ทุรโยธน์ หัวหน้าตัวละครฝ่ายเการพในมหากาพย์เรื่อง มหาภารตะ เป็นลูกของท้าวธฤตราษฎร์กับพระนางคานธารี ในขณะที่พระนางคานธารีทรงตั้งครรภ์อยู่ 2 ปีนั้น พระนางคานธารีก็เลยได้รับสั่งให้นางข้าหลวงเอาฆ้อนเหล็กทุบไปที่ท้องพร้อมกับบอกว่านี่เป็นวิธีช่วยให้ประสูติการ นางข้าหลวงจึงตีไปที่ครรภ์ของพระนางคานธารี ครั้งแรกยังไม่ออก จึงตีไปอีกสองครั้ง จนในที่สุดพระนางคานธารีก็คลอดออกมาเป็นก้อนเนื้อใหญ่และเย็นเฉียบ

ทุรโยธน์
ข้อมูลตัวละครในเรื่อง
คู่สมรสพระนางภานุมดี , เจ้าหญิงมยุรี
บุตรเจ้าชายลักษมัณกุมาร
เจ้าหญิงลักษมณา
ญาติศกุนิ (ลุง)
ทุหศาสัน (น้องชาย)
วิกรรณะ (น้องชาย)
น้องชายอีก 97 คน
นางทุหศาลา (น้องสาว)
ยุยุตสุ (น้องชายต่างมารดา)
สุศรรมา (พี่เขย)
ชัยทรัถ (น้องเขย)

เมื่อพระนางคานธารีทราบดังนั้น พระนางคานธารีจึงรับสั่งให้เอาก้อนเนื้อนั้นไปทิ้งสระ

ครั้นเมื่อนางข้าหลวงจะเอาก้อนเนื้อไปทิ้งสระก็ได้มีฤๅษีเข้ามาขวางแล้วบอกว่า ให้เอาก้อนเนื้อนั้นเอามาแล่เป็นชิ้น ๆ 100 ชิ้น เอาชิ้นแต่ละชิ้นไปใส่หม้อดินแล้วเอาน้ำบริสุทธิ์พรมลงไป ก้อนเนื้อทั้งร้อยชิ้นก็จะกลายเป็นกุมาร ลูกคนแรกที่คลอดนั้นพอเกิดมา หมาหอนทั้งเมืองแร้งการ้องลั่นพระนคร

กุมารองค์โตนี้ ชื่อ ทุรโยธน์ แปลว่า ผู้ซึ่งยากที่ใครจะเอาชนะได้ ท้าวธฤตราษฎร์ได้ยินเสียงนกกาแร้งหมาร้องลั่นระงมทั้งเมืองก็ตกใจวิ่งไปถามท้าวภีษมะผู้เป็นลุงว่า เกิดอะไรขึ้น ท้าวภีษมะก็บอกว่านี่เป็นเหตุอุบาทว์ของลูกชายเจ้าซึ่งเกิดมาพร้อมกับความจัญไร นำมาซึ่งเสนียดแก่หัสตินปุระ ภีษมะจึงบอกให้ท้าวธฤตราษฎร์เอาลูกไปฆ่าทิ้งเสียทั้งหมด แต่ท้าวธฤตราษฎร์กับพระนางคานธารีไม่ยอมจึงฝืนเลี้ยงโอรสทั้ง 100 คนเรื่อยมา พร้อมกับพระธิดาอีก 1 คนซึ่งพี่น้องทั้ง 101 คนนั้นก็คือ พี่น้องตระกูลเการพ

ทุรโยธน์ได้พรให้เป็นผู้ที่มีเสน่ห์ในการใช้วาจา เกลี้ยกล่อมคนได้ง่าย แต่ก็เป็นผู้ที่มีความอิจฉาริษยากับปาณฑพอย่างแรงกล้า จึงก่อให้เกิดสงครามบนทุ่งกุรุเกษตรขึ้นมา แต่ตอนสุดท้ายทุรโยธน์ก็ต้องถูกภีมะใช้กระบองฟาดต้นขาตาย ไปพร้อมกับพี่น้องตระกูลเการพทั้งหมด ยกเว้นแต่นางทุหศาลา(พระธิดาองค์เดียวของท้าวธฤตราษฎร์)

ข้อวิจารณ์ แก้

แม้ทุรโยธน์จะถูกมองว่าเป็นคนชั่วช้าในเรื่อง แต่ในมหากาพย์กล่าวว่าเขาเป็นผู้นำที่เข้มแข็งและปกครองประชาชนด้วยความยุติธรรม ทุรโยธน์มีอคติแก่ฝ่ายปาณฑพและไม่เชื่อว่าฝ่ายปาณฑพเป็นโอรสของท้าวปาณฑุที่เกิดจากเทพเจ้าตามคำบอกเล่าของพระนางกุนตี และการที่เขาและน้องชายถูกภีมะรังแกในวัยเด็กสร้างความเกลียดชังฝ่ายปาณฑพทวียิ่งขึ้น

ทุรโยธน์ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีทัศนคติที่แตกต่างจากคนทั่วไปในยุคนั้น โดยเฉพาะเรื่องเหยียดผิวและชนชั้นวรรณะ เขารับกรรณะที่เป็นศูทรเป็นเพื่อนตายและยกแคว้นอังคะให้ปกครอง เขาเปรียบกรรณะเป็นแม่น้ำ ความบริสุทธิ์ของแม่น้ำนั้นขึ้นอยู่กับน้ำที่ใสสะอาด หาได้มาจากแหล่งที่มา นอกจากนั้นเขายังได้ชื่อว่าเป็นนักการเมืองและนักการทูตที่นิยมสร้างไมตรีมากกว่าทำสงคราม การท้ายุธิษฐิระเพื่อพนันสกาเอาบ้านเอาเมืองแทนที่จะประกาศสงครามโดยตรงเพื่อหลีกเลี่ยงการนองเลือด แม้ทุรโยธน์จะทำเรื่องชั่วร้ายบ้างแต่เขาทำเพื่อโจมตีฝ่ายปาณฑพที่เป็นศัตรูฝ่ายเดียว ในขณะที่ฝ่ายปาณฑพกลับมีปัญหากับหลายฝ่าย ทั้งกับเทวดา ทั้งปีศาจ ทั้งนาค แม้แต่สงครามที่ทุ่งกุรุเกษตร ทุรโยธน์กลับมีพระราชาจากแคว้นต่าง ๆ มาให้การช่วยเหลือมากกว่าฝ่ายปาณฑพ

บางตำราว่า ทุรโยธน์ คือ ปีศาจกลี ในเรื่องพระนลและทมยันตี กลับชาติมาเกิด และปีศาจกลีจะกลับมาเกิดอีกครั้งในกลียุค และจะถูกพระกัลกิยาวตารสังหาร