2018.

ธงนี้ถือเป็นสัญลักษณ์ร่วมของทั้งเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ พื้นธงเป็นสีขาว ที่กลางธงเป็นรูปแผนที่คาบสมุทรเกาหลีสีฟ้า โดยรูปแผนที่ดังกล่าวได้รวมถึงเกาะเชจู ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศเกาหลีใต้ ในปี 2006 ทั้งสองประเทศได้ตกลงกันที่จะใช้รูปแผนที่ในธงซึ่งรวมถึงเกาะด๊อกโดด้วยอีกเกาะหนึ่ง[3] อย่างไรก็ตาม ธงนี้มิได้สถานะเป็นธงอย่างเป็นทางการของทั้งสองประเทศแต่อย่างใด

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. [https://web.archive.org/web/20110613222943/http://news.hankooki.com/lpage/sports/200807/h2008072903033791910.htm เก็บถาวร 2011-06-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 한국일보 : [니하오! 베이징] 한국 176번째, 북한은 177번째 입장 外]
  2. Sang-Hun, Choe (17 January 2017). "North and South Korean Teams to March as One at Olympics". Hong Kong. The New York Times. สืบค้นเมื่อ 17 January 2018.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-10-12. สืบค้นเมื่อ 2010-04-21.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้