ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 44

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 44 สายอ่าวลึก–หินโงก หรือที่เรียกกันว่า ถนนเซาท์เทิร์น เป็นทางหลวงแผ่นดินที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสะพานเศรษฐกิจ (Land Bridge) เชื่อมโยงระหว่างทะเลอันดามันกับอ่าวไทย ซึ่งเกิดขึ้นจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2536 มอบหมายให้กรมทางหลวงก่อสร้างทางหลวงสายกระบี่–ขนอม โดยกำหนดให้ก่อสร้างเป็น 4 ช่องจราจร และให้กำหนดเขตทางหลวงรวม 200 เมตร เพื่อกันพื้นที่วางท่อส่งน้ำมัน และทางรถไฟในอนาคตอีก 100 เมตร

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 44
ถนนเซาท์เทิร์น
ข้อมูลของเส้นทาง
ความยาว133.172 กิโลเมตร (82.749 ไมล์)
มีขึ้นเมื่อพ.ศ. 2546–ปัจจุบัน
ทางแยกที่สำคัญ
ปลายทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ถ.เพชรเกษม ใน อ.อ่าวลึก จ.กระบี่
  ทล.41 ใน อ.บ้านนาเดิม จ.สุราษฎร์ธานี
ปลายทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ทล.401 ใน อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี
ตำแหน่งที่ตั้ง
ประเทศไทย
ระบบทางหลวง

ทางหลวงสายนี้มีจุดเริ่มต้นแยกจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 บริเวณกิโลเมตรที่ 944+200 ตำบลคลองหิน อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ตัดขึ้นไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านอำเภอปลายพระยา เข้าสู่เขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี ผ่านอำเภอพระแสง อำเภอเคียนซา อำเภอบ้านนาเดิม อำเภอพุนพิน อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี สิ้นสุดที่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 401 บริเวณตำบลพลายวาส อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี รวมระยะทาง 133.172 กิโลเมตร

โครงการทางหลวงสายกระบี่–ขนอม เริ่มก่อสร้างเมื่อต้นปี พ.ศ. 2542 ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2546 โดยใช้งบประมาณ 3,500 ล้านบาท ได้รับการสนับสนุนจากโครงการช่วยเหลือจากญี่ปุ่น (JICA) ตามแผนงานช่วยพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ (Southern Seaboard Development Program) ซึ่งงบประมาณบางส่วนที่ใช้ในการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินมาจากโครงการมิยาซาวา

รายละเอียดของเส้นทาง แก้

คูกลางระหว่างถนน
ที่กลับรถ

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 44 เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสะพานเศรษฐกิจ ภายใต้โครงการเซาเทิร์นซีบอร์ด อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการสร้างส่วนอื่นของโครงการเซาเทิร์นซีบอร์ด ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 44 มีจุดมุ่งหมายเพื่อเชื่อมระหว่างท่าเรือน้ำลึกที่ชายฝั่งตะวันตก และตะวันออกเข้าด้วยกัน แต่เนื่องจากตำแหน่งของท่าเรือยังไม่แน่ชัด จึงได้สร้างทางหลวงเฉพาะส่วนกลางเท่านั้น ตอนปลายของทั้งสองด้านประมาณ 50 กิโลเมตร จะสร้างเมื่อทราบตำแหน่งของท่าเรือแน่นอนแล้ว

ทางหลวงสายนี้มีความพิเศษตรงที่ได้ถูกออกแบบให้รองรับการขนส่งประเภทอื่นด้วย ดังนั้นการจราจรทั้งสองทิศทางจึงถูกคั่นด้วยคูกลาง ซึ่งมีความกว้าง 150 เมตร ทั้งนี้เพื่อสร้างรางรถไฟ ท่อขนส่งเชื้อเพลิง และการขนส่งอื่น ๆ อย่างไรก็ดี เนื่องจากโครงการสะพานเศรษฐกิจไม่มีความคืบหน้า จึงยังไม่มีการสร้างอะไรในระหว่างถนน

ทางหลวงสายนี้ไม่มีจุดตัดในระดับพื้นดินกับถนนสายอื่น มีเพียงสะพานข้ามทางแยกที่จุดตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41 และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4009 เท่านั้น ถนนสายอื่นที่ตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 44 จะถูกตัดขาด ผู้ขับขี่รถจากถนนเหล่านั้นจะต้องเลี้ยวซ้าย เข้าสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 44 จากนั้นไปกลับรถ และเลี้ยวซ้ายกลับเข้าสู่ถนนเส้นเดิม

เนื่องจากทางหลวงสายนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับท่าเรือน้ำลึกที่ยังไม่มีการสร้าง ดังนั้นจึงไม่ได้ตัดเข้าใกล้ชุมชนใด ๆ ตลอดเส้นทางมีสาธารณูปโภคเพียงเล็กน้อย มีสถานีบริการน้ำมันเพียงหกแห่งที่ตำบลท่าเรือ และตำบลทรัพย์ทวี อำเภอบ้านนาเดิม (ตำบลละ 2 แห่ง) และตำบลบางสวรรค์ อำเภอพระแสง มีสัญญาณโทรศัพท์มือถือตลอดทางยกเว้นทรูมูฟที่มีสัญญาณเพียงเล็กน้อย ฯลฯ

ทางหลวงสายนี้เริ่มต้นที่อำเภออ่าวลึก และตัดผ่านอำเภอปลายพระยา จากนั้นเข้าสู่จังหวัดสุราษฎร์ธานีที่อำเภอพระแสง ผ่านอำเภอเคียนซา อำเภอบ้านนาเดิม อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี และสิ้นสุดที่อำเภอกาญจนดิษฐ์ มีความยาวทั้งสิ้น 133.172 กิโลเมตร โดยอยู่ในจังหวัดกระบี่ 37.2 กิโลเมตร และอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี 95.972 กิโลเมตร ตลอดเส้นทางเป็นถนนลาดยาง มีช่องจราจร 4 ช่องทาง ทิศทางละ 2 ช่องทาง คั่นด้วยคูกลางซึ่งมีความกว้าง 150 เมตร และมีเขตทางกว้าง 200 เมตร

รายชื่อทางแยก แก้

รายชื่อทางแยกบน   ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 44 ทิศทาง: ถนนเซาเทิร์น (อ่าวลึก-หินโงก)
จังหวัด กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
กระบี่ 0+000   ถนนเพชรเกษม จาก พังงา, ภูเก็ต   ถนนเพชรเกษม จาก กระบี่
29+738 4367 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4367 ไปอำเภอทับปุด, พังงา[1] ไม่มี
สุราษฎร์ธานี ทางเชื่อม   ทล.4009 ไปบ้านบางสวรรค์, อำเภอปลายพระยา ไม่มี
45+663   ทล.4009 ไปบ้านบางสวรรค์, อำเภอปลายพระยา   ทล.4009 ไป อำเภอพระแสง, อำเภอเวียงสระ
79+100   ทล.4133 ไป อำเภอพุนพิน   ทล.4133 ไป อำเภอพระแสง
ทางหลวงท้องถิ่น (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4212 เดิม) ไปบรรจบ   ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4133 ทางหลวงท้องถิ่น (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4212 เดิม) ไป อำเภอเคียนซา, อำเภอบ้านนาเดิม
96+000 ทางแยกต่างระดับท่าเรือ     ทล.41 ไป สุราษฎร์ธานี, ชุมพร     ทล.41 ไป อำเภอเวียงสระ, อำเภอทุ่งสง
สะพาน ข้ามทางรถไฟสายใต้
111+500   ทล.4009 ไป อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี   ทล.4009 ไป อำเภอบ้านนาสาร, อำเภอเวียงสระ
128+831   ทล.4010 ไป อำเภอกาญจนดิษฐ์   ทล.4010 ไป บ้านกรูด, บ้านใน
133+229   ทล.401 ไป อำเภอกาญจนดิษฐ์, สุราษฎร์ธานี   ทล.401 ไป อำเภอดอนสัก, นครศรีธรรมราช
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

โครงการในอนาคต แก้

ใน ปี พ.ศ. 2560 สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้มีการศึกษาเพื่อเตรียมการก่อสร้างทางรถไฟ จากสถานีสุราษฎร์ธานี ถึงอำเภอดอนสัก โดยมีเส้นทางคู่ขนานไปกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 44 จากอำเภอบ้านนาเดิม ถึงท่าเรือดอนสัก เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางข้ามฟากไปยังเกาะสมุย เกาะพะงัน และบริเวณใกล้เคียงต่อไป[2]

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

อ้างอิง แก้

  1. [1]
  2. https://donsaksurat-railtransit.com/ เก็บถาวร 2018-02-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โครงการศึกษาและออกแบบทางรถไฟสายใหม่ช่วงอำเภอดอนสัก เชื่อมรถไฟสายใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี