ธงชาติซาอุดีอาระเบีย

ธงชาติซาอุดีอาระเบีย เป็นธงที่ใช้โดยรัฐบาลของราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2506 มีลักษณะเป็นธงสีเขียวบนพื้นสีขาวที่มีจารึกภาษาอาหรับ และดาบ เป็นการประกาศความเชื่อตามหลักศาสนาอิสลาม (ชะฮาดะฮฺ)


ธงชาติซาอุดีอาระเบีย
การใช้ ธงชาติและธงเรือรัฐบาล Small vexillological symbol or pictogram in black and white showing the different uses of the flag
สัดส่วนธง 2:3
ประกาศใช้ 15 มีนาคม พ.ศ. 2506 (61 ปี)
ลักษณะ ธงมีสีเขียว มีจารึกชะฮาดะฮ์ และดาบสีขาวอยู่ข้างล่าง
ธงชาติฯในรูปแบบอื่น
การใช้ ธงเรือราษฎร์ Small vexillological symbol or pictogram in black and white showing the different uses of the flag
สัดส่วนธง 2:3
ประกาศใช้ ธงพื้นสีเขียว มีธงชาติอยู่ที่มุมบนคันธงภายในขอบสีขาว
ธงชาติฯในรูปแบบอื่น
การใช้ ธงนาวี Small vexillological symbol or pictogram in black and white showing the different uses of the flag
สัดส่วนธง 1:2
ลักษณะ ลักษณะอย่างเดียวกับธงชาติ โดยเพิ่มแถบสีนำเงินที่ด้านคันธงและคั่นด้วยแถบสีขาว ภายในนั้นมีตราของกองทัพเรือซาอุดีอาระเบีย
لاإله إلاا لله محمد رسول الله
la'ilāha'Illa - llāh muḥammadun rasūlu - llāh
ละอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ มุฮัมมะดุร รอซูลลุลลอฮฺ
"ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ และมูฮัมหมัดเป็นศาสนทูตของอัลลอฮ์"

ดาบเป็นสัญลักษณ์แห่งความยุติธรรม

ธงสีเขียวที่มีตัวอักษรดังนี้หรืออักษรอาหรับอื่นมักถูกพบเห็นในศาสนาอิสลาม และระวังสับสนกับธงชาติซาอุดีอาระเบีย ธงอื่นโดยปกติแล้วจะไม่มีสัญลักษณ์ดาบ

ธงดังกล่าวถูกผลิตขึ้นมาให้สมมาตรกันทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เพื่อเพื่อให้มั่นใจว่าชะฮาดะฮ์จะอ่านอย่างถูกต้อง ทั้งเมื่อเริ่มอ่านจากขวาไปซ้าย หรือซ้ายไปขวา ดาบจะชี้ไปทางซ้ายมือทั้งหน้าและหลัง ในทิศทางของอักษร ธงดังกล่าวจะถูกชักขึ้นทางซ้ายมือของเสาธง เมื่อมองจากด้านหน้า โดยเสาธงอยู่ทางขวามือของธง[1]

สีเขียวที่ใช้ในธงเป็น Pantone 330 c / CMYK (%) C 100 -- M 0 -- Y 50 -- K - 50[2]

ประวัติ แก้

ยุคก่อนการรวมชาติ แก้

ซาอุดีอาระเบียถือกำเนิดจากอาณาจักรทั้งสองคือ นัจญด์ และ ฮิญาซ, มีพื้นฐานจากแบบธงรัฐสุลต่านนัจญด์ ก่อนหน้านี้ได้ใช้ธงสีเขียวรูปพระจันทร์เสี้ยวสีขาวตั้งแต่ ค.ศ. 1744 ในปีค.ศ. 1902 เอมิเรตนัจญด์และฮะซาอ์ได้มีการใช้ธงที่มีอักษรภาษาอาหรับจนถึงค.ศ. 1921 ภายหลังจากราชวงศ์ซะอูดทำสงครามได้รับชัยชนะเหนือคาบสมุทรอาหรับ พร้อมกับผนวกดินแดนของราชวงศ์เราะชีด.

สมัยการรวมชาติ แก้

ราชวงศ์ซะอูด ได้ปกครองดินแดนซาอุดีอาระเบีย ด้วยความช่วยเลือของผู้เคลื่อนไหวทางศาสนาวะฮาบีย์ ในศตวรรษที่ 18 นับตั้งแต่นั้นจึงมีธงชาติเป็นของตนเอง. โดยประกอบอักษร"ชะฮาดะฮฺ"บนธงของตน.[3] ค.ศ. 1902 อิบน์ ซะอูด, ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ซะอูด และ ผู้สถาปนาราชอาณาจักร ได้มีพระบรมราชโองการให้เพิ่มดาบลงบนผืนธง.[3] ในปี ค.ศ. 1938 ได้มีการใช้ธงชาติที่มีรูปดาบไขว้ใต้ชะฮาดะฮฺ แบบธงดังกล่าวเป็นที่นิยมโดยทั่วไป แม้มิได้รับการรับรอง และ ได้เพิ่มแบบธงเรือแสดงสัญชาติ. จนกระทั่งวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 1973 ได้มีการตราแบบธงขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยแก้ไขแบบของดาบให้เป็นดาบตรง (ธงแบบเก่านั้นใช้รูปดาบโค้ง).

     
ค.ศ. 1932-1934 ค.ศ. 1934-1938 ค.ศ. 1938-1973

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Volker Preuß. "Flagge des Saudi-Arabien". สืบค้นเมื่อ 2003-09-09.
  2. ธงชาติซาอุดีอาระเบีย ที่ Flags of the World (อังกฤษ)
  3. 3.0 3.1 Firefly Guide to Flags of the World. 2003. p. 165. ISBN 978-1552978139. สืบค้นเมื่อ 12 September 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้