ทิวเขาเพชรบูรณ์

ทิวเขาเพชรบูรณ์ เป็นทิวเขาที่อต่อเนื่องจากทิวเขาหลวงพระบาง ครอบคลุมตั้งแต่ภาคเหนือตอนล่างลงมาถึงภาคกลางตอนบน มีความยาวรวม 586 กิโลเมตร แบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน ส่วนแรกตั้งแต่ทางตะวันออกของแม่น้ำป่าสัก ผ่านจังหวัดเลย เพชรบูรณ์ ขอนแก่น และชัยภูมิ มีความยาว 236 กิโลเมตรและส่วนที่สองเริ่มจากฝั่งตะวันตกของแม่น้ำป่าสักผ่านจังหวัดเลย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ และลพบุรี มีความยาว 350 กิโลเมตร[2] ยอดเขาและสันเขาที่สำคัญ ได้แก่ ภูสอยดาว ภูเมี่ยง ภูขัด และภูหินร่องกล้า เขาปู่ เขาย่า เขาค้อ เขาผ้าขาว และเขารัง

ทิวเขาเพชรบูรณ์
จุดสูงสุด
ยอดภูทับเบิก[1]
ความสูง
เหนือระดับน้ำทะเล
1,794 เมตร (5,886 ฟุต)
ข้อมูลเชิงขนาด
ยาว190 กม. (118 ไมล์) N/S
กว้าง110 กม. (68 ไมล์) E/W
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
แผนที่ภาคอีสาน
ประเทศประเทศไทย
พิกัดเทือกเขา16°26′N 101°9.1′E / 16.433°N 101.1517°E / 16.433; 101.1517
เทือกเขาทิวเขาหลวงพระบาง (ส่วนตะวันตก)
ข้อมูลทางธรณีวิทยา
ประเภทหินหินทราย และ แกรนิต

ลักษณะทางกายภาพเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 500–1,571 เมตร ประกอบด้วย อุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธ์ุสัตว์ป่า จำนวน 10 แห่ง คือ อุทยานแห่งชาติภูเรือ อุทยานแห่งชาติภูสวนทราย เขตรักษาพันธ์ุสัตว์ป่าภูหลวง เขตรักษาพันธ์ุสัตว์ป่าภูค้อ ภูกระแต อุทยานแห่งชาติภูกระดึง อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว อุทยานแห่งชาติภูผาม่าน อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง และอุทยานแห่งชาติเขาค้อ

ลุ่มน้ำสายสำคัญที่เกิดจากพื้นที่ภูมิทัศน์ทิวเขาเพชรบูรณ์ ประกอบด้วยลุ่มน้ำพุงไหลลงสู่ลุ่มน้ำป่าสัก ลุ่มน้ำเลยไหลลงสู่แม่น้ำโขง ลุ่มน้ำหมันไหลลงสู่ลุ่มน้ำเหืองไหลลงสู่แม่น้ำโขง ต้นน้ำพองไหลลงสู่แม่น้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ต้นน้ำเซิญเป็นแม่น้ำสาขาของแม่น้ำชี และลุ่มน้ำเข็กไหลลงสู่แม่น้ำน่านทางฝั่งทิศตะวันตก[3]

อ้างอิง แก้

  1. Google Earth
  2. "ภูเขาที่สำคัญในประเทศไทย". สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 13 (ชลบุรี). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-06-18. สืบค้นเมื่อ 2023-06-18.
  3. "เทือกเขาเพชรบูรณ์". โครงการ Small Grants (SGP).