ธงชาติไอร์แลนด์

ธงชาติไอร์แลนด์ (ไอริช: bratach na hÉireann / suaitheantas na hÉireann[1][2]) เป็นธงสามสีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นธงแบ่งแถบสีตามแนวตั้ง แต่ละแถบมีขนาดเท่ากัน เรียงตามลำดับ คือ สีเขียว สีขาว และสีแสด [3][4] ธงนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ "ธงไตรรงค์ไอริช" หรือที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า "Irish tricolour"[5] สัดส่วนของธงกว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน โดยทางการแล้ว ความหมายของธงชาติไอร์แลนด์มิได้มีการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐ[6] แต่โดยทั่วไปแล้ว ได้มีนิยามความหมายของธงไว้ว่า สีเขียวคือสีแห่งความเป็นชาตินิยมของชาวไอริชตามธรรมเนียมปฏิบัติ สีแสดเป็นสีของกลุ่มออเรนจ์อินสติติวชั่น (Orange Institution) ซึ่งเป็นชื่อขององค์กรศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์แห่งหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในทางการเมืองของไอร์แลนด์ ส่วนสีขาวซึ่งแทรกอยู่ระหว่างสีทั้งสองถือเป็นสัญลักษณ์แห่งสันติภาพ[7] สีขาวที่กลางธงนี้ยังอาจหมายถึงการสงบศึกครั้งสุดท้ายระหว่างฝ่ายสีเหลืองกับฝ่ายสีแสดก็ได้[8]


Ireland
การใช้ ธงชาติและธงชาติประจำเรือ
สัดส่วนธง 1ต่อ2
ประกาศใช้ ค.ศ. 1919
ลักษณะ ธงแถบสีตามแนวตั้ง แต่ละแถบมีขนาดเท่ากัน เรียงตามลำดับ คือ สีเขียว สีขาว และสีส้ม
ธงชาติไอร์แลนด์ (แถบสีทอง)

การออกแบบ และ สัญลักษณ์ แก้

โทนสี แก้

Scheme สีเขียว สีขาว สีแสด
Pantone 347 White 151
Hex triplet #009A49 #FFFFFF #FF7900

ประวัติ แก้

ประวัติของธงนี้เริ่มต้นในปี ค.ศ. 1848 เมื่อกลุ่มสตรีชาวฝรั่งเศสกลุ่มเล็กๆ กลุ่มหนึ่งที่เห็นใจในการต่อสู้ของชาวไอริชได้มอบธงสามสีธงนี้เป็นของขวัญแก่โทมัส ฟรานซิส มีเกอร์ (Thomas Francis Meagher) ผู้นำขบวนการยังไอร์แลนด์ (Young Ireland) ซึ่งเป็นขบวนการชาตินิยมไอร์แลนด์ที่สำคัญกลุ่มหนึ่ง[9][10] อย่างไรก็ตามกว่าธงดังกล่าวจะได้ชักขึ้นครั้งแรกก็ล่วงเลยมาถึงปี ค.ศ. 1916 เมื่อชาวไอริชได้ลุกฮือต่อต้านสหราชอาณาจักรในวันอีสเตอร์ของปีนั้น ธงสามสีของไอร์แลนด์ได้ถูกชักขึ้นเหนือที่ทำการไปรษณีย์กลางที่กรุงดับลิน จึงถือกันว่าธงสามสี เขียว-ขาว-แสด เริ่มมีฐานะเป็นธงชาติไอร์แลนด์ครั้งแรกในเหตุการณ์ครั้งนั้น[11]

ธงสามสีธงนี้ได้รับการยอมรับฐานะการเป็นธงชาติจากสาธารณรัฐไอริชเมื่อปี ค.ศ. 1919 ซึ่งเป็นช่วงเวลาระหว่างสงครามประกาศเอกราชไอร์แลนด์ หลังจากนั้นรัฐบาลของเสรีรัฐไอริช (ดำรงอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1922 - 1937) จึงได้ให้สถานะเป็นธงชาติตามรัฐธรรมนูญของไอร์แลนด์ในปี ค.ศ. 1937 ด้วยเหตุว่ากลุ่มชาตินิยมไอร์แลนด์จำนวนมากถือกันว่าธงนี้คือธงชาติของเกาะไอร์แลนด์ทั้งหมด ทำให้กลุ่มชาตินิยมไอร์แลนด์เหนือจำนวนมากจึงใช้ธงชาติไอร์แลนด์เป็นสัญลักษณ์ของตนเช่นเดียวกับสมาคมนักกีฬาเกลิก (Gaelic Athletic Association) ซึ่งการใช้ธงดังกล่าวมักจะนำมาซึ่งความขัดแย้งอยู่เสมอ[12]

ธงชาติไอร์แลนด์มีลักษณะที่ใกล้เคียงกับธงชาติของประเทศโกตดิวัวร์ แต่ธงของโกตดิวัวร์มีขนาดสั้นกว่าและเรียงสีสลับลำดับกัน

อ้างอิง แก้

  1. Bunreacht na hÉireann, Airteagal 7
  2. Bunreacht na hEireann (Dréacht) – Dara Céim เก็บถาวร 2011-08-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Díospóireachtaí Parlaiminte, Dáil Éireann, Volume 67, 11 May, 1937
  3. Department of the Taoiseach
  4. Constitution of Ireland - Bunreacht na hÉireann (Article 7)
  5. In the English language, when referring to the Irish tricolour, it is correctly pronounced as "try-colour" as opposed to "trickalour" for the French tricolour and other flags.[ต้องการอ้างอิง]
  6. Bunreacht na hÉireann
  7. Taoiseach.gov.ie
  8. 'National Flag' Department of the Taoiseach "Youth Zone" web page.
  9. Sean Duffy, The Concise History of Ireland, 2005
  10. Rick Steve's Ireland 2008
  11. The National Flag: Design, Department of the Taoiseach.
  12. Sugden, John & Harvie, Scott (1995). Sport and Community Relations in Northern Ireland, Centre for the Study of Conflict, School of History, Philosophy and Politics, Faculty of Humanities, University of Ulster. Retrieved on 14 June 2007.

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้