ทางหลวงสายเอเชีย

ทางหลวงสายเอเชีย (อังกฤษ: Asian Highway) หรือย่อเป็น AH เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศในทวีปเอเชียและยุโรป และคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (เอสแคป) สหประชาชาติ เพื่อปรับปรุงระบบทางหลวงในเอเชีย เป็นหนึ่งในสามเสาหลักของโครงการการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งทางบกของทวีปเอเชีย อนุมัติโดยคณะกรรมการเอสแคป ในการประชุมครั้งที่ 48 ในปี ค.ศ. 1992 ซึ่งประกอบไปด้วย ถนนสายเอเชีย รถไฟสายทรานส์เอเชีย (TAR) และการอำนวยความสะดวกของโครงการการขนส่งทางบก

แผนที่ทางหลวงสายเอเชีย
ป้ายทางหลวงเอเชียสาย 2 ที่จังหวัดราชบุรี ประเทศไทย
ป้ายทางหลวงสายเอเชีย ป้ายนี้ใช้ในทางหลวงเอเชียสาย 18

ข้อตกลงได้รับการลงนามโดยประเทศต่าง ๆ รวม 32 ประเทศ เพื่อให้ทางหลวงมีเส้นทางเชื่อมต่อกันข้ามทวีป รวมถึงเชื่อมต่อกับทวีปยุโรปอีกด้วย บางประเทศมีส่วนร่วมในโครงการทางหลวง ได้แก่ อินเดีย ศรีลังกา ปากีสถาน จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และบังกลาเทศ[1] ส่วนใหญ่ของเงินทุนมาจากประเทศในเอเชียที่มีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ เช่น ญี่ปุ่น อินเดีย และจีน ตลอดจนหน่วยงานระหว่างประเทศ เช่น ธนาคารพัฒนาเอเชีย

โครงการนี้มีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มการใช้งานของทางหลวงที่มีอยู่ในทวีป แทนที่จะก่อสร้างทางหลวงสายใหม่ ยกเว้นในกรณีที่เส้นทางขาดหายไปในโครงข่าย ทำให้จำเป็นต้องมีการดำเนินการก่อสร้าง โดยในปัจจุบัน ทางหลวงสายเอเชียที่สร้างเสร็จและใช้การได้แล้วมีประมาณร้อยละ 80 ส่วนเส้นทางที่ยังใช้ไม่ได้ เช่น เส้นทางจากไทยผ่านพม่า และจากบังกลาเทศผ่านเนปาล ถ้าหากเส้นทางสายเอเชียสำเร็จเรียบร้อยตามโครงการที่เอสแคปได้วางไว้ ประชาชนในประเทศต่าง ๆ ก็จะสามารถเดินทางโดยรถยนต์ผ่านประเทศในเอเชีย และสามารถเข้าถึงประเทศในทวีปยุโรปได้

หมายเลขและป้ายสัญลักษณ์ แก้

รหัสหมายเลขทางหลวงขึ้นต้นด้วย "AH" มาจากคำว่า "ทางหลวงสายเอเชีย" และตามด้วยตัวเลขหนึ่งถึงสามตัว[2] ทางหลวงหมายเลขหนึ่งตัวตั้งแต่ 1 ถึง 9 กำหนดใช้ในทางหลวงเอเชียสายหลัก ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างภูมิภาคในทวีป[2] หมายเลขสองและสามหลักกำหนดใช้ในเส้นทางภายในภูมิภาค รวมทั้งเชื่อมต่อระหว่างภูมิภาคที่ใกล้เคียง และทางหลวงที่มีอยู่ในประเทศสมาชิก[2] รหัสหมายเลขจะแสดงด้วยอักษรละตินและตัวเลขฮินดู-อารบิก และสามารถใช้ป้ายนี้ควบคู่กับป้ายหมายเลขทางหลวงที่มีอยู่แล้วในประเทศ เหมือนกับระบบทางหลวงยุโรป[2]

รูปแบบป้ายในปัจจุบันยังไม่ได้เป็นมาตรฐาน มีเพียงแต่ตัวอักษรและตัวเลขที่อยู่ในสีขาวหรือสีดำ แต่สีป้าย รูปร่าง และขนาดของป้ายมีหลากหลายลักษณะ ดังตัวอย่างที่ใช้กันทั่วไปจะใช้ป้ายสี่เหลี่ยมสีน้ำเงินกับตัวอักษรสีขาว (คล้ายกันกับป้ายทางหลวงออโตบาห์นของเยอรมนี) ส่วนรูปแบบอื่น ๆ เช่น ตัวอักษรขาวบนป้ายสีเขียว หรือตัวอักษรดำบนป้ายสีขาว[1][3][2]

รายการเส้นทาง แก้

สายประธาน แก้

ทางหลวงเอเชียสายหลักที่มีเส้นทางข้ามทั้งทวีป กำหนดให้ใช้เลขหลักเดียว

หมายเลข ระยะทาง
(กิโลเมตร)
จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด
AH1 20,557 โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น Kapıkule ประเทศตุรกี (พรมแดนตุรกีบัลแกเรีย)
AH2 13,177 เดนปาซาร์ จังหวัดบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย โคสราวี, ประเทศอิหร่าน
AH3 7,331 อูลัน-อูเด ประเทศรัสเซีย ถังกู ประเทศจีน
เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน เชียงราย ประเทศไทย และเชียงตุง ประเทศพม่า
AH4 6,024 โนโวซีบีสค์ ประเทศรัสเซีย การาจี ประเทศปากีสถาน
AH5 10,380 เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน Kapıkule ประเทศตุรกี (พรมแดนตุรกีบัลแกเรีย)
AH6 10,475 ปูซาน ประเทศเกาหลีใต้ Krasnoye ประเทศรัสเซีย (พรมแดนรัสเซียเบลารุส)
AH7 5,868 เยคาเตรินบุร์ก ประเทศรัสเซีย การาจี ประเทศปากีสถาน
AH8 4,718 Torfyanovka ประเทศรัสเซีย (พรมแดนรัสเซียฟินแลนด์) Bandar-e Emam Khomeyni ประเทศอิหร่าน

สายเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แก้

ทางหลวงสายเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กำหนดให้ใช้หมายเลข 10-29 รวมทั้งหมายเลขสามหลัก 100-299 ซึ่งเป็นโครงข่ายทางหลวงอาเซียน กำหนดขึ้นเพิ่มเติมโดยสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[4][5]

หมายเลข ระยะทาง
(กิโลเมตร)
จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด
AH11 1,588 เวียงจันทน์ ประเทศลาว เมืองพระสีหนุ ประเทศกัมพูชา
AH12 1,195 นาเตย ประเทศลาว บ้านหินกอง จังหวัดสระบุรี ประเทศไทย
AH13 730 เมืองไซ ประเทศลาว นครสวรรค์ ประเทศไทย
AH14 2,077 ไฮฟอง ประเทศเวียดนาม มัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
AH15 566 วิญ ประเทศเวียดนาม อุดรธานี ประเทศไทย
AH16 1,032 ดองฮา ประเทศเวียดนาม ตาก ประเทศไทย
AH17 980 ดานัง ประเทศเวียดนาม หวุงเต่า ประเทศเวียดนาม
AH18 1,042 หาดใหญ่ ประเทศไทย ยะโฮร์–สิงคโปร์คอสเวย์ โจโฮร์บะฮ์รู ประเทศมาเลเซีย
AH19 459 นครราชสีมา ประเทศไทย กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
AH25 2,549 บันดาอาเจะฮ์ ประเทศอินโดนีเซีย เมรัก ประเทศอินโดนีเซีย
AH26 3,517 Laoag ประเทศฟิลิปปินส์ Zamboanga ประเทศฟิลิปปินส์
AH111 Loilem ประเทศพม่า Thibaw ประเทศพม่า[6]
AH112 Thaton ประเทศพม่า Kawthaung ประเทศพม่า[6]
AH121 458.5 มุกดาหาร ประเทศไทย สระแก้ว ประเทศไทย
AH123 ทวาย ประเทศพม่า บ้านหาดเล็ก จังหวัดตราด ประเทศไทย[6][7]
AH131 หวุงอ๋าง ประเทศเวียดนาม ท่าแขก ประเทศลาว
AH132 จังหวัดกว๋างหงาย ประเทศเวียดนาม แขวงจำปาศักดิ์ ประเทศลาว
AH140 บัตเตอร์เวิร์ท ประเทศมาเลเซีย Pasir Puteh ประเทศมาเลเซีย
AH141 พอร์ตกลัง ประเทศมาเลเซีย กวนตัน ประเทศมาเลเซีย
AH142 Yong Peng ประเทศมาเลเซีย Gambang ประเทศมาเลเซีย
AH143 Sengkang ประเทศสิงคโปร์ Senai ประเทศมาเลเซีย
AH150 Semantan รัฐซาราวัก ประเทศมาเลเซีย Tawau รัฐซาบะฮ์ ประเทศมาเลเซีย


สายเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ แก้

ทางหลวงสายเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ กำหนดให้ใช้หมายเลข 30-39 และ 300-399

หมายเลข ระยะทาง
(กิโลเมตร)
จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด
AH30 2,739 Ussuriysk ประเทศรัสเซีย Chita ประเทศรัสเซีย
AH31 1,595 Belogorsk ประเทศรัสเซีย ต้าเหลียน ประเทศจีน
AH32 3,748 Sonbong ประเทศเกาหลีเหนือ Khovd, ประเทศมองโกเลีย
AH33 575 ฮาร์บิน ประเทศจีน Tongjiang ประเทศจีน
AH34 1,033 Lianyungang ประเทศจีน ซีอาน ประเทศจีน
AH368 เกาะเช็คแลปก๊ก ฮ่องกง Sha Tin ฮ่องกง[ต้องการอ้างอิง]
AH374 กว่างโจว ประเทศจีน Kennedy Town ฮ่องกง[ต้องการอ้างอิง]

สายเอเชียใต้ แก้

ทางหลวงสายเอเชียใต้ กำหนดให้ใช้หมายเลข 40-59

หมายเลข ระยะทาง
(กิโลเมตร)
จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด
AH41 948 Teknaf ประเทศบังกลาเทศ Mongla ประเทศบังกลาเทศ
AH42 3,754 หลานโจว ประเทศจีน Barhi ประเทศอินเดีย
AH43 3,024 อัคระ ประเทศอินเดีย Matara ประเทศศรีลังกา
AH44 107 Dambulla ประเทศศรีลังกา ตรินโคมาลี ประเทศศรีลังกา
AH45 2,030 โกลกาตา ประเทศอินเดีย เบงคลูรู ประเทศอินเดีย
AH46 1,967 Hazira ประเทศอินเดีย Howrah (โกลกาตา) ประเทศอินเดีย
AH47 2,057 ควาลิยัร ประเทศอินเดีย เบงคลูรู ประเทศอินเดีย
AH48 90 Phuentsholing ประเทศภูฏาน Changrabandha ประเทศอินเดีย (พรมแดนบังกลาเทศอินเดีย)
AH51 862 เปศวาร์ ประเทศปากีสถาน เควตตา ประเทศปากีสถาน

สายเอเชียเหนือ เอเชียกลาง และเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ แก้

ทางหลวงสายเอเชียเหนือ เอเชียกลาง และเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ กำหนดให้ใช้หมายเลข 60-89

หมายเลข ระยะทาง
(กิโลเมตร)
จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด
AH60 2,151 ออมสค์ ประเทศรัสเซีย Burubaital ประเทศคาซัคสถาน
AH61 4,158 Kashgar ประเทศจีน พรมแดนระหว่างประเทศรัสเซียและประเทศยูเครน
AH62 2,722 เปียโตรปัฟล์ ประเทศคาซัคสถาน มะซารีชะรีฟ ประเทศอัฟกานิสถาน
AH63 2,434 ซามารา ประเทศรัสเซีย Guzar ประเทศอุซเบกิสถาน
AH64 1,666 เปียโตรปัฟล์ ประเทศคาซัคสถาน Barnaul ประเทศรัสเซีย
AH65 1,250 Kashgar ประเทศจีน Termez ประเทศอุซเบกิสถาน
AH66 995 พรมแดนระหว่างประเทศจีนและประเทศทาจิกิสถาน Termez ประเทศอุซเบกิสถาน
AH67 2,288 Kuitun ประเทศจีน Zhezkazgan ประเทศคาซัคสถาน
AH68 278 Jinghe ประเทศจีน Ucharal ประเทศคาซัคสถาน
AH70 4,832 พรมแดนระหว่างประเทศยูเครนและประเทศรัสเซีย บันดาร์อับบาส ประเทศอิหร่าน
AH71 426 Dilaram ประเทศอัฟกานิสถาน Dashtak ประเทศอิหร่าน
AH72 1,147 เตหะราน ประเทศอิหร่าน Bushehr ประเทศอิหร่าน
AH75 1,871 Tejen ประเทศเติร์กเมนิสถาน Chabahar ประเทศอิหร่าน
AH76 986 Polekhumri ประเทศอัฟกานิสถาน Herat ประเทศอัฟกานิสถาน
AH77 1,298 Djbulsarcj ประเทศอัฟกานิสถาน มารี ประเทศเติร์กเมนิสถาน
AH78 1,076 อาชกาบัต ประเทศเติร์กเมนิสถาน Kerman ประเทศอิหร่าน
AH81 1,143 Larsi ประเทศจอร์เจีย Aktau ประเทศคาซัคสถาน
AH82 1,261 พรมแดนระหว่างประเทศรัสเซียและประเทศจอร์เจีย Ivughli ประเทศอิหร่าน
AH83 172 Kazakh ประเทศอาเซอร์ไบจาน เยเรวาน ประเทศอาร์มีเนีย
AH84 1,188 Doğubeyazıt ประเทศตุรกี İçel ประเทศตุรกี
AH85 338 Refahiye ประเทศตุรกี Merzifon ประเทศตุรกี
AH86 247 Askale ประเทศตุรกี Trabzon ประเทศตุรกี
AH87 606 อังการา ประเทศตุรกี อิซมีร์ ประเทศตุรกี

ระยะทางแต่ละประเทศ แก้

โครงข่ายที่วางแผนไว้จะมีระยะทางทั้งหมด 140,479 กิโลเมตร (87,290 ไมล์)

ประเทศ ระยะทาง (กิโลเมตร) ระยะทาง (ไมล์)
  อัฟกานิสถาน 4,247 2,639
  อาร์มีเนีย 958 595
  อาเซอร์ไบจาน 1,442 896
  บังกลาเทศ 1,804 1,121
  ภูฏาน 1 0.621
  กัมพูชา 1,339 832
  จีน 25,579 15,894
  เกาหลีเหนือ 1,320 820
  จอร์เจีย 1,154 717
  ฮ่องกง ประเทศจีน 91 57
  อินเดีย 11,432 7,104
  อินโดนีเซีย 3,989 2,479
  อิหร่าน 11,152 6,930
  ญี่ปุ่น 1,200 746
  คาซัคสถาน 13,189 8,195
  คีร์กีซสถาน 1,695 1,053
  ลาว 2,297 1,427
  มาเลเซีย 4,006 2,489
  มองโกเลีย 4,286 2,663
  พม่า 3,003 1,866
  เนปาล 1,321 821
  ปากีสถาน 5,377 3,341
  ฟิลิปปินส์ 3,517 2,185
  เกาหลีใต้ 907 564
  รัสเซีย 16,869 10,482
  สิงคโปร์ 19 12
  ศรีลังกา 650 404
  ทาจิกิสถาน 1,925 1,196
  ไทย 5,112 3,176
  ตุรกี 5,254 3,265
  เติร์กเมนิสถาน 2,204 1,370
  อุซเบกิสถาน 2,966 1,843
  เวียดนาม 2,678 1,664

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Kamat, Rahul The Great Asian Highway, Project Monitor website, 31 January 2005. Retrieved 2009-05-05
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Newswire เก็บถาวร 2010-01-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Tourism Commission of the International Geographical Union website. Retrieved 2009-05-05;
  3. McCartan, Brian Roadblocks on the Great Asian Highway เก็บถาวร 2008-05-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Asia Times website, 23 January 2008. Retrieved 2009-05-05;
  4. ASEAN logistics network map. Nihon Bōeki Shinkōkai. (2nd ed.). Tokyo: JETRO. 2009. ISBN 4822410684. OCLC 434492237.{{cite book}}: CS1 maint: others (ลิงก์)
  5. Master plan on ASEAN connectivity (PDF). ASEAN. Public Outreach and Civil Society Division. [Jakarta, Indonesia]: [ASEAN Secretariat, Public Outreach and Civil Society Division]. December 2010. p. 12. ISBN 9786028411622. OCLC 775662227. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-07-06. สืบค้นเมื่อ 2018-01-12.{{cite book}}: CS1 maint: others (ลิงก์)
  6. 6.0 6.1 6.2 "Status of the Asian Highway in Member Countries | United Nations ESCAP". www.unescap.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-01-12.
  7. Master plan on ASEAN connectivity, 2025 (PDF). Jakarta. ISBN 9786026392022. OCLC 970396295. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-05-13. สืบค้นเมื่อ 2018-01-12.