ธงชาติมองโกเลีย

ธงชาติมองโกเลีย แบบปัจจุบันเริ่มใช้เมื่อ พ.ศ. 2535 เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน ภายในแบ่งริ้วธงขนาดเท่ากันเป็น 3 ริ้วตามแนวตั้ง พื้นนอกสีแดง ตรงกลางธงเป็นสีน้ำเงิน ที่ด้านคันธงนั้นมีเครื่องหมายซอยอนโบ (Soyonbo) สีเหลือง


Mongolia
ชื่ออื่น ธงซอยอนโบสีทอง
การใช้ ธงชาติ
สัดส่วนธง 1:2
ประกาศใช้ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2454 (ในยุคของจักรวรรดิมองโกเลีย)

12 มกราคม พ.ศ. 2535 (แก้ไบแบบธง)

ลักษณะ ริ้วธงขนาดเท่ากันเป็น 3 ริ้วตามแนวตั้ง พื้นนอกสีแดง ตรงกลางธงเป็นสีน้ำเงิน ที่ด้านคันธงนั้นมีเครื่องหมายซอยอนโบ (Soyonbo) สีเหลือง .

สัญลักษณ์ต่างๆ ในธง สามารถอธิบายได้ดังนี้

  • สีแดง หมายถึง ความเจริญก้าวหน้าของชาติ
  • สีน้ำเงิน หมายถึง ประชาชนชาวมองโกลและความภักดีต่อชาติ
  • เครื่องหมายซอยอนโบ หมายถึง ลัทธิชาตินิยม และ พระพุทธศาสนา ภายในเครื่องหมายดังกล่าวยังประกอบด้วยสัญลักษณ์ย่อยอื่นๆ อีก ได้แก่
    • รูปพระอาทิตย์ (วงกลม) และพระจันทร์เสี้ยว หมายถึง ความมีชีวิตนิรันดร์
    • เครื่องหมายหยินหยาง หมายถึง ความสมดุลของชีวิตและธรรมชาติ
  • ความหมายโดยรวมของตราซอยอนโบ จึงหมายถึงเอกราช อธิปไตย และจิตวิญญาณชาวมองโกเลีย

พัฒนาการ แก้

รัฐมองโกเลีย แก้

สาธารณรัฐประชาชนมองโกเลีย แก้

ในสมัยที่มองโกเลียปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ (พ.ศ. 2492-พ.ศ. 2535) ได้มีการใช้ธงชาติซึ่งมีลักษณะที่เหมือนกันเกือบทุกประการกับธงชาติมองโกเลียปัจจุบัน ผิดกันแต่ว่าที่ยอดเครื่องหมายซอยอนโบนั้นมีรูปดาวสีเหลือง 5 แฉกอยู่ด้วย[1] (ซึ่งในธงชาติปัจจุบันไม่มีรูปดาว) ทั้งความหมายของสีในธงยังมีนิยามที่แตกต่างกันออกไป กล่าวคือ สีแดงมีนัยความหมายถึงชัยชนะของลัทธิคอมมิวนิสต์ และ ดาวในเครื่องหมายซอยอนโบก็มีนัยความหมายถึงลัทธิคอมมิวนิสต์ด้วยเช่นกัน

แบบสีธง แก้

แบบสีมาตรฐานของธงชาติมองโกเลียประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อ กรกฎาคม พ.ศ. 2554[2]

Scheme สีน้ำเงิน สีแดง สีเหลือง
RAL 5015 2002 1021
Pantone 300 C Red 032 C Medium Yellow C
CMYK 100-60-0-0 10-100-90-0 0-15-100-0
RGB 0-102-179 218-32-50 255-212-0

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Volker Preuß. "Flagge" (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 2003-09-07.
  2. "Төрийн далбаа стандарттай болов". Ерөнхийлөгчийн тамгын газар. 8 กรกฎาคม 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 เมษายน 2012. สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2012. CMYK 100-60-0-0 10-100-90-0 0-15-100-0

แหล่งข้อมูลอื่น แก้