ธงชาติชิลี หรือที่รู้จักกันในอีกชื่อ คือ "ธงดาวเดียว" (สเปน: "la estrella solitaria")[1] ประกอบด้วยแถบแนวนอนสองแถบขนาดเท่ากัน แถบบนสีขาว แถบล่างสีแดง รวมกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความกว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ที่มุมธงบนด้านคันธงมีรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสสีน้ำเงิน ขนาดกว้างเท่ากับแถบสีขาว ภายในมีรูปดาวห้าแฉกสีขาวขนาดใหญ่ 1 ดวง ลักษณะดังกล่าวมานี้นับได้ว่าธงนี้มีความคล้ายคลึงกับธงประจำรัฐเท็กซัสของประเทศสหรัฐอเมริกามาก


ธงชาติชิลี
การใช้ ธงชาติและธงชาติประจำเรือ
สัดส่วนธง 2:3
ประกาศใช้ 18 ตุลาคม ค.ศ. 1817
ลักษณะ ธงแถบแนวนอนสองแถบสีขาว-แดง ที่มุมธงบนด้านคันธงมีรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสสีน้ำเงิน ภายในมีดาวห้าแฉกสีขาว 1 ดวง
ออกแบบโดย อันโตนิโอ อาร์กอส

ธงนี้เริ่มใช้อย่างเป็นทางการนับตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม ค.ศ. 1817

ความหมายของธงชาติชิลีประกอบด้วย พื้นสีขาวหมายถึงหิมะเหนือเทือกเขาแอนดีส พื้นสีแดงหมายถึงเลือดของผู้ที่ต่อสู้เพื่อเอกราช สี่เหลี่ยมจตุรัสสีน้ำเงินหมายถึงท้องฟ้าและมหาสมุทรแปซิฟิก ดาวสีขาวหมายถึงสัญลักษณ์นำทางสู่ความก้าวหน้าและเกียรติยศ

ประวัติ แก้

ในช่วงเวลาที่ประเทศชิลีต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราชจากประเทศสเปนนั้น รัฐบาลชิลีภายใต้การนำของโฆเซ มิเกล การ์เรรา (José Miguel Carrera) ได้เรียกร้องให้ชาวชิลีกำหนดธงชาติของตนเองขึ้นเป็นครั้งแรก โดยเขาได้กำหนดให้ธงชาติมีลักษณะเป็นธงสามแถบสามสี แต่ละแถบมีความกว้างเท่ากัน เรียงเป็นแถบสีน้ำเงิน-ขาว-เหลือง จากบนลงล่าง ธงผืนแรกนี้ได้รับการขนานว่า "ธงแห่งมาตุภูมิ" (สเปน: "Bandera de la Patria Vieja") ธงดังกล่าวนี้ได้ชักขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1812 ในงานเลี้ยงฉลองวันประกาศเอกราชของสหรัฐอเมริกา ณ สถานกงสุลของสหรัฐอเมริกาในประเทศชิลี ทั้งนี้ เหตุการณ์การประกาศเอกราชของสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1776 นั้น เป็นเหตุการณ์ที่มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อชาวพื้นเมืองของชิลีที่ต้องการต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราชจากสเปน

ในเวลาต่อมา หลังการได้รับชัยชนะต่อกองทัพสเปนในสมรภูมิเมืองชากาบูโก (Chacabuco) เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 1817 รัฐบาลชิลีจึงได้มีการกำหนดธงชาติขึ้นใหม่ ลักษณะคล้ายกับธงเดิมในปี ค.ศ. 1812 ผิดกับแต่ว่าได้เปลี่ยนแถบสีเหลืองเป็นสีแดง ทำให้ธงนี้มีลักษณะที่ไปพ้องกับธงชาติของประเทศฝรั่งเศสและประเทศเนเธอร์แลนด์ ก่อให้เกิดความสับสนได้ง่าย ธงนี้ได้รับการขนานว่า "ธงแห่งการเปลี่ยนผ่าน" (สเปน: "Bandera de la Transición") อันเนื่องมาจากว่าเป็นธงที่ใช้ในสมัยแห่งการถ่ายโอนอำนาจจากรัฐบาลอาณานิคมของสเปนสู่รัฐบาลของชาวชิลี

ในวันที่ 18 ตุลาคม ของปีเดียวกันนั้นเอง ประเทศชิลีก็ได้ประกาศเอกราชจากสเปนอย่างเป็นทางการ พร้อมทั้งใช้ธงชาติใหม่ ซึ่งเป็นธงชาติชิลีแบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ธงแบบปัจจุบันนี้เป็นผลงานการออกแบบของอันโตนิโอ อาร์กอส (Antonio Arcos) ภายใต้แนวคิดในการออกแบบของโฮเซ อิกนาซิโอ เซนเทโน (José Ignacio Zenteno) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสงครามของชิลีในเวลานั้น ทั้งนี้ ในหลักฐานบางแห่งกล่าวอ้างว่าผู้ร่างแบบธงนี้คือ เกรกอริโอ เด อันเดีย อี วาเรลา (Gregorio de Andía y Varela) สำหรับขนาดสัดส่วนที่แน่นอนนั้น เริ่มมีการกำหนดที่ชัดเจนขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1854 โดยครั้งนั้นเป็นการกำหนดมาตรฐานสีธง ต่อมาจึงได้มีการกำหนดสัดส่วนของดาวห้าแฉกสีขาวในปี ค.ศ. 1912

ธงที่คล้ายคลึงกัน แก้

การใช้ ชัก และแสดงธง แก้

 
การชักธงชาติชิลีประจำเสาธง

ตามกฎหมายชองชิลีนั้น พลเมืองชิลีต้องประดับธงชาติในวันชาติ (วันที่ 18 พฤศจิกายน) และวันกองทัพ (วันที่ 19 พฤศจิกายน) หากการแสดงธงชาตินั้นเป็นไปอย่างไม่ถูกต้องหรือไม่มีการประดับธงชาติตลอดวันนั้น เจ้าพนักงานตำรวจจะลงโทษโดยการปรับแก่ผู้ที่ละเมิดกฎหมายดังกล่าว

การชักธงประจำเสา แก้

เสาสำหรับชักธงชาติจะต้องมีสีขาวและธงนั้นจะต้องถูกชักไว้ที่ยอดเสาธง ในกรณีที่ต้องแสดงธงชาติชิลีร่วมกับธงชาติของประเทศอื่นๆ ธงเหล่านั้นจะต้องมีขนาดที่เท่ากันโดยเอาความกว้างของธง (ด้านแนวตั้งของธง) เป็นเกณฑ์ และในการเชิญธงนั้น ธงชาติชิลีจะต้องเชิญขึ้นเป็นลำดับแรกสุด และเชิญลงเป็นลำดับท้ายสุด

การแขวนธง แก้

ธงชาติชิลีสามารถประดับโดยการแขวนได้ทั้งตามแนวตั้งและแนวนอนจากอาคารหรือผนังกำแพง โดยที่รูปสี่เหลี่ยมจตุรัสสีน้ำเงินนั้นจะต้องอยู่ทางด้านของผู้ดูเสมอ

การแสดงความเคารพต่อธง แก้

ตามมาตราที่ 22 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐชิลี ผู้ที่พำนักอยู่ในประเทศชิลีทุกคนจะต้องแสดงความเคารพต่อประเทศชิลีและสัญลักษณ์ของประเทศ ซึ่งสัญลักษณ์ดังกล่าวประกอบด้วย ธงชาติ ตราแผ่นดิน และเพลงชาติแห่งสาธารณรัฐชิลี ทั้งนี้ การกระทำอันเป็นการดูหมิ่นต่อธงชาติ ตราแผ่นดิน ชื่อประเทศ และเพลงชาติ นับเนื่องเป็นความผิดทางอาญา ตามมาตร 6 แห่งรัฐบัญญัติความมั่นคงแห่งรัฐของชิลี (กฤษฎีกาเลขที่ 890 แห่งปี ค.ศ. 1975)

คำปฏิญาณสาบานธงชาติ แก้

เพื่อเป็นการรำลึกถึงความกล้าหาญของผู้เสียสละชีวิตในยุทธการที่กอนเซปซิออน ค.ศ. 1882 ในวันที่ 9 กรกฎาคม ของทุกปี, ซึ่งเป็นวันที่ทหารคนสุดท้ายได้เสียชีวิตที่สมรภูมิ ลา คอนเซ็ปชั่น ในการปกป้องประเทศ คำปฏิญาณสาบานธงชาติ (Juramento de la Bandera) จัดขึ้นที่ ค่ายทหาร และ พิธีสำเร็จการศึกษาของนักเรียนนายร้อยทุกเหล่าทัพ รวมถึง ในวาระโอกาสพิเศษ เช่น วันธงชาติชิลี เพื่อรำลึกถึงวีรกรรมของเขาเหล่านั้น. ในส่วนของทหารตำรวจ จะกระทำพิธีในวันสถาปนาหน่วยตำรวจ (27 เมษายน) และ พิธีสำเร็จการศึกษา หรือ การเข้ารับราชการของกำลังพลหน่วย.

คำปฏิญาณสาบานธง - ทหารกองประจำการ[2]

Yo, [grado y nombre del jurante] juro,
por Dios y por esta bandera,
servir fielmente a mi patria,
ya sea en mar, en tierra o en cualquier lugar,
hasta rendir la vida si fuese necesario,
cumplir con mis deberes y obligaciones militares
conforme a las leyes y reglamentos vigentes,
obedecer con prontitud y puntualidad
las órdenes de mis superiores,
y poner todo empeño en ser
un soldado (Marino, Aviador) valiente, honrado y amante de mi patria.

I (name and rank) pledge, to God and this flag,
to serve my country with loyalty,
whether in sea, on land, or anywhere else,
to give my life if need be,
to fulfill my military duties and obligations,
in accordance with the laws and regulations,
to obey quickly and punctually the orders of my superiors,
and thus invest my efforts in being a brave and honorable soldier (sailor, airmen)
for the country's sake!

คำปฏิญาณสาบานธง - ตำรวจ

I pledge, as a constable/second lieutenant, to God and this very flag,
To serve loyally the duties of my profession,
To preserve the Constiution and laws of the republic,
And to serve and protect all citizens and the people who live in this land
Even if it needs for me to sacrifice my life
For the defense of order and the country!

อ้างอิง แก้

อ้างอิง แก้

  1. Claudio Navarro; Verónica Guajardo. "Símbolos: La Bandera" (ภาษาสเปน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-17. สืบค้นเมื่อ 2008-06-08.
  2. Ejército de Chile. "Juramento a la Bandera" (ภาษาสเปน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 14, 2012. สืบค้นเมื่อ September 24, 2010.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้