ทีพู สุลต่าน (เปอร์เซีย: تیپو سلطان, อักษรโรมัน: Tipu Sultan) หรือ ฏิปปุ สุลตาน (กันนาดา: ಟಿಪ್ಪು ಸುಲ್ತಾನ್, อักษรโรมัน: Tippu Sultan) (สุลต่าน ฟาเตฮ์ อะลี ซาฮับ ทีพู; 1 ธันวาคม 1751 – 4 พฤษภาคม 1799) หรือเรียกอีกชื่อว่า เสือแห่งไมสูรุ (อังกฤษ: Tiger of Mysore[3] เป็นผู้นำชาวมุสลิมอินเดียแห่งราชอาณาจักรไมสูรุในอินเดียใต้[4] ผู้ริเริ่มการทำปืนใหญ่จรวด[5][6][7] ในสมัยปกครองไมสูรุ เขาเป็นผู้ริเริ่มนวัตกรรมทางการปกครองมากมาย เช่น ระบบกษาปณ์และปฏิทินใหม่,[8] ระบบเงินได้จากที่ดินใหม่ ซึ่งช่วยจุดการเติบโตของอุตสาหกรรมผ้าไหมไมสูรุ[9] และยังเป็นคนแรก ๆ ที่ริเริ่มของเล่นจันนปัฏณะ[10] เขาเป็นผู้ขยายจรวดไมสูรุหุ้มเหล็ก และแต่งคู่มือการทหาร Fathul Mujahidin ขึ้น ในระหว่างบรรดาสงครามกับอังกฤษ เขาได้ยิงจรวดเพื่อต้านทานการรุกคืบของกองทัพอังกฤษ รวมถึงในระหว่างยุทธการที่พอลลีลัวร์ และ การล้อมนครศรีรังคปัฏณะ[11]

ทีพู สุลต่าน
บาดชะฮ์
นาซิบุดดาวละฮ์
มีร์ ฟาเตฮ์ อะลี บะฮาดูร์ ทีพู
ภาพบุคคลของทีพู สุลต่าน จากไมสูรุ (ป. 1790–1800)
สุลต่านแห่งไมสูรุ
ครองราชย์10 ธันวาคม 1782 – 4 พฤษภาคม 1799
ราชาภิเษก29 ธันวาคม 1782
ก่อนหน้าไฮเดอร์ อะลี
ถัดไปกฤษณราชที่สาม
(ในฐานะมหาราชาแห่งไมสูรุ)
ประสูติ1 ธันวาคม ค.ศ. 1751(1751-12-01)
เทวนาหัลลี รัฐสุลต่านไมสูรุ
(ปัจจุบันอยู่ในรัฐกรณาฏกะ ประเทศอินเดีย)
สุลต่าน ฟาเตฮ์ อะลี ซาฮับ ทีพู
สวรรคต4 พฤษภาคม ค.ศ. 1799(1799-05-04) (47 ปี)
ศรีรังคปัฏณะ รัฐสุลต่านไมสูรุ
(ปัจจุบันอยู่ในรัฐกรณาฏกะ ประเทศอินเดีย)
ฝังพระศพศรีรังคปัฏณะ ปัจจุบันคือมัณฑยะ รัฐกรณาฏกะ
12°24′36″N 76°42′50″E / 12.41000°N 76.71389°E / 12.41000; 76.71389
คู่อภิเษกKhadija Zaman Begum and 2 or 3 others
พระราชบุตรเชซาดา ไฮเดอร์ อะลี, ฆุลัม มุฮัมมัด สุลต่าน ซาฮิบ ฯลฯ
พระนามเต็ม
บาดชะฮ์ นาซิบุดดาวละฮ์ สุลต่าน มีร์ ฟาเตฮ์ อะลี บะฮาดูร์ ซาเฮบ ทีพู
ราชสกุลไมสูรุ
พระราชบิดาไฮเดอร์ อะลี
พระราชมารดาฟาตีมา ฟากฮ์รุนนิซา
ศาสนาอิสลามนิกายซุนนี[1][2]
ลัญจกร

ทีพู สุลต่าน และบิดาของเขา ใช้กองทัพที่ฝึกมาแบบฝรั่งเศสภายใต้พันธมิตรกับฝรั่งเศสในการต้านทานกองทัพของอังกฤษ[12] และอำนาจในภูมิภาคโดยรอบ ทั้งมราฐา, สิระ, บรรดาผู้นำของมะละบาร์, โกฑคู, เพฑเนาร์, กรณาฏกะ และ ทราวันคอร์ บิดาของทีพู ไฮเดอร์ อะลี ขึ้นสู่อำนาจก่อนที่ทีพูจะสืบทอดตำแหน่งผู้นำแห่งไมสูรุหลังบิดาเสียชีวิตด้วยมะเร็งในปี 1782 ทีพูมีชัยเหนืออังกฤษในสงครามครั้งที่สองกับอังกฤษ และในปี 1784 ได้ต่อรองสนธิสัญญามังคาลูรุกับอังกฤษเพื่อสิ้นสุดสงครามในครั้งนั้น

ข้อขัดแย้งกับอำนาจท้องถิ่นโดยรอบของไมสูรุในสมัยของทีพู สุลต่าน รวมถึงสงครามกับมราฐา ซึ่งสิ้นสุดจากการลงนามสนธิสัญญาคเชนทรครห์[13] ซึ่งบังคับให้ทีพู สุลต่าน ต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงคราม 4.8 ล้านรูปี แก่มราฐาในงวดเดียว และอีก 1.2 ล้านรูปีต่อปี รวมถึงต้องส่งคืนดินแดนทั้งหมดที่ยึดได้มาในสมัยไฮเดอร์ อะลี แก่มราฐา[14][15]

ในสงครามอังกฤษ-ไมสูรุ ที่สี่ กองกำลังร่วมของบริษัทตะวันออกของอังกฤษภายใต้การสนับสนุนของพวกมราฐาและนีซัมแห่งไฮเดอราบาด เอาชนะเหนือทีพูได้ และทีพูถูกสังหารเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 1799 ขณะปกป้องที่มั่นในศรีรังคปัฏณะ

อ้างอิง แก้

  1. Potter, L. (5 January 2009). The Persian Gulf in History. Springer. ISBN 9780230618459.
  2. Hardiman, David (March 2021). Noncooperation in India: Nonviolent Strategy and Protest, 1920–22. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-758056-1.
  3. Cavendish, Richard (4 May 1999). "Tipu Sultan killed at Seringapatam". History Today. 49 (5). สืบค้นเมื่อ 13 December 2013.
  4. Yazdani, Kaveh (2017). India, Modernity and the Great Divergence. Brill. p. 67. ISBN 9789004330795.
  5. Colley, Linda (2000). "Going Native, Telling Tales: Captivity, Collaborations and Empire". Past & Present (168): 190. ISSN 0031-2746. JSTOR 651308.
  6. Dalrymple, p. 243
  7. Jamil, Arish. "Why Mysore? The Idealistic and Materialistic Factors Behind Tipu Sultan's War Rocket Success" (PDF). Emory Endeavors in World History - Volume 5. Emory College of Arts and Science. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-06-16. สืบค้นเมื่อ 21 May 2022.
  8. Hasan 2005, p. 399.
  9. Datta, R.K. (2007). Global Silk Industry: A Complete Source Book. APH Publishing. p. 17. ISBN 978-81-313-0087-9.
  10. "History Of Channapatna Toys". Craftdeals.in. January 2023. สืบค้นเมื่อ January 1, 2023.
  11. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Narasimha
  12. Roy 2011, p. 77.
  13. Hasan 2005, pp. 105–107.
  14. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ tipu 2
  15. Sen, Sailendra Nath (1995). Anglo-Maratha Relations, 1785-96 (ภาษาอังกฤษ). Popular Prakashan. ISBN 9788171547890.

บรรณานุกรม แก้