ทวี บุณยเกตุ

อดีตประธานรัฐสภาไทยและอดีตนายกรัฐมนตรีไทย

รองอำมาตย์โท ทวี บุณยเกตุ[1] ม.ป.ช. ท.จ.ว. ท.ม. อ.ป.ร. ๑ (10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2447 – 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514) อดีตนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 5 อดีตประธานรัฐสภาไทย หนึ่งในคณะราษฎรสายพลเรือน และขบวนการเสรีไทย ผู้ก่อตั้งคุรุสภา และเป็นผู้แต่งหนังสือเรื่อง พ่อสอนลูก

ทวี บุณยเกตุ
ทวี ใน พ.ศ. 2489
นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 5
ดำรงตำแหน่ง
31 สิงหาคม – 17 กันยายน พ.ศ. 2488
(0 ปี 17 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร
ก่อนหน้าควง อภัยวงศ์
ถัดไปหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ตำแหน่งรัฐมนตรี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 – 17 กันยายน พ.ศ. 2488
(1 ปี 47 วัน)
นายกรัฐมนตรีควง อภัยวงศ์
ตนเอง
ก่อนหน้าประยูร ภมรมนตรี
ถัดไปพระตีรณสารวิศวกรรม (ตรี ตีรณสาร)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
1 กันยายน พ.ศ.​ 2488 – 17 กันยายน พ.ศ.​ 2488
(0 ปี 16 วัน)
นายกรัฐมนตรีตนเอง
ก่อนหน้าศรีเสนา สมบัติศิริ
ถัดไปหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ
ดำรงตำแหน่ง
1 กันยายน พ.ศ.​ 2488 – 17 กันยายน พ.ศ.​ 2488
(0 ปี 16 วัน)
นายกรัฐมนตรีตนเอง
ก่อนหน้าหลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน)
ถัดไปพระยาอรรถการีย์นิพนธ์ (สิทธิ จุณณานนท์)
ดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม พ.ศ. 2489 – 23 สิงหาคม​ พ.ศ. 2489
(0 ปี 152 วัน)
นายกรัฐมนตรีปรีดี พนมยงค์
ก่อนหน้าพระยาอัชราชทรงสิริ (แม้น อรุณลักษณ์)
ถัดไปจรูญ สืบแสง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ดำรงตำแหน่ง
1 กันยายน พ.ศ.​ 2488 – 17 กันยายน พ.ศ.​ 2488
(0 ปี 16 วัน)
นายกรัฐมนตรีตนเอง
ก่อนหน้าหลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย)
ถัดไปอดุล อดุลเดชจรัส
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
19 กันยายน พ.ศ. 2488 – 31 มกราคม พ.ศ. 2489
(0 ปี 134 วัน)
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ก่อนหน้าหลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย)
ถัดไปศรีเสนา สมบัติศิริ
ประธานรัฐสภาไทย และ
ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ
ดำรงตำแหน่ง
8 พฤษภาคม พ.ศ. 2511 – 20 มิถุนายน พ.ศ. 2511
(0 ปี 43 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
นายกรัฐมนตรีถนอม กิตติขจร
ก่อนหน้าหลวงสุทธิสารรณกร (สุทธิ สุขะวาที)
ถัดไปนายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์)
เลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
25 พฤษภาคม พ.ศ. 2483 – 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486
(2 ปี 267 วัน)
นายกรัฐมนตรีแปลก พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าดิเรก ชัยนาม
ถัดไปไชย ประทีปะเสน
อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ดำรงตำแหน่ง
28 กันยายน พ.ศ. 2488 – 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2489
(0 ปี 220 วัน)
ก่อนหน้าหลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน)
ถัดไปหลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ (ทองดี เรศานนท์)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
ทวี

10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2447
เมืองตรัง ประเทศสยาม
เสียชีวิต3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 (66 ปี)
นครหลวงกรุงเทพธนบุรี ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองคณะราษฎร
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
เสรีไทย
คู่สมรสอำภาศรี เทพหัสดิน ณ อยุธยา
บุตร
  • วีระวัฒน์
  • ภัทรฤดี
บุพการี
  • พระยารณชัยชาญยุทธ์ (ถนอม บุณยเกตุ) (บิดา)
  • คุณหญิงรณชัยชาญยุทธ์ (ทับทิม บุณยเกตุ) (มารดา)
ศิษย์เก่าคิงส์คอลเลจ
มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
สถาบันวิชาการชั้นสูงแห่งชาติด้านการเกษตร ปารีส-กรีนย็อง

ประวัติ แก้

รองอำมาตย์โท ทวี บุณยเกตุ เป็นบุตรของพระยารณชัยชาญยุทธ์ (ถนอม บุณยเกตุ) กับคุณหญิงทับทิม รณชัยชาญยุทธ์ เกิดเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2447 เวลา 13.20 น. ที่อำเภอกันตัง (ขณะนั้นเป็นอำเภอเมืองตรัง) จังหวัดตรัง โดยชื่อ ทวี มาจากการที่บิดาและมารดาสมรสกันในวันพระราชพิธีทวีธาภิเศกในรัชกาลที่ 5 เมื่อเสร็จพระราชพิธีแล้ว บุคคลที่เข้าร่วมพระราชพิธีจึงมางานสมรสต่อโดยไม่ได้เปลี่ยนเสื้อผ้า แต่ติดเหรียญตราทวีธาภิเษกเข้าร่วมงานเลย

รองอำมาตย์โท ทวี บุณยเกตุ สมรสกับคุณหญิงอำภาศรี บุณยเกตุ มีบุตรด้วยกัน 2 คน ทั้งชายหญิง ได้แก่ วีระวัฒน์ บุณยเกตุ กับ ภัทรฤดี บุณยเกตุ และถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 ณ ที่กรุงเทพมหานคร สิริอายุได้ 66 ปี 358 วัน

การศึกษา แก้

การรับราชการ แก้

รองอำมาตย์โท ทวี บุณยเกตุ จบการศึกษาวิชากสิกรรมเมื่อ พ.ศ. 2468 และรับราชการที่กระทรวงเกษตราธิการ หน้าที่การงานก้าวหน้าขึ้นจนเป็นผู้ช่วยอธิบดีกรมประมง เมื่อ พ.ศ. 2478 จากนั้นย้ายมาเป็นผู้ช่วยเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเมื่อ พ.ศ. 2482 และขึ้นดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลของจอมพล แปลก พิบูลสงคราม เมื่อ พ.ศ. 2483

บทบาททางการเมือง แก้

คณะราษฎร แก้

ในระหว่างศึกษาที่ประเทศฝรั่งเศส ทวี บุณยเกตุ มีโอกาสได้พบปะกับผู้นำความคิดเรื่องการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เช่น ปรีดี พนมยงค์, ร.ท. แปลก ขีตตะสังคะ, ร.ท. ประยูร ภมรมนตรี, ร.ท. ทัศนัย มิตรภักดี จึงได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกคนหนึ่งของคณะราษฎร โดยผ่านการรับรองของ แนบ พหลโยธิน ที่ได้ติดตามดูพฤติกรรมของทวีมาระยะหนึ่งแล้ว โดยแนบเป็นผู้ที่ชักชวน และทวีก็ได้ตอบรับทันที

เมื่อเดินทางกลับสู่ประเทศสยาม ทวีเข้ารับราชการเป็นพนักงานบำรุงพันธุ์สัตว์ กระทรวงเกษตราธิการ ได้ชักชวนบุคคลต่าง ๆ เข้าร่วมกับคณะราษฎรอีกไม่ต่ำกว่า 10 คน อาทิ จรูญ สืบแสง, วิลาศ โอสถานนท์, น.ต. สินธุ์ กมลนาวิน เป็นต้น และในการประชุมวางแผนนั้นก็ได้ใช้บ้านพักของหลายคนสลับกันไป รวมถึงบ้านของทวีด้วย ซึ่งในการประชุมวางแผนครั้งสุดท้ายที่บ้านของ พ.อ. พระยาทรงสุรเดช ทวีได้เข้าร่วมด้วย

ต่อมาทวีต้องย้ายไปรับราชการที่อำเภอท่าพระ (ปัจจุบันคือ อำเภอเมืองขอนแก่น) จังหวัดขอนแก่น จึงไม่มีโอกาสได้ติดต่อกับคนอื่น ๆ แต่ได้ขอให้แนบเป็นผู้ส่งข่าวความคืบหน้า จนกระทั่งแนบได้ส่งโทรเลขความว่า "ส่งเงินวันที่ 16 นี้" ซึ่งเป็นรหัสอันหมายถึงจะลงมือปฏิบัติการในวันที่ 16 มิถุนายน ทวีจึงถือโอกาสลาราชการมายังจังหวัดพระนคร แต่ว่าการปฏิบัติการก็ได้เลื่อนต่อไปจนถึงวันที่ 24 มิถุนายน ทวีจึงขอลาต่ออีก 7 วัน

ในเช้าวันที่เปลี่ยนแปลงการปกครอง ในเวลา 01.00 น. ทวีได้เริ่มออกปฏิบัติการโดยการขับรถตระเวนไปตามสถานที่ต่าง ๆ ทั่วพระนคร พร้อมกับจรูญ สืบแสง เพื่อตรวจตราความเรียบร้อยของสถานที่ต่าง ๆ ตามแผน ก่อนจะไปสมทบกับกลุ่มของร้อยโทแปลก ทำการควบคุมค่ายทหารที่เขตบางซื่อ จนกระทั่งการเปลี่ยนแปลงการปกครองดำเนินไปจนสำเร็จโดยดี อีกทั้งก่อนหน้านั้นทวียังเป็นผู้ที่ปลอมลายเซ็นของ นายพลตำรวจโท พระยาอธิกรณ์ประกาศ อธิบดีกรมตำรวจ เพื่อเซ็นลงในใบอนุญาตให้พกอาวุธปืน ซึ่งได้ใช้เป็นอาวุธสำคัญในปฏิบัติการของคณะราษฎรสายพลเรือนด้วย[4]

การรับตำแหน่ง แก้

ในคณะรัฐมนตรีคณะที่ 1 ของไทย โดยพระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) เป็นนายกรัฐมนตรีไทย ทวีได้รับแต่งตั้งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการพิจารณาร่างเค้าโครงการเศรษฐกิจ พ.ศ. 2475 เป็นผู้หนึ่งที่มีแนวความคิดสอดคล้องกับปรีดี พนมยงค์ นอกจากนั้นยังสนิทสนมและได้รับความไว้วางใจจาก พ.ต. ควง อภัยวงศ์ อย่างมาก

ในช่วงรัฐบาลของจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ทวีและควง ได้รับเลือกเป็นประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2486 แต่เนื่องจากความขัดแย้งส่วนตัวกับจอมพลแปลก ซึ่งไม่ยอมลงนามรับสนองพระราชโองการ ทวีและควงจึงลาออกจากตำแหน่งทั้งคู่

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง พ.ต. ควง อภัยวงศ์ รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อจาก จอมพล ป. ทวีได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ[5] ในช่วงเวลานั้น ทวียังได้รับมอบอำนาจเป็นผู้สั่งการแทนนายกรัฐมนตรีในหลายโอกาส ทั้งยังเป็นผู้ลงนามรับสนองพระราชโองการในการประกาศพระราชโองการว่าสงครามกับสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกาเป็นโมฆะ เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2488

หลังจาก พ.ต. ควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2488 และอยู่ระหว่างรอ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เดินทางกลับจากสหรัฐอเมริกา ปรีดี พนมยงค์ ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ได้แต่งตั้งทวี บุณยเกตุ เป็นนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2488 และลาออกเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2488 ระยะเวลาในการบริหารประเทศของทวีจึงสั้นเพียง 18 วัน นับเป็นนายกรัฐมนตรีที่มีระยะเวลาดำรงตำแหน่งสั้นที่สุด

การเปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามเป็นประเทศไทย แก้

หลังจากที่จอมพล ป.พิบูลสงคราม เปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามเป็นไทย ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นายทวี บุณยเกตุ ได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2488 ให้เรียกชื่อประเทศว่า สยาม เช่นเดิม แต่เมื่อจอมพล ป. กลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490 จึงได้เปลี่ยนชื่อประเทศเป็น ประเทศไทย อีกครั้ง และใช้ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

ลี้ภัยออกนอกประเทศ แก้

วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 คณะทหารเข้ายึดอำนาจจากปกครองจากรัฐบาล พล.ร.ต. ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นายทวี บุณยเกตุ ได้ลี้ภัยออกนอกประเทศพร้อมกับภริยา ไปใช้ชีวิตที่ปีนัง ประเทศมาเลเซีย และเดินทางกลับประเทศไทยหลังจากจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก่อรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2500 โค่นล้มจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายทวีได้รับแต่งตั้งเป็นประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 ใช้เวลาร่างถึง 10 ปี

นายทวี บุณยเกตุ ได้ก่อตั้งมูลนิธิทางการศึกษาชื่อ มูลนิธิ ทวี บุณยเกตุ ซึ่งเคยช่วยเหลือสมาชิกคุรุสภา ผู้ประสบอัคคีภัยและภัยธรรมชาติ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ใช้ชื่อท่านเป็นห้องประชุม (ห้องประชุม ทวี บุณยเกตุ ชั้น 6 อาคารสำนักอธิการบดี)

อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แก้

นายทวี บุณยเกตุ ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ระหว่างปี พ.ศ. 2488 ถึงปี พ.ศ. 2489 นับเป็นคนที่ 2 ของมหาวิทยาลัย (ต่อจาก พลเรือเอกสินธุ์ กมลนาวิน)

ผลงานเขียน แก้

  • พ่อสอนลูก
  • การสังคม (พ.ศ. 2543)
  • การครองเรือน (พ.ศ. 2543)

เกียรติยศ แก้

ยศ แก้

  • รองอำมาตย์โท[6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

ลำดับสาแหรก แก้

อ้างอิง แก้

  1. ประวัติ ทวี บุณยเกตุ
  2. "ทวี บุณยเกตุ กับ ปรีดี พนมยงค์​ ในการรักษาเอกราชและประชาธิปไตยสมบูรณ์". สถาบันปรีดี พนมยงค์ PRIDI BANOMYONG INSTITUTE : Pridi.or.th. {{cite web}}: zero width space character ใน |title= ที่ตำแหน่ง 31 (help)
  3. "นายทวี บุณยเกตุ" ประวัติกระทรวงเกษตร พิมพ์แจกเป็นที่ระลึกในวันเปิดที่ทำการใหม่ วันที่ 1 เมษายน 2500 โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม 2499.. archives.psd.ku.ac.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-01. สืบค้นเมื่อ 2023-09-07. {{cite web}}: |first= ไม่มี |last= (help); |script-title=: missing prefix (help)
  4. นายหนหวย. เจ้าฟ้าประชาธิปกราชันผู้นิราศ. กรุงเทพฯ : พิมพ์จำหน่ายด้วยตัวเอง, 2530. 704 หน้า. หน้า 237.
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๒ ราย)
  6. "เกียรติยศรองอำมาตย์โท" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-08-01. สืบค้นเมื่อ 2018-08-01.
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๗, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๐๒
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-07-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๓๙ ง หน้า ๑๔๐๑, ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๐๘
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๔๔, ๑๘ กันยายน ๒๔๘๔
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๓ ตอนที่ ๑๗ ง หน้า ๔๒๖, ๒๖ มีนาคม ๒๔๘๙

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

ก่อนหน้า ทวี บุณยเกตุ ถัดไป
ควง อภัยวงศ์    
นายกรัฐมนตรีไทย
(31 สิงหาคม พ.ศ. 248817 กันยายน พ.ศ. 2488)
  หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช
หลวงสุทธิสารรณกร
(สุทธิ สุขะวาที)
   
ประธานรัฐสภาไทย
(8 พฤษภาคม พ.ศ. 251120 มิถุนายน พ.ศ. 2511)
  นายวรการบัญชา
(บุญเกิด สุตันตานนท์)
ประยูร ภมรมนตรี    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
(พ.ศ. 2487พ.ศ. 2488)
  พระตีรณสารวิศวกรรม
(ตรี ตีรณสาร)
หลวงศุภชลาศัย
(บุง ศุภชลาศัย)
   
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
(1 กันยายน พ.ศ. 248817 กันยายน พ.ศ. 2488)
  อดุล อดุลเดชจรัส
หลวงศุภชลาศัย
(บุง ศุภชลาศัย)
   
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
(19 กันยายน พ.ศ. 248831 มกราคม พ.ศ. 2489)
  พระยาศรีเสนา
(ฮะ สมบัติศิริ)
หลวงสินธุสงครามชัย
(สินธุ์ กมลนาวิน)
   
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ
(31 สิงหาคม พ.ศ. 248817 กันยายน พ.ศ. 2488)
  พระยาอรรถการีย์นิพนธ์
(สิทธิ จุณณานนท์)
ดิเรก ชัยนาม    
เลขาธิการคณะรัฐมนตรี
(25 พฤษภาคม พ.ศ. 248316 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486)
  ไชย ประทีปะเสน
หลวงสินธุสงครามชัย
(สินธุ์ กมลนาวิน)
   
อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
(พ.ศ. 2488พ.ศ. 2489)
  หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ
(ทองดี เรศานนท์)