ทัดดอกไม้ (อังกฤษ: Pterion) เป็นบริเวณของกะโหลกศีรษะที่บอบบางที่สุด อยู่ขอบหลังของข้อต่อสฟีโนพาไรทัลซูเจอร์ (sphenoparietal suture) ในระยะทารกบริเวณนี้จะเป็นแผ่นเนื้อเยื่อที่กระดูกยังไม่เจริญมาประสานกันเรียกว่า กระหม่อมสฟีนอยด์ หรือ กระหม่อมข้าง (sphenoidal fontanelle) และจะเกิดการสร้างกระดูกจนเป็นข้อต่อเมื่ออายุได้ 6-8 เดือนหลังคลอด

ทัดดอกไม้
(Pterion)
มุมมองด้านข้างของศีรษะ แสดงตำแหน่งของกะโหลกศีรษะสัมพันธ์กับผิวหนังด้านนอก (ทัดดอกไม้อยู่ตรงกลางภาพ)
มุมมองจากทางด้านข้างซ้ายของกะโหลกศีรษะของมนุษย์ (ลูกศรชี้จุดของสฟีโนพาไรทัลซูเจอร์ (sphenoparietal suture) ทัดดอกไม้จะอยู่ค่อนไปทางขวาของลูกศรเล็กน้อย))
ตัวระบุ
TA98A02.1.00.019
TA2421
FMA264720
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

ตำแหน่ง แก้

ทัดดอกไม้อยู่ด้านหลังประมาณ 3 เซนติเมตร และเหนือเล็กน้อยต่อระดับของส่วนยื่นกระดูกหน้าผากจดกระดูกโหนกแก้ม (zygomatic process of frontal bone)

บริเวณนี้เป็นที่บรรจบของกระดูก 4 ชิ้น ได้แก่

ความสำคัญทางคลินิก แก้

ทัดดอกไม้เป็นส่วนที่บอบบางที่สุดของกะโหลกศีรษะ เป็นบริเวณที่มีความสำคัญเพราะมีหลอดเลือดแดงมิดเดิลเมนินเจียล (middle meningeal artery) วิ่งอยู่ด้านในของกะโหลกศีรษะใต้ต่อทัดดอกไม้ หากมีการกระทบกระเทือนที่ทัดดอกไม้จะทำให้หลอดเลือดแดงนี้แตก และเกิดการตกเลือดเหนือเยื่อดูรา (epidural hematoma) ซึ่งอาจทำให้หมดสติได้

รากศัพท์ แก้

คำว่า ทัดดอกไม้ มีที่มาเนื่องจากเป็นบริเวณด้านข้างของศีรษะระหว่างหูกับขมับ เมื่อนำดอกไม้มาทัดหู กลีบของดอกไม้มักจะอยู่ชิดกับบริเวณนี้[1]

สำหรับภาษาอังกฤษ คำว่า pterion มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก pteron แปลว่า ปีก

ในตำนานเทพปกรณัมกรีก เฮอร์มีส (Hermes) เทพเจ้าผู้สื่อสารสามารถบินได้เนื่องจากมีรองเท้ามีปีก และมีปีกที่ติดอยู่บริเวณทัดดอกไม้

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้