ทะเลแบเร็นตส์

ทะเล

ทะเลแบเร็นตส์ (อังกฤษ: Barents Sea; นอร์เวย์: Barentshavet, ภาษานอร์เวย์: [ˈbɑ̀ːrəntsˌhɑːvə];[1] รัสเซีย: Баренцево море, อักษรโรมัน: Barentsevo More) เป็นทะเลชายอาณาเขตที่เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรอาร์กติก[2]ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศนอร์เวย์และประเทศรัสเซีย[3] เป็นทะเลที่มีไหล่ทวีป (continental shelf) ที่ค่อนข้างลึก (เฉลี่ยความลึกราว 230 เมตร และที่บริเวณที่ลึกที่สุดลึก 450 เมตร) โดยมีทะเลนอร์เวย์ทางตะวันตก เกาะสฟาลบาร์ของนอร์เวย์ทางตะวันตกเฉียงเหนือและเกาะฟรันซ์โจเซฟแลนด์ (Franz Josef Land) และเกาะโนวายาเซมลยา (Novaya Zemlya) ของรัสเซียทางตะวันออกเฉียงเหนือและทางตะวันออก เกาะโนวายาเซมลยาแยกทะเลคาราออกจากทะเลแบเร็นตส์ ทะเลนี้มีชื่อในยุคกลางเรียกว่า ทะเลมูร์มัน (Murman Sea) ส่วนชื่อของทะเลในปัจจุบันมาจากชื่อนักเดินเรือชาวดัตช์ชื่อวิลเลิม บาเรินตส์ (Willem Barentsz) ทะเลแบเร็นตส์เป็นแหล่งที่มีน้ำมันจากซากสัตว์ดึกดำบรรพ์[4]

ทะเลแบเร็นตส์
ที่ตั้งของทะเลแบเร็นตส์
ที่ตั้งมหาสมุทรอาร์กติก
พิกัด75°N 40°E / 75°N 40°E / 75; 40 (Barents Sea)พิกัดภูมิศาสตร์: 75°N 40°E / 75°N 40°E / 75; 40 (Barents Sea)
ชนิดทะเล
แหล่งน้ำไหลเข้าหลักทะเลนอร์เวย์, มหาสมุทรอาร์กติก
ประเทศในลุ่มน้ำนอร์เวย์และรัสเซีย
พื้นที่พื้นน้ำ1,400,000 ตารางกิโลเมตร (540,000 ตารางไมล์)
ความลึกโดยเฉลี่ย230 เมตร (750 ฟุต)
อ้างอิงInstitute of Marine Research, Norway

อ้างอิง แก้

  1. Berulfsen, Bjarne (1969). Norsk Uttaleordbok (ภาษานอร์เวย์). Oslo: H. Aschehoug & Co (W Nygaard). p. 37.
  2. John Wright (30 November 2001). The New York Times Almanac 2002. Psychology Press. p. 459. ISBN 978-1-57958-348-4. สืบค้นเมื่อ 29 November 2010.
  3. World Wildlife Fund, 2008.
  4. O. G. Austvik, 2006.

ข้อมูล แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้