ทะเลสาบโลนาร์ (อังกฤษ: Lonar Lake) หรือ หลุมอุกกาบาตโลนาร์ เป็นทะเลสาบน้ำเค็มและแอลคาไลน์ตั้งอยู่ในหมู่บ้านโลนาร์ อำเภอพุลธนา รัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย และเป็นแหล่งมรดกทางภูมิศาสตร์แห่งชาติ[2][3][4] ทะเลสาบโลนาร์เกิดขึ้นจากอุกกาบาตที่ตกลงมาเกิดเป็นหลุมบนพื้นโลกในสมัยไพลสโตซีน[5][6] เป็นหนึ่งในสี่หลุมอุกกาบาตที่เกิดจากการพุ่งชนความเร็วสูงพิเศษและชนิดหินบะซอลต์ทั่วโลกที่เป็นที่ค้นพบแล้ว อีกสามแห่งที่เหลืออยู่ในประเทศบราซิลตอนใต้[7] เส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยของทะเลสาบอยู่ที่ 1.2 กิโลเมตร (3,900 ฟุต) ขอบหลุมอุกกาบาตมีเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ 1.8 กิโลเมตร (5,900 ฟุต) โดยเฉลี่ย[8] ทะเลสาบโลนาร์ถือเป็นหลุมจากอุกกาบาตแห่งเดียวที่ค้นพบในเขตเดกกันแทรปส์ พื้นที่หินบะซอลต์ภูเขาไฟของอินเดีย[9]

ทะเลสาบโลนาร์
ทะเลสาบโลนาร์
ทะเลสาบโลนาร์ตั้งอยู่ในรัฐมหาราษฏระ
ทะเลสาบโลนาร์
ทะเลสาบโลนาร์
ทะเลสาบโลนาร์ตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
ทะเลสาบโลนาร์
ทะเลสาบโลนาร์
ที่ตั้งอำเภอพุลธนา รัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย
พิกัด19°58′30″N 76°30′27″E / 19.97500°N 76.50750°E / 19.97500; 76.50750
ชนิดทะเลสาบหลุมอุกกาบาต, น้ำเกลือ
ประเทศในลุ่มน้ำประเทศอินเดีย
ช่วงยาวที่สุด1,830 เมตร (6,000 ฟุต)
พื้นที่พื้นน้ำ1.13 ตารางกิโลเมตร (0.44 ตารางไมล์)
ความลึกโดยเฉลี่ย137 เมตร (449 ฟุต)
ความลึกสูงสุด150 เมตร (490 ฟุต)
เวลาพักน้ำIST
อ้างอิงearthobservatory.nasa.gov/images/8654/lonar-crater-india
ขึ้นเมื่อ22 กรกฎาคม 2020
เลขอ้างอิง2441[1]

สถาบันสมิธโซเนียน, กรมสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐ, สำนักงานสำรวจธรณีวิทยาแห่งอินเดีย, มหาวิทยาลัยสาคร และฟิซิเคิลรีเสิร์ชแลบอราทอรี (อะห์มดาบาด) ล้วนเคยทำการวิจัยอย่างละเอียดเกี่ยวกับทะเลสาบแห่งนี้[10][11] ในปี 2007 มีการค้นพบการตรึงไนโตรเจนภายในทะเลสาบ[12]

ในงานวิจัยปี 2019 ของไอไอทีบอมเบย์พบว่าแร่ธาตุที่พบในน้ำของทะเลสาบมีความใกล้เคียงกันมากกับหินดวงจันทร์ที่นำกลับมาในระหว่างโครงการอะพอลโล[13] ในปี 2020 ทะเลสาบได้รับการคุ้มครองเป็นแหล่งแรมซาร์[14]

นอกจากนี้ บริเวณโดยรอบของทะเลสาบยังเป็นที่ตั้งของศาสนสถานจำนวนหนึ่ง ส่วนใหญ่เป็นซากปรักหักพัง ในบรรดาศาสนสถานมีไทตยสุทันมนเทียร (Daitya Sudan temple) ซึ่งยังคงใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน เป็นมนเทียรสร้างขึ้นเพื่อเถลิงเกียรติพระวิษณุซึ่งมีชัยต่ออสูรขื่อ โลนาสูร (Lonasur) สร้างขึ้นด้วยสถาปัตยกรรมฮินดูยุคแรก[15] อายุราวราชวงศ์จาลุกยะ และจัดเป็นมนเทียรระดับเหมัทปันฐิ

อ้างอิง แก้

  1. "Lonar Lake". Ramsar Sites Information Service. สืบค้นเมื่อ 14 November 2020.
  2. "National Geological Monument, from Geological Survey of India website". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 July 2017. สืบค้นเมื่อ 23 May 2017.
  3. "Geo-Heritage Sites". pib.nic.in.
  4. national geo-heritage of India เก็บถาวร 2017-01-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, INTACH
  5. "Geology". Government of Maharashtra. Gazetteers Department. สืบค้นเมื่อ 8 September 2008.
  6. "Lonar Lake, Buldana District, Maharashtra". Geological Survey of India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 July 2009. สืบค้นเมื่อ 8 September 2008.
  7. Crósta, A.P.; Reimold, W.U.; Vasconcelos, M.A.R.; Hauser, N.; Oliveira, G.J.G.; Maziviero, M.V.; Góes, A.M. (April 2019). "Impact cratering: The South American record – Part 1". Geochemistry. 79 (1): 1–61. Bibcode:2019ChEG...79....1C. doi:10.1016/j.chemer.2018.06.001.
  8. Deshpande, Rashmi (3 December 2014). "The Meteor Mystery Behind Lonar Lake". National Geographic Traveller Idia. National Geographic Group. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 January 2015. สืบค้นเมื่อ 27 July 2015.
  9. Pittarello, L., A. P. Crosta, C. Kazzuo-Vieira, C. Koeberl, and T. Kenkmann (2010) Geology and impact features of Vargeao Dome, southern Brazil. Meteoritics & Planetary Science. vol. 47, no. 1, pp. 51–71.
  10. "Lonar". The Planetary and Space Science Center. University of New Brunswick. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 September 2015. สืบค้นเมื่อ 8 September 2008.
  11. Babar, Rohit. "Lonar, A Gem of Craters". Office of Space Science Education. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2003-05-19. สืบค้นเมื่อ 8 September 2008.
  12. Avinash A. Raut and Shyam S. Bajekal; Nitrogen Fixing Bacteria from Hypervelocity meteorite impact Lonar Crater; in Special Issue of Research Journal of Biotechnology; December 2008 and Avinash A. Raut and Shyam S. Bajekal; Nitrogen Fixing Actinomycetes from Saline Alkaline Environment of Lonar Lake: A Meteorite Impact Crater, in Journal of Environmental Research and Development, Vol. 3, No. 3, January–March 2009.
  13. "Mineral contents of Buldhana's Lonar lake similar to moon rocks: IIT-Bombay study". Hindustan Times. สืบค้นเมื่อ 25 March 2019.
  14. Vivek Deshpande (13 November 2020). "Lonar's meteor lake declared Ramsar site". The Indian Express.
  15. [1] Central Provinces Buldana district Gazetteer

แหล่งข้อมูลอื่น แก้