ทิฐิ (อ่านว่า ทิดถิ) (บาลี: ทิฏฺฐิ, อังกฤษ: View) แปลว่า การเห็น ในพระพุทธศาสนาใช้ในความหมายเดียวกับ "มิจฉาทิฐิ"[1] คือการเห็นผิด มี 2 ประการ ได้แก่ สัสสตทิฐิ (การเห็นว่าเที่ยง) อุจเฉททิฐิ (การเห็นว่าขาดสูญ) เป็นต้น

หากเป็นการเห็นถูก (อังกฤษ: Right View) เรียกว่า สัมมาทิฐิ เป็นองค์ประกอบหนึ่งของ ปัญญา หรือ การเห็นตรง หรือ ทิฐิวิสุทธิ ซึ่งหมายถึงความรู้เข้าใจโลกตามที่เป็นจริง ว่าเป็นองค์ประชุมของนามรูป มีเกิด ดับ เปลี่ยนแปลง ไม่อาจยึดถือเอาเป็นตัวตนเป็นสัตว์บุคคลได้ เป็นเหตุข่มความเข้าใจผิดไม่หลงเพลิดเพลินโลก

นอกจากนี้ในภาษาไทยมักใช้ในความหมายว่าความอวดดื้อถือดี ความดื้อรั้น ความตะแบงทั้งที่รู้ว่าผิดแต่ไม่ยอมรับและไม่ยอมแก้ไข เช่นที่ใช้ว่า "เขามีทิฐิมาก ไม่ยอมลงใคร" ทิฐิมานะของเขาทำให้เขาเข้ากับใครไม่ได้เลยในที่ทำงาน"

ทิฏฐิ ๖๒ แก้

ปุพพันตกัปปิกะ แก้

ปุพพันตกัปปิกทิฏฐิ แปลว่า ความเห็นหรือทฤษฎีของพวกที่กำหนดขึ้น อาศัยส่วนของขันธ์ (เบญจขันธ์) อันเป็นอดีต

สัสสตทิฏฐิ ๔ แก้

๑. เห็นว่า ตัวตน (อัตตา) และโลกเที่ยง เพราะระลึกชาติได้ ตั้งแต่ชาติเดียว จนถึงแสนชาติ

๒. เห็นว่า ตัวตน และโลกเที่ยง เพราะระลึกชาติได้เป็นกัปป์ๆ ตั้งแต่กัปป์เดียวถึงสิบกัปป์

๓. เห็นว่า ตัวตน และโลกเที่ยง เพราะระลึกชาติได้มากกัปป์ ตั้งแต่สิบกัปป์ถึงสี่สิบกัปป์

๔. นักเดา เดาตามความคิดคาดคะเนว่าโลกเที่ยง

เอกัจจสัสสติกทิฏฐิ เอกัจจอสัสสติกทิฏฐิ ๔ แก้

๕. เห็นว่า พระพรหมเที่ยง แต่พวกเราที่พระพรหมสร้างไม่เที่ยง

๖. เห็นว่า เทวดาพวกอื่นเที่ยงพวกที่มีโทษเพราะเล่นสนุกสนาน (ขิฑฑาปโทสิกา)ไม่เที่ยง

๗. เห็นว่า เทวดาพวกอื่นเที่ยง พวกที่มีโทษเพราะคิดร้ายผู้อื่น (มโนปโทสิกา) ไม่เที่ยง

๘. นักเดา เดาตามความคิดคาดคะเนว่า ตัวตนฝ่ายกายไม่เที่ยง ตัวตนฝ่ายจิตเที่ยง

(๓) หมวดเห็นว่ามีที่สุด และไม่มีที่สุด (อันตานันติกทิฏฐิ) ๔

๙. เห็นว่าโลกมีที่สุด

๑๐. เห็นว่าโลกไม่มีที่สุด

๑๑. เห็นว่าโลกมีที่สุด เฉพาะด้านบนกับด้านล่าง ส่วนด้านกว้าง หรือด้านขวาง ไม่มีที่สุด

๑๒. นักเดา เดาตามความคิดคาดคะเนว่า โลกมีที่สุดก็ไม่ใช่ ไม่มีที่สุดก็ไม่ใช่

อมราวิกเขปิกทิฏฐิ ๔ แก้

๑๓. เกรงว่าจะพูดปด จึงพูดปฏิเสธว่า อย่างนี้ก็ไม่ใช่ อย่างนั้นก็ไม่ใช่ อย่างอื่นก็ไม่ใช่ มิใช่ (อะไร) ก็ไม่ใช่

๑๔. เกรงว่าจะยึดถือ จึงพูดปฏิเสธแบบข้อ ๑

๑๕. เกรงว่าจะถูกซักถาม จึงพูดปฏิเสธแบบข้อ ๑

๑๖. เพราะโง่เขลา จึงพูดปฏิเสธแบบข้อ ๑ และไม่ยอมรับหรือยืนยันอะไรเลย

อธิจจสมุปปันนิกทิฏฐิ ๒ แก้

๑๗. เห็นว่าสิ่งต่างๆ มีขึ้นเอง โดยไม่มีเหตุ เพราะเคยเกิดเป็นอสัญญีสัตว์

๑๘. นักเดา เดาเอาตามความคิดคาดคะเนว่า สิ่งต่างๆ มีขึ้นเองโดยไม่มี

อปรันตกัปปิกวาท แก้

อปรันตกัปปิกวาท ผู้ปรารภเบื้องปลาย ได้แก่ส่วนที่เป็นอนาคต มี ๕ กลุ่ม แบ่งย่อยออกเป็น ๔๔ สำนัก

ใน ๕ กลุ่มของนักคิด สามกลุ่มแรกเห็นว่า อัตตา (อาตมัน) หรือวิญญาณ หลังตายแล้วยังมีอยู่ (อุทธมาฆาตนิกา) ในลักษณะเป็นทรัพย์ ( Substance ) เป็นตัวรองรับคุณสมบัติต่าง ๆ เป็นตัวไปเกิดใหม่ สืบภพชาตินิรันดร (อโรคะ)

สัญญีทิฏฐิ เห็นว่า อัตตาหลังตายแล้วมีสัญญา แก้

๑๙. อัตตาที่มีรูป ยั่งยืน มีสัญญา

๒๐. อัตตาที่ไม่มีรูป ยั่งยืน มีสัญญา

๒๑. อัตตาทั้งที่มีรูป ทั้งที่ไม่มีรูป ยั่งยืน มีสัญญา

๒๒. อัตตาทั้งที่มีรูปก็มิใช่ ทั้งที่ไม่มีรูปก็มิใช่ ยั่งยืน มีสัญญา

๒๓. อัตตาที่มีที่สุด ยั่งยืน มีสัญญา

๒๔. อัตตาที่ไม่มีที่สุด ยั่งยืน มีสัญญา

๒๕. อัตตาทั้งที่มีที่สุด ทั้งที่ไม่มีที่สุด ยั่งยืน มีสัญญา

๒๖. อัตตาทั้งที่มีที่สุดก็มิใช่ ทั้งที่ไม่มีที่สุดก็มิใช่ ยั่งยืน มีสัญญา

๒๗. อัตตาที่มีสัญญาอย่างเดียวกัน ยั่งยืน มีสัญญา

๒๘. อัตตาที่มีสัญญาต่างกัน ยั่งยืน มีสัญญา

๒๙. อัตตาที่สัญญาย่อมเยา ยั่งยืน มีสัญญา

๓๐. อัตตาที่มีสัญญาหาประมาณมิได้ ยั่งยืน มีสัญญา

๓๑. อัตตาที่มีสุขอย่างเดียว ยั่งยืน มีสัญญา

๓๒. อัตตาที่มีทุกข์อย่างเดียว ยั่งยืน มีสัญญา

๓๓. อัตตาที่มีทั้งสุขและทุกข์ ยั่งยืน มีสัญญา

๓๔. อัตตาที่มีทุกข์ก็มิใช่ สุขก็มิใช่ ยั่งยืน มีสัญญา

ตนทั้ง ๑๖ ประเภทนี้ ตายไปแล้ว ก็มีสัญญา คือความจำได้หมายรู้ทั้งสิ้น

หมวดเห็นว่าไม่มีสัญญา (อสัญญีทิฏฐิ) ๘ แก้

ตนมีรูปจนถึงตนมีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่ ทั้ง ๘ ประเภทนี้ ตายไปแล้วก็ไม่มีสัญญา คือไม่มีความจำได้หมายรู้

๓๕. อัตตาที่มีรูป เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมไม่แปรผัน ไม่มีสัญญา

๓๖. อัตตาที่ไม่มีรูป เบื้องหน้าแต่ ตาย ย่อมไม่แปรผัน ไม่มีสัญญา

๓๗. อัตตาทั้งที่มีรูปและไม่มีรูป เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมไม่แปรผัน ไม่มีสัญญา

๓๘. อัตตาที่มีรูปก็ไม่ใช่ ที่หารูปมิ ได้ก็มิใช่ เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมไม่แปรผัน ไม่มีสัญญา

๓๙. อัตตาที่มีที่สุด เบื้องหน้าแต่ ตาย ย่อมไม่แปรผัน ไม่มีสัญญา

๔๐. อัตตาที่หาที่สุดมิได้ เบื้องหน้า แต่ตาย ย่อมไม่แปรผัน ไม่มีสัญญา

๔๑. อัตตาทั้งที่มีที่สุดและไม่มีที่สุด เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมไม่แปรผัน ไม่มีสัญญา

๔๒. อัตตาที่มีที่สุดก็ไม่ใช่ ที่หาที่สุด มิได้ก็ไม่ใช่ เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมไม่แปรผัน ไม่มีสัญญา

หมวดเห็นว่ามีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ (เนวสัญญีนาสัญญีทิฏฐิ) ๘ แก้

ข้อ ๔๓ ถึงข้อ ๕๐ ข้างต้น คือ ตนมีรูป จนถึงตนมีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่ ทั้ง ๘ ประเภทนี้ ตายไปแล้ว มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่

๑. อัตตาที่มีรูป เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมไม่แปรผัน จึงบัญญัติอัตตานั้นว่า มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่

๒. อัตตาที่ไม่มีรูป เบื้องหน้าแต่ ตาย ย่อมไม่แปรผัน จึงบัญญัติอัตตานั้นว่า มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่

๓. อัตตาทั้งที่มีรูปและไม่มีรูป เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมไม่แปรผัน จึงบัญญัติอัตตานั้นว่า มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่

๔. อัตตามีรูปก็ไม่ใช่ ไม่มีรูปก็ ไม่ใช่ เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมไม่แปรผัน จึงบัญญัติอัตตานั้นว่า มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่

๕. อัตตาที่มีที่สุด เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมไม่แปรผัน จึงบัญญัติอัตตานั้นว่า มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่

๖. อัตตาที่ไม่มีที่สุด เบื้องหน้าแต่ ตาย ย่อมไม่แปรผัน จึงบัญญัติอัตตานั้นว่า มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่

๗. อัตตาทั้งที่มีที่สุดและไม่มีที่สุด เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมไม่แปรผัน จึงบัญญัติอัตตานั้นว่า มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่

๘. อัตตามีที่สุดก็ไม่ใช่ ไม่มีที่สุดก็ ไม่ใช่ เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมไม่แปรผัน จึงบัญญัติอัตตานั้นว่า มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่

หมวดเห็นว่า ขาดสูญ (อุจเฉททิฏฐิ) ๗ แก้

๕๑. ตนที่เป็นของมนุษย์และสัตว์

๕๒. ตนที่เป็นของทิพย์ มีรูป กินอาหารหยาบ

๕๓. ตนที่เป็นของทิพย์ มีรูป สำเร็จจากใจ

๕๔. ตนที่เป็นอากาสานัญจายตนะ

๕๕. ตนที่เป็นวิญญาณาสัญญายตนะ

๕๖. ตนที่เป็นอากิญจัญญายตนะ

๕๗. ตนที่เป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะ

ทั้ง ๗ ประเภทนี้ เมื่อสิ้นชีพแล้วก็ขาดสูญ ไม่เกิดอีก

หมวดเห็นสภาพบางอย่างเป็นนิพพานในปัจจุบัน (ทิฏฐธรรมนิพพานทิฏฐิ) ๕ แก้

๕๘. เห็นว่าการเพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ เป็นนิพพานอย่างยอดในปัจจุบัน

๕๙. เห็นว่าการเพียบพร้อมด้วยฌานที่ ๑  เป็นนิพพานอย่างยอดในปัจจุบัน

๖๐. เห็นว่าการเพียบพร้อมด้วยฌานที่ ๒ เป็นนิพพานอย่างยอดในปัจจุบัน

๖๑. เห็นว่าการเพียบพร้อมด้วยฌานที่ ๓ เป็นนิพพานอย่างยอดในปัจจุบัน

๖๒. เห็นว่าการเพียบพร้อมด้วยฌานที่ ๔ เป็นนิพพานอย่างยอดในปัจจุบัน

อ้างอิง แก้