ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 225

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 225 สายแยกบึงบอระเพ็ด–ชัยภูมิ เป็นถนนที่เชื่อมระหว่างภาคเหนือกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มต้นที่สามแยกบึงบอระเพ็ด ตัดกับถนนพหลโยธินก่อนขึ้นสะพานเดชาติวงศ์ ตัดผ่าน อำเภอชุมแสง อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ อำเภอบึงสามพันและอำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ ขึ้นไปสู่จังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มตั้งแต่อำเภอภักดีชุมพล อำเภอเทพสถิต อำเภอหนองบัวระเหว อำเภอบ้านเขว้า และสิ้นสุดที่วงเวียนอนุสาวรีย์พระยาภักดีชุมพล อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ระยะทางยาวประมาณ 268 กิโลเมตรเป็นทางหลวง 2 จราจรสวนกัน และบางช่วงเป็น 4 ช่องจราจร

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 225
ถนนนครสวรรค์–ชัยภูมิ
ข้อมูลของเส้นทาง
ความยาว253.29 กิโลเมตร (157.39 ไมล์)
ทางแยกที่สำคัญ
ปลายทางทิศตะวันตก ถ.พหลโยธิน ใน อ.เมืองนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์
 
ปลายทางทิศตะวันออกถ.หฤทัย ใน อ.เมืองชัยภูมิ จ.ชัยภูมิ
ตำแหน่งที่ตั้ง
ประเทศไทย
ระบบทางหลวง

โดยถนนเส้นนี้อยู่ในส่วนหนึ่งของแผนงานการก่อสร้างทางสายหลักเป็น 4 ช่องจราจร ระยะที่ 2 (โครงข่ายที่ 6 สายนครสวรรค์–ชัยภูมิ–อำเภอบ้านไผ่–มหาสารคาม–ร้อยเอ็ด–ยโสธร–อุบลราชธานี–ช่องเม็ก) ระยะทาง 672 กิโลเมตร ของกรมทางหลวง อย่างไรก็ตาม เส้นทางบางส่วนที่มีความสำคัญสูงมาก เนื่องจากอยู่ใกล้ตัวเมืองใหญ่ หรือเป็นเส้นทางหลักของประเทศ ได้มีการเสนอของบประมาณ และดำเนินการไปบ้างแล้ว

รายละเอียดของเส้นทาง แก้

ทางหลวงสายนี้เริ่มต้นที่สามแยกบึงบอระเพ็ด ซึ่งแยกมาจากถนนพหลโยธิน บริเวณเชิงสะพานเดชาติวงศ์ ก่อนเข้าเมืองนครสวรรค์ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ไปตามทิศตะวันออก ซึ่งถนนสายนี้ในเขตอำเภอเมืองถึงอำเภอชุมแสง มีชื่อว่า ถนนนครสวรรค์-ชุมแสง ผ่าน บึงบอระเพ็ด บ้านทับกฤช บ้านเกยไชย ในช่วงนี้จะขนานเลียบกับทางรถไฟสายเหนือ ช่วงสถานีรถไฟปากน้ำโพ - ชุมแสง พอก่อนเข้าเมืองชุมแสง เพียง 7 กิโลเมตร มีทางเลี่ยงเมืองชุมแสง มีชื่อว่า ถนนนครสวรรค์-หนองบัว เมื่อเข้าไปในเขตเทศบาลเมืองชุมแสง มีชื่อว่า ถนนเทศบาลพัฒนา 3 และถนนเทศบาลพัฒนา 2 เมื่อระหว่างอำเภอชุมแสงกับอำเภอหนองบัวมีชื่อว่า ถนนชุมแสง-หนองบัว ผ่านสี่แยกหนองบัว ซึ่งตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 ระหว่างอำเภอหนองบัวกับอำเภอบึงสามพัน มีชื่อว่า ถนนหนองบัว-บึงสามพัน ผ่านสี่แยกราหุล ซึ่งตัดผ่านทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 21 และช่วงอำเภอบึงสามพันจนถึงจังหวัดชัยภูมิ มีชื่อว่า ถนนนครสวรรค์-ชัยภูมิ จนถีงวงเวียนอนุสาวรีย์พระยาภักดีชุมพล จะตัดผ่านภูเขา ช่วงรอยต่อระหว่างอำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ อำเภอภักดีชุมพล อำเภอเทพสถิต และอำเภอหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ มีจุดชมวิว 1 แห่ง

การนับหลักกิโลเมตรของถนนสายนี้ เริ่มต้นนับกิโลเมตรที่ 0+000 จากถนนพหลโยธิน นับไปจนถึงกิโลเมตรที่ 253+290 ที่จังหวัดชัยภูมิ รวมระยะทาง 253.29 กิโลเมตร

ประวัติ แก้

 
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 225 ช่วงเปิดใช้ทางเลี่ยงเมืองชุมแสง อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ เมื่อปี พ.ศ. 2547

เนื่องจากเดิมทางหลวงสายนี้มีลักษณะขาดตอนกัน ยังไม่เชื่อมเป็นทางหลวงสายเดียวกันจนถึงปัจจุบัน กล่าวคือ

  • ช่วงตั้งแต่แยกบึงบอระเพ็ด (อำเภอเมืองนครสวรรค์) ถึงอำเภอชุมแสง เดิมเคยใช้รหัสทางหลวงหมายเลข 1118 (ปัจจุบันรหัสทางหลวงหมายเลข 1118 ใช้เรียกชื่อถนนสายท่าพุทรา – บางมูลนาก ในเวลาต่อมา)
  • ช่วงตั้งแต่อำเภอชุมแสงถึงอำเภอหนองบัว เดิมเคยใช้รหัสทางหลวงหมายเลข 1119 (ปัจจุบันรหัสทางหลวงหมายเลข 1119 ใช้เรียกชื่อถนนสายน้ำสาดเหนือ – ท่าตะโก ในเวลาต่อมา)
  • ช่วงตั้งแต่อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ ถึงอำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2530 ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 225 สายแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (นครสวรรค์) - ชัยภูมิ ตอนแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 (อำเภอหนองบัว) - บรรจบทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2275 (บ้านหนองแดง) และตอนแยกทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2275 (บ้านซับบอน) - บ้านหลุบโพธิ์ พ.ศ. 2530[1]
  • ส่วนช่วงตั้งแต่อำเภอบ้านเขว้า ถึงอำเภอเมืองชัยภูมิ เดิมเคยใช้รหัสทางหลวงหมายเลข 2053 (ปัจจุบันกรมทางหลวงได้ยกเลิกรหัสหมายเลขทางหลวงนี้ และถูกยุบรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 225 ในเวลาต่อมา)

ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 กรมทางหลวงได้กำหนดรหัสทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 225 และได้ยุบรวมทางหลวงสายดังกล่าวข้างต้นทั้งหมด ให้รวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินสายนี้ ต่อมาในปี พ.ศ. 2541 มีการออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 225 สายแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (นครสวรรค์) - ชัยภูมิ ตอนทางเลี่ยงเมืองชุมแสง พ.ศ. 2541[2] โดยแนวเส้นทางเริ่มตั้งแต่บริเวณตำบลเกยไชย อำเภอชุมแสง มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ข้ามทางรถไฟสายเหนือ และไปสิ้นสุดบริเวณตำบลหนองกระเจา อำเภอชุมแสง โดยเริ่มดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2545 แล้วเสร็จเมื่อประมาณ พ.ศ. 2547

รายชื่อทางแยก แก้

รายชื่อทางแยกบน   ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 225 ทิศทาง: นครสวรรค์ - ชัยภูมิ
จังหวัด กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
นครสวรรค์ 0+000 แยกบึงบอระเพ็ด   ทล.1 จาก นครสวรรค์   ทล.1 จาก ชัยนาท
4+774   สะพานดุสิตาภูมิ เข้าเมืองนครสวรรค์ ไม่มี
7+065   สะพานแควใหญ่พัฒนา เข้าเมืองนครสวรรค์ ไม่มี
17+500 แยกทับกฤชใต้   ทางหลวงชนบท นว.3104 ไป บ.เกยไชย ไม่มี
21+063 แยกทับกฤช (เจดีย์ขาว)   ทล.122 (ทางเลี่ยงเมืองนครสวรรค์)[3] ไป อ.เก้าเลี้ยว   ทล.3475 ไป บ.พนมรอก
33+200 แยกเกยไชย   ทล.3600 ไป อ.ชุมแสง ไม่มี
36+477 สะพานข้ามทางรถไฟ ข้ามทางรถไฟสายเหนือ
ซ้าย: ไปสถานีรถไฟชุมแสง ขวา: ไปสถานีรถไฟคลองปลากด
38+445 แยกโพธิ์หนองยาว ทางหลวงท้องถิ่น เข้าเมืองชุมแสง   ทางหลวงชนบท นว.3103 ไป บ.โพธิ์หนองยาว, อ.ท่าตะโก
43+716 แยกหนองกระเจา (ศาลาตาปั่น)   ทล.3600 ไป อ.ชุมแสง ไม่มี
49+250 แยกจิกใหญ่ (เนินตะโก)   ทางหลวงชนบท นว.3042 ไป บ.หนองโก ไม่มี
57+915 แยกจิกยาว (ห้วยร่วม)   ทางหลวงชนบท นว.3042 ไป บ.ห้วยร่วม ไม่มี
69+537 ไม่มี   ทล.1411 ไป อ.ท่าตะโก
70+582 แยกหนองบัว   ทล.11 ไป พิจิตร   ทล.11 ไป กรุงเทพ
84+170 แยกโคกสะอาด (วังบ่อ) ไม่มี   ทางหลวงชนบท นว.2032 ไป บ.เขานางต่วม, บรรจบ   ทล.11
เพชรบูรณ์ 94+465 แยกศรีมงคล   ทางหลวงชนบท นว.3116 ไป บ.คลองกำลัง, บ.วังก้านเหลือง ทางหลวงท้องถิ่น ไป บ.วังพิกุล
105+138 แยกซับสมพงษ์   ทางหลวงชนบท นว.3021 ไป บ.ลาดแค, อ.ชนแดน   ทางหลวงชนบท พช.3002 ไป บ.ซับไม้แดง, บ.วังพิกุล
116+703 แยกราหุล   ทล.21 ไป เพชรบูรณ์   ทล.21 ไป สระบุรี
128+859 แยกหนองแดง   ทล.2275 ไป เพชรบูรณ์ ไม่มี
134+054 แยกซับบอน ทางหลวงท้องถิ่น ไป บ.เขาพลวง   ทล.2275 ไป อ.วิเชียรบุรี
ชัยภูมิ 162+400 แยกวังใหญ่   ทล.2359 ไป อ.ภักดีชุมพล ไม่มี
186+225 แยกซับมงคล ไม่มี ชย.3006 ทางหลวงชนบท ชย.3006 ไป อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม
202+010 แยกห้วยบง ไม่มี ชย.3011 ทางหลวงชนบท ชย.3011 ไป บ.วังกะทะ
222+900 ไม่มี   ทล.2354 ไป อ.ซับใหญ่
224+500 แยกหนองบัวระเหว   ทล.2170 ไป อ.หนองบัวระเหว   ทล.2170 ไป อ.จัตุรัส
238+400 แยกหลุบโพธิ์ ชย.3019 ทางหลวงชนบท ชย.3019 ไป อ.หนองบัวแดง ไม่มี
243+150 ชย.3007 ทางหลวงชนบท ชย.3007 ไป บ.โป่งคลองเหนือ ไม่มี
249+500 แยกเลี่ยงเมืองชัยภูมิ (ด้านตะวันตก) ไม่มี ชย.3055 ทางหลวงชนบท ชย.3055 ไปบรรจบ ทล.201
253+000 แยกโนนไฮ ไม่มี   ทล.2435 ไปบรรจบ ทล.201
ถนนโนนม่วง ไปบรรจบถนนบรรณการ เข้าเมืองชัยภูมิ ถนนโนนไฮ - เมืองเก่า
253+290 ตรงไป: ถนนหฤทัย ไปอนุสาวรีย์เจ้าพ่อพระยาแล เชื่อมต่อ ทล.202
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

สถานที่สำคัญระหว่างเส้นทาง แก้

  • ท่าข้าวกำนันทรง
  • อุทยานพระพุทธศาสนา นครสวรรค์
  • ทางรถไฟสายเหนือ
  • ศูนย์แสดงพันธุ์สัตว์น้ำ บึงบอระเพ็ด
  • วัดเกรียงไกรกลาง
  • สำนักงานขนส่ง จังหวัดนครสวรรค์ (สาขาหนองบัว)
  • เขาพระ ในพระราชดำริ
  • ทุ่งทานตะวัน บึงสามพัน
  • จุดชมวิวเขาพังเหย
  • ทุ่งดอกกระเจียว
  • อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม
  • แม่น้ำชี
  • ศาลเจ้าพ่อพญาแล หนองปลาเฒ่า

ทางหลวงที่เกี่ยวข้อง แก้

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3600 แก้

เกยไชย – ชุมแสง
ที่ตั้งอ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์
ความยาว10.625 กิโลเมตร (6.602 ไมล์)

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3600 สายเกยไชย – ชุมแสง หรือ ทางเข้าเมืองชุมแสง เดิมเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 225 ต่อมากรมทางหลวงได้ปรับเปลี่ยนรหัสหมายเลขใหม่ โดยกำหนดทางเข้าเมืองชุมแสงเป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3600 ส่วนทางเลี่ยงเมืองชุมแสงตลอดทั้งสาย กรมทางหลวงได้กำหนดเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 225

อ้างอิง แก้

  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2530/A/032/14.PDF พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๕ สายแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ (นครสวรรค์) - ชัยภูมิ ตอนแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ (อำเภอหนองบัว) - บรรจบทางหลวงจังหวัดหมายเลข ๒๒๗๕ (บ้านหนองแดง) และตอนแยกทางหลวงจังหวัดหมายเลข ๒๒๗๕ (บ้านซับบอน) - บ้านหลุบโพธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๐
  2. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2541/A/086/7.PDF พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๕ สายแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ (นครสวรรค์) - ชัยภูมิ ตอนทางเลี่ยงเมืองชุมแสง พ.ศ. ๒๕๔๑
  3. พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน เพื่อขยายทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๘๔ สายแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๗ (ป่าแดง) - ต่อเขตเทศบาลเมืองกำแพงเพชรควบคุมที่บ้านดอนดู่ และเพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒๒ สายทางเลี่ยงเมืองนครสวรรค์ ตอนทางเลี่ยงเมืองนครสวรรค์ด้านตะวันออก พ.ศ. ๒๕๕๕

แหล่งข้อมูลอื่น แก้