ธงชาติจอร์แดน (อาหรับ: علم الأردن) เป็นธงที่ดัดแปลงลักษณะมาจากธงขบวนการปฏิวัติอาหรับ ซึ่งใช้เป็นสัญลักษณ์ในการต่อต้านจักรวรรดิออตโตมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน พื้นเป็นแถบสีดำ สีเขียว และสีขาว แบ่งตามแนวนอนของธง ความกว้างเท่ากันทุกแถบ ที่ด้านคันธงนั้นเป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วสีแดง ภายในรูปนั้นมีดาวเจ็ดแฉกสีขาว 1 ดวง สีของธงนี้ทั้งหมดเป็นสีพันธมิตรอาหรับ


จอร์แดน
การใช้ ธงพลเรือน, ธงเรือราษฎร์, ธงราชการและธงเรือรัฐบาล
สัดส่วนธง 1:2
ประกาศใช้ พ.ศ. 2460
ลักษณะ มีลักษณะเป็นธงสามสีแบ่งตามแนวนอนเป็นแถบ 3 แถบสีดำ-ขาว-เขียว ความกว้างเท่ากันทุกแถบ ที่ด้านคันธงนั้นเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าสีแดง ภายในรูปนั้นมีดาวเจ็ดแฉกสีขาว 1 ดวง.
ธงชาติฯในรูปแบบอื่น
การใช้ ธงนาวี
สัดส่วนธง 1:2
ลักษณะ ธงราชนาวี
ธงชาติฯในรูปแบบอื่น
สัดส่วนธง 1:2
ลักษณะ ธงประจำราชวงศ์จอร์แดน

ในธงนี้ แถบสีดำหมายถึงแคว้นกาหลิบอับบาซิด (Abbasid Caliphate) แถบสีเขียวหมายถึงแคว้นกาหลิบอูมายยัด (Umayyad Caliphate) แถบสีขาว หมายถึง แคว้นกาหลิบฟาติมิด (Fatimid Caliphate) รูปสามเหลี่ยมสีแดงหมายถึงอาณาจักรฮัชไมต์ (Hashemite) และการปฏิวัติอาหรับ ดาวเจ็ดแฉกสีขาว ซึ่งเป็นสิ่งเดียวที่ทำให้แยกความแตกต่างของธงนี้จากธงชาติปาเลสไตน์ได้ มีความหมายอยู่ 2 นัย นัยหนึ่งหมายถึงบทสวดในซูเราะฮ์ 7 บทแรกในพระคัมภีร์อัลกุรอาน อีกนัยหนึ่งหมายถึงความสามัคคีของชนชาวอาหรับ ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งยังเชื่อกันว่าดาวนี้หมายถึงเนินเขา 7 ลูกซึ่งอยู่ในที่ตั้งของกรุงอัมมาน เมืองหลวงของประเทศ

ธงนี้เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2460 เพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นอาหรับ ต่อมาจึงได้เพิ่มรูปดาวลงในธงเมื่อปี พ.ศ. 2471 เมื่อสหราชอาณาจักรได้มอบเอกราชบางส่วนแก่ประเทศจอร์แดน

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้