ธงชาติเอกวาดอร์

ธงชาติเอกวาดอร์เป็นธงแถบสีแนวนอนซึ่งประกอบด้วยสีเหลือง สีน้ำเงิน และสีแดง (แถบสีเหลืองนั้นกว้างเป็นสองเท่าของแถบสีอื่น) อันได้รับการยอมรับฐานะอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 26 กันยายน ค.ศ. 1860 ลักษณะของธงดังกล่าวคล้ายคลึงกับธงชาติของโคลอมเบียและเวเนซุเอลา ซึ่งล้วนเคยเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของแกรนโคลอมเบียในอดีต ธงของทั้งสามชาตินี้ล้วนมีต้นแบบมาจากธงซึ่งออกแบบโดยฟรันซิสโก เด มิรันดา นายพลทหารชาวเอกวาดอร์ ซึ่งธงดังกล่าวนี้ได้เริ่มใช้ก่อนที่ประเทศเวเนซุเอลาในปี ค.ศ. 1811 และ แกรนโคลอมเบียในช่วงเวลาต่อมาโดยมีการดัดแปลงลักษณะบางประการ


ธงชาติเอกวาดอร์
ชื่ออื่น สเปน: "La Tricolor"
การใช้ ธงราชการและธงกองทัพ
สัดส่วนธง 1:2
ประกาศใช้ 26 กันยายน พ.ศ. 2403
สัดส่วนปัจจุบัน พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
ลักษณะ ธงสามสีสามแถบแนวนอนสีเหลือง-น้ำเงิน-แดง มีรูปตราแผ่นดินที่กลางธง แถบเหลืองกว้างเป็นสองเท่าของแถบสีอื่น
ธงชาติฯในรูปแบบอื่น
การใช้ ธงพลเรือนและธงเรือราษฎร์
สัดส่วนธง 2:3
ลักษณะ ธงชาติเอกวาดอร์ ไม่มีรูปตราแผ่นดิน
ธงชาติฯในรูปแบบอื่น
การใช้ ธงเรือรัฐบาลและธงนาวี
สัดส่วนธง 2:3
ลักษณะ ใช้ธงชาติเอกวาดอร์ในขนาดที่สั้นกว่า
ธงชาติฯในรูปแบบอื่น
การใช้ ธงกองทัพ
สัดส่วนธง 1:1
ลักษณะ ใช้ธงชาติเอกวาดอร์แบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส

รายละเอียด แก้

การออกแบบ แก้

 
แบบการสร้างธงชาติ

มิรันดาได้ระบุเหตุผลที่เขาเลือกสีทั้งสามลงในธงของเขาว่ามีที่มาจากทฤษฎีแม่สีของโยฮันน์ โวล์ฟกัง ฟอน เกอเธอ ในจดหมายฉบับหนึ่งที่เขามีไปยังเคาท์ ซีโมน โรมาโนวิช โวรอนซอฟฟ์ (Count Simon Romanovich Woronzoff) ในปี ค.ศ. 1792 เขาได้บรรยายถึงบทสนทนากลางดึกคืนหนึ่งของตนเองเกับเกอเธอในงานเลี้ยงที่เมื่องไวมาร์ ประเทศเยอรมนี ระหว่างฤดูหนาวของปี ค.ศ. 1785 ด้วยความจับใจถึงการบรรยายของมิรันดาถึงเรื่องราวความกล้าของเขาในสงครามการปฏิวัติอเมริกา และการเดินทางไปทั่วทวีปอเมริกาและยุโรป เกอเธอจึงเอ่ยกับมิรันดาว่า "โชคชะตาของท่านคือการสร้างสถานที่ซึ่งแม่สีทั้งหลายจะไม่ถูกบิดเบือนในแผ่นดินของท่านเอง" ("Your destiny is to create in your land a place where primary colours are not distorted.”) จากนั้นเกอเธอจึงได้อธิบายเพิ่มเติมแก่มิรันดา ดังความที่เขาได้เล่าไว้ในจดหมายดังนี้

สีธง แก้

สีของธงชาติเอกวาดอร์ในยุคใหม่มีพัฒนาการสืบเนื่องมาจากสีของธงชาติกรันโคลอมเบีย ซึ่งครอบคลุมดินแดนของประเทศเอกวาดอร์ โคลอมเบีย และเวเนซุเอลาในปัจจุบัน แต่ละสีมีนัยความหมายดังนี้

  •    สีเหลือง: ความมั่งคั่งในทรัพยากรแร่ธาตุใต้แผ่นดินและการเกษตร และทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ ที่มีอยู่อย่างมหาศาล.
  •    สีน้ำเงิน: มหาสมุทร และ ท้องฟ้าอันใสกระจ่างของเอกวาดอร์.
  •    สีแดง: เลือดของเหล่าวีรบุรุษผู้ยอมพลีชีพเพื่อแผ่นดินปิตุภูมิและอิสรภาพ.
 
โทนสี
เหลือง น้ำเงิน แดง
RGB 255-221-0 3-78-162 237-28-36
HEX #FFDD00 #034EA2 #ED1C24
CMYK 0-13-100-0 98-52-0-36 0-88-85-7

ตราแผ่นดิน แก้

 
ตราแผ่นดินของเอกวาดอร์

ที่ใจกลางธงชาติของเอกวาดอร์มีรูปตราแผ่นดินประดับอยู่ ซึ่งมีความหมายโดยย่อดังนี้

คำปฏิญาณ และ เพลงสรรเสริญธง แก้

นักเรียน และ นักเรียนนายร้อย จะมีพิธีการสำคัญในการ"กล่าวคำปฏิญาณสาบานธง" ("Juramento a la Bandera"). พิธีดังกล่าวจัดในวันหยุดสำคัญของชาติ หรือ พิธีสำเร็จการศึกษา.[2] โดยมีการร้อง"เพลงสรรเสริญธงชาติ" ("Himno a la Bandera") ภายหลังจากการ"กล่าวคำปฏิญาณสาบานธง" หรือ ก่อนการปลดระวางธงผืนเดิมที่อายุการใช้งานยาวนาน.[3]

ประวัติ แก้

หลังจากดินแดนเอกวาดอร์ถูกพิชิตโดยเซบาสเตียน เดอ เบนัลกาซาร์ (Sebastián de Benalcázar) สัญลักษณ์ของจักรวรรดิสเปนได้โบกสะบัดเหนือเมืองกีโตที่เพิ่งก่อตั้งใหม่[4]

การเรียกร้องเอกราชครั้งแรกจากราชอาณาจักรสเปนเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2352 ธงสีแดงล้วนถูกชูขึ้นโดยผู้ก่อการ[5] ขบวนการเอกราชพ่ายแพ้ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2355 โดยการปราบปรามของนายทหารชาวสเปน ฆวน ซามาโน (Juan Sámano) ในวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2363 ธงใหม่สีน้ำเงินและสีขาว ห้าแถบแนวนอนสลับลายและดาวสีขาวสามดวงในแถบกลางถูกเชิญขึ้นเป็นครั้งแรก[4] ดาวทั้งสามเป็นตัวแทนของสามเมืองในเอกวาดอร์ กัวยากิล (Guayaquil), ปอร์โตบิเอโฆ (Portoviejo) และ มาชาลา (Machala)[5] ธงนี้ถูกนำมาใช้ในภายหลังโดยจังหวัด กัวยัส (Guayas)

กาเบรียล การ์เซีย โมเรโน (Gabriel García Moreno) ขณะอยู่ในอำนาจหลังการต่อสู้ที่กัวยากิลเป็นเวลาสองวัน ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2403 ได้นำธงสามแถบ สีเหลือง, น้ำเงิน และแดงกลับมาใช้ ทำให้ทุกวันที่ 26 กันยายนกำหนดให้เป็นวัน ดีอา เดอ ลา บันเดรา หรือวันแห่งธงชาติ[4][6] ก่อนหน้านี้มีการใช้ธงสีขาวน้ำเงินและขาวในแนวตั้ง ในแถบกลางสีฟ้ามีดาวสีขาววางเพื่อแสดงจำนวนจังหวัดในเอกวาดอร์ ยอดรวมดาวสูงสุดคือเจ็ดดวงก่อนที่ธงนี้จะถูกยกเลิก[5] ในพ.ศ. 2443 มีการประกาศธงที่เป็นมาตรฐานแห่งชาติ ได้มีการนำตราแผ่นดินเพิ่มลงบนธงชาติสำหรับธงของหน่วยงานราชการ ส่วนธงสีพื้นสงวนไว้สำหรับใช้ในกิจการค้าทางทะเล[7]


วิวัฒนาการของธงชาติเอกวาดอร์
เขตอุปราชแห่งนิวสเปน
ค.ศ. 1534 - 1820
  ธงกางเขนแห่งเบอร์กันดี.
ธงแห่งการปฏิวัติควินาน
ค.ศ. 1809 - 1812
  ธงผืนนี้ใช้ในการลุกฮือต่อต้านการปกครองขอสเปน เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2352 เป็นธงกากบาทเบอร์กันดีกางเขนสีขาวบนธงพื้นแดง.
ธงชาติผืนแรก
ค.ศ. 1820 - 1822
  ธงแถบแนวนอนขนาดเท่ากัน 5แถม สีฟ้า-ขาว ที่กลางแถบมีดาวสีขาวห้าแฉกสามดวง. ต่อมาได้ใช้เป็นธงประจำจังหวัดกวายา, ธงผืนนี้โบกสะบัดครั้งแรกในการประกาศอิสรภาพเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม, พ.ศ. 2363.
ธงชาติผืนที่ 2
ค.ศ. 1822
  เปลี่ยนแบบธงอย่างเป็นทางการวันที่ 2 มิถุนายน ค.ศ. 1822: "ธงประจำกวายากิล มีลักษณะเป็นธงพื้นสีขาว มีดาวสีขาว5แฉกตรงกลางสี่เหลี่ยมสีฟ้าที่ด้านคันธง."
ธงชาติผืนที่ 3
ค.ศ. 1822 - 1830
  เอกวาดอร์ได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของแกรนโคลอมเบีย, และได้ใช้ธงของสหภาพมหาโคลอมเบีย. หลังจากนั้นอีก8ปี ในปี พ.ศ. 2373 เอกวาดอร์ได้แยกตัวออกจากสหภาพมหาโคลอมเบีย, โดยธงสามสีของเอกวาดอร์ ใช้มาจนถึง พ.ศ. 2388.
ธงชาติผืนที่ 4
ค.ศ. 1830 - 1835
  ธงรัฐเอกวาดอร์, ประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน, พ.ศ. 2373.
ธงชาติผืนที่ 5
ค.ศ. 1835 - 1845
  ธงชาติเอกวาดอร์ผืนแรก อย่างเป็นทางการ หลังแยกตัวออกจากสหภาพมหาโคลอมเบีย.
ธงชาติผืนที่ 6
ค.ศ. 1845
  ระหว่างปี พ.ศ. 2388 ได้เกิดเหตุการณ์ ปฏิวัติมาร์คริสต์ ได้เปลี่ยนแบบธงชาติเป็นธงแถบแนวตั้งสามแถบ สีฟ้า-ขาว-ฟ้า, ตรงกลางธงมีดาวสีขาว5แฉกสามดวง เรียงเป็นสามเหลี่ยม.
ธงชาติผืนที่ 7
ค.ศ. 1845 - 1860
  ข้อตกลงแห่งเควนซาได้รับการรับรอง, เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน, พ.ศ. 2388 ซึ่งได้มีการแก้ไขแบบธงชาติ, โดยเพิ่มดาวสีขาว5แฉกบนธง จากสามดาวเป็นเจ็ดดาว "ซึ่งดาวบนธงทั้งเจ็ด หมายถึง เจ็ดจังหวัดที่รวมเป็นสาธารณรัฐเอกวาดอร์".[8]
ธงชาติผืนที่ 8
ค.ศ. 1860 - 1900
  Gabriel García Moreno, เป็นผู้ทรงอำนาจในช่วง2วัน หลังจากศึกกวายากิล, ได้นำธงสามสีของกรันโคลัมเบียกลับมาใช้อีกครั้งเมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2403.
ธงชาติผืนที่ 9
ค.ศ. 1900 - 2009
  ธงตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2443 ธงถูกทำให้เป็นมาตรฐานแห่งชาติที่ชัดเจน เมื่อปี พ.ศ. 2443, ได้มีการนำตราแผ่นดินเพิ่มลงบนธงชาติ, ซึ่งธงชาติที่มีตราแผ่นดิน ใช้สำหรับหน่วยงานราชการ และ กองทัพ. ส่วนธงพลเรือนใช้ธงสามสีพื้นเกลี้ยงไม่มีตราแผ่นดิน.
ธงชาติผืนที่ 10
ตั้งแต่ ค.ศ. 2009 - ปัจจุบัน
  ธงชาติปัจจุบัน เริ่มใช้พฤศจิกายน พ.ศ. 2552.

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Ricardo Silva Romero (2004-07-30). "1". ใน Serpa Erazo, Jorge (บ.ก.). La Bandera del Mundo. Pañol de la Historia, Part 1. ISSN 1900-3447. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-12. สืบค้นเมื่อ 2008-12-02.
  2. "Tradiciones Militares — Juramento a la Bandera" (ภาษาสเปน). กระทรวงกลาโหมเอกวาดอร์. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-15. สืบค้นเมื่อ 2010-07-28.
  3. "Tradiciones Militares — Incineración de la Bandera" (ภาษาสเปน). Ministry of National Defense of Ecuador. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 April 2009. สืบค้นเมื่อ 28 July 2010.
  4. 4.0 4.1 4.2 Alfredo Andaluz Prado, José (26 September 2007). "Historia de nuestra bandera". Diario Correo (ภาษาสเปน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 August 2008. สืบค้นเมื่อ 28 July 2010.
  5. 5.0 5.1 5.2 Regulations of Protocol and Military Ceremonies (ภาษาสเปน). Ministry of National Defense, Armed Forces of Ecuador. 2006. p. 28.
  6. "Ecuadorian community in New York celebrates the National Flag Day". Ministry of Foreign Affairs and Human Mobility. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-14. สืบค้นเมื่อ 24 September 2018.
  7. Decree of 5 December 1900
  8. Volker Preuß. "Flaggen del Ekuador 1845–1860" (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 2003-04-28.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้