ทองเปลว ชลภูมิ (6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455 – 4 มีนาคม พ.ศ. 2492) เป็นนักการเมืองชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรี หนึ่งในสี่รัฐมนตรีที่ถูกสังหารเมื่อ พ.ศ. 2492[1][2][3] ซึ่งประกอบด้วย นายจำลอง ดาวเรือง, นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ และนายถวิล อุดล

ทองเปลว ชลภูมิ
รัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
23 สิงหาคม พ.ศ. 2489 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
นายกรัฐมนตรีพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรี
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2479 – พ.ศ. 2490
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455
เมืองสมุทรสงคราม ประเทศสยาม
เสียชีวิต4 มีนาคม พ.ศ. 2492 (37 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองแนวรัฐธรรมนูญ
คู่สมรสนิ่มนวล ชลภูมิ

เขาเป็นอดีตเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร[4] และอดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สิริอายุ 37 ปี[5]

ประวัติ แก้

ดร.ทองเปลว ชลภูมิ เกิดเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455 ที่อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ในครอบครัวที่มีอาชีพค้าขาย ในวัยเด็กจึงย้ายสถานที่เรียนไปหลายจังหวัดในเขตภาคกลาง ก่อนจะเดินทางเข้ากรุงเทพมหานคร ศึกษาต่อที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ จบการศึกษาในปี พ.ศ. 2472 จากนั้นจึงได้เข้าทำงาน แล้วเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนกฎหมายของนายปรีดี พนมยงค์ แล้วเป็นหนึ่งในลูกศิษย์ของนายปรีดี ในปี พ.ศ. 2474 ได้นำหนังสือ ทรัพยศาสตร์ มาตีพิมพ์เล่มใหม่อีกครั้ง และเข้าร่วมเป็นคณะราษฎรสายพลเรือน มีน้องชายชื่อ พายัพ ชลภูมิ ชีวิตสมรสของท่านนั้นมีภรรยาชื่อนางนิ่มนวล ชลภูมิ

งานการเมือง แก้

ดร.ทองเปลว ชลภูมิ ได้รับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเพิ่มเติม สิงหาคม พ.ศ. 2489 จังหวัดปราจีนบุรี[6] แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี ในคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 17 ของพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ และต่อมาได้เข้าร่วมกับพรรคแนวรัฐธรรมนูญ

การเสียชีวิต แก้

ดร.ทองเปลว ชลภูมิ ถูกจับกุมพร้อมกับ อดีตรัฐมนตรีอีสานอีก 3 คน คือ นายถวิล อุดล, นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ และนายจำลอง ดาวเรือง ถูกนำตัวไปสังหารที่บริเวณทุ่งบางเขน ถนนพหลโยธิน กิโลเมตรที่ 14 ในวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2492 โดย กรมตำรวจ ในเวลานั้นอ้างเหตุว่า มีโจรคอมมิวนิสต์มลายู มาชิงตัว 4 อดีตรัฐมนตรี และเกิดการต่อสู้ขึ้น จนทำให้ทั้ง 4 คน ถูกลูกหลงเสียชีวิตทั้งหมด แต่ไม่ใคร่จะมีใครเชื่อข้ออ้างดังกล่าวนัก เนื่องจากไม่มีตำรวจเสียชีวิตหรือบาดเจ็บแม้แต่รายเดียว

อ้างอิง แก้

  1. สถาบันพระปกเกล้า. นักการเมืองถิ่นจังหวัดแพร่ กรุงเทพ : สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2555
  2. "ดร.ทองเปลว ชลภูมิ : รัฐมนตรีผู้ถูกยิงทิ้ง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-27. สืบค้นเมื่อ 2020-08-06.
  3. การสังหาร 4 รัฐมนตรี: คดีการเมืองสะเทือนขวัญของไทย
  4. ทำเนียบเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
  5. เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
  6. สมาชิกผู้แทนราษฎร

แหล่งข้อมูลอื่น แก้