ทรายดำ (อังกฤษ: black sand) เป็นตะกอนเม็ดทรายสีดำที่พบสะสมตัวบริเวณชายหาด ที่มีการสะสมตัวของเม็ดทรายสีดำที่มีความทนทานต่อการผุพังสลายตัว และมีความหนาแน่นมากกว่าแร่ควอตซ์ เป็นชายหาดที่มีกำลังคลื่นมากเพียงพอที่จะพัดพาเอาวัตถุที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าออกไป โดยที่วัตถุที่มีความหนาแน่มากกว่าจะถูกพัดพาออกไปได้ช้ากว่าหรือยังคงตกสะสมตัวอยู่กับที่ สะสมตัวจนเกิดเป็นชายหาดที่มีทรายสีดำสะสมตัวเป็นหลัก หาดทรายดำอาจเกิดจากการตกสะสมตะกอนที่แตกหักมาจากหินต้นกำเนิด แล้วถูกพัดพาไปสะสมตัวบริเวณชายหาด (placer deposit) หรืออาจเกิดจากการที่ลาวาร้อนไหลลงไปสัมผัสกับน้ำทะเลอย่างฉับพลัน จนทำให้เกิดการระเบิดอย่างรุนแรง (steam explosion หรือ littoral explosion) ทำให้เกิดเม็ดทรายและถูกพัดพาไปสะสมตัวเป็นหาดทรายสีดำ

ภาพระยะใกล้ของทรายดำจากชายหาดในเกาะเมาวี ฮาวาย

การสะสมตะกอนแบบเพลเซอร์ แก้

 
แม่เหล็กสำหรับแยกทรายดำด้วยมือ

ทรายดำจะถูกใช้โดยชาวเหมืองและนักสำรวจในการบ่งชี้การปรากฏของแหล่งเพลเซอร์ การทำเหมืองเพลเซอร์จะผลิตทรายดำเข้มข้นล้วน ๆ ซึ่งปรกติจะมีสิ่งมีค่าที่ไม่ใช่โลหะมีค่า อย่างเช่นธาตุหายาก (rare earth elements) ทอเรียม ไททาเนียม ทังสเตน เซอร์โคเนียม และอื่น ๆ ซึ่งปรกติจะเกิดจากการแยกตัวออกมาจากกระบวนการแยกส่วนทางอัคนีไปเป็นแร่ธรรมดา ๆ ที่จะกลายเป็นทรายดำหลังจากการผุพังและกัดกร่อน

เพชรพลอยหลายชนิดอย่างเช่นการ์เนต โทแพซ ทับทิม แซฟไฟร์ และเพชรถูกพบในเพลเซอร์และในช่วงที่ดำเนินการทำเหมืองเพลเซอร์ เม็ดทรายของเพชรพลอยเหล่านี้ก็อาจถูกพบในทรายดำ การ์เนตสีบานเย็นหรือสีทับทิมมักพบบนพื้นผิวลูกคลื่นที่สะสมตัวเป็นเพลเซอร์บริเวณชายหาดทะเล

เศษตะกอนจากลาวา แก้

ลาวาจากการปะทุไหลเอ่อลงไปบนพื้นทะเลตื้น ๆ หรือไหลจากผืนดินลงไปในทะเลอาจเกิดการเย็นตัวลงอย่างรวดเร็วจนเกิดการระเบิดแตกออกเป็นเศษชิ้นตะกอนของหินเล็ก ๆ (littoral explosion หรือ steam explosion) ผลก็คือเกิดเศษชิ้นตะกอนหินภูเขาไฟขนาดเท่าเม็ดทรายจำนวนมหาศาลของหินบะซอลต์ที่มีองค์ประกอบของแร่เหล็กสูงและมีแร่ซิลิกาต่ำ เมื่อเกิดการผุพังก็ยังคงมีสีดำของแร่หนักทำให้คลื่นชายฝั่งพัดพาเอาตะกอนที่เบากว่าออกไปโดยทิ้งไว้เฉพาะทรายดำที่มีน้ำหนักมากกว่า หาดทรายดำที่มีชื่อเสียงของฮาวายอย่างเช่น หาดทรายดำ Punaluu ซึ่งเกิดขึ้นอย่างทันทีทันใดโดยปฏิสัมพันธ์อย่างรุนแรงระหว่างลาวาร้อนกับน้ำทะเล

ทรายดำบริเวณชายหาดด้านตะวันตกของเกาะเหนือหลายแห่งในประเทศนิวซีแลนด์มีคุณสมบัติดูดติดกับแม่เหล็กได้ ทรายเหล่านี้เกิดจากการผุพังจากหินภูเขาไฟ Taranaki และแถบพื้นที่ Taupo แล้วถูกพัดพาไปกับแม่น้ำลงทะเลสะสมตัวบริเวณชายหาดและก้นทะเล ทรายเหล่านี้ประกอบไปด้วยแร่เหล็ก (magnetite และ hematite) ไททาเนียม และวานาเดียม ทรายเหล่านี้ถือว่ามีองค์ประกอบของแร่เหล็กสูงถึง 20–25% โดยน้ำเหล็ก โดยมีแร่หลักเป็น titanomagnetite ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มแร่สปิเนลประกอบด้วย magnetite (Fe3O4) และ ulvospinel (Fe2TiO4)[1][2][3]

หาดทรายดำบนชายหาดแคบ ๆ แห่งหนึ่งใกล้เมือง Westpoint บนชายฝั่งด้านตะวันตกของเกาะใต้ในประเทศนิวซีแลนด์อุดมไปด้วยแร่ อิลเมไนต์ (ilmenite – iron titanium oxide: FeTiO3) ซึ่งถูกพัดพามาโดยแม่น้ำและสะสมตัวเป็นชายหาด แต่ปริมาณของแร่อิลเมไนต์บนชายหาดและลานตะพักที่สูงขึ้นไปจะมีปริมาณไม่คุ้มค่าในการทำเหมืองเพื่อทำการแยกธาตุไททาเนียม[4]

อย่างไรก็ตามทรายดำจากหาด Boracay ในจังหวัด Cagayan บนเกาะลูซอน ของประเทศฟิลิปปินส์ เป็นทรายดำที่มีสินแร่ magnetite ถึง 70% ซึ่งมีชาวเกาหลีใต้เข้าไปดำเนินการขุดตักส่งกลับเกาหลีใต้ ผลการตักทรายดำทำให้น้ำทะเลหนุนเข้าไปในพื้นที่กสิกรรมสร้างความเดือดร้อนจนประชาชนในท้องที่มีท่าทีคัดค้าน[5]

แหล่งหาดทรายดำของโลก แก้

หาดทรายดำเกิดขึ้นได้ทั่วไปบริเวณที่มีการระเบิดของภูเขาไฟหรือมีแหล่งหินภูเขาไฟใกล้บริเวณชายหาด พบในหลายประเทศทั่วโลกซึ่งมักจะพบสัมพันธ์กับแนวตะเข็บรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกที่มีการประทุของภูเขาไฟรวมถึงเกาะภูเขาไฟต่าง ๆ ในมหาสมุทรด้วย ดังตัวอย่างต่อไปนี้

หาดทรายดำในประเทศไทย แก้

 
หาดทรายดำบริเวณชายฝั่งด้านตะวันออกของอำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด
 
พื้นที่ป่าชายเลน (สถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 4 (น้ำเชี่ยว ตราด) ที่อยู่ติดกับแนวหาดทรายดำถูกคลื่นทะเลซัดหอบเอาทรายดำไปสะสมตัวหนาและมีความกว้างประมาณ 2–4 เมตรตลอดแนวหาดทรายดำนี้
 
รูปถ่ายภายใต้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราดของเม็ดทรายดำจากอำเภอแหลมงอบ
 
หินโผล่ของหินเชิร์ตบริเวณชายฝั่งทะเลแหลมงอบ (ถ่ายภาพช่วงน้ำลง) ที่แผ่ออกไปในทะเลเป็นแนวหินโสโครกและมีเศษหินแตกหักเกลื่อนพื้นท้องทะเลที่เข้าใจว่าเป็นหินต้นกำเนิดของแร่เฟอริฮายไดรต์และตะกอนทรายซิลิกาที่มีแร่เกอไทต์พอกอยู่เป็นตะกอนทรายดำ

สำหรับในประเทศไทยมีการพบหาดทรายดำบริเวณแนวชายฝั่งจากบ้านยายม่อมต่อเนื่องไปทางทิศตะวันออกไปเป็นระยะทางประมาณ 900 เมตรอยู่ในเขตสถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 4 (น้ำเชี่ยว ตราด) อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด ที่พบตะกอนทรายดำสะสมตัวอยู่บนพื้นโคลนชายฝั่งทะเลทั้งนอกชายฝั่งออกไปและในเขตพื้นที่ป่าชายเลน

ในปี พ.ศ. 2553 วิฆเนศ ทรงธรรม และคณะ[50] และ เจนจิรา สระทองยุ้ง[51] ได้รายงานผลการศึกษาวิจัยการสะสมตัวของทรายดำที่อำเภอแหลมงอบ ด้วยการเก็บตัวอย่างทรายดำและทำการร่อนคัดแยกขนาดของเม็ดตะกอนและศึกษารูปร่างและขนาดของเม็ดตะกอนด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด พบว่าเม็ดทรายส่วนใหญ่มีขนาดทรายละเอียดและมีรูปร่างเป็นทรงกลมถึงรูปร่างทรงไข่ มีพื้นผิวตะกอนเรียบ จากผลการวิเคราะห์ด้วย XRD ของตะกอนทรายดำพบว่ามีองค์ประกอบเป็นแร่เหล็กออกไซด์ชนิดเกอไทต์ (Goethite, FeO(OH))และแร่ควอตซ์ (SiO2) จากการศึกษาตัวอย่างหินโผล่ใต้ทะเลใกล้ชายฝั่งที่คาดว่าจะเป็นหินต้นกำเนิดทรายดำจากแผ่นหินบางด้วยกล้องจุลทรรศน์พบว่าส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยผลึกของแร่ควอตซ์ขนาดจุลทั้งชนิดปฐมภูมิและทุติยภูมิและมีร่องรอยของเหล็กออกไซด์ทุติยภูมิ จากการวิเคราะห์ตัวอย่างหินหาองค์ประกอบทางเคมีด้วยเครื่อง XRF พบว่าหินประกอบไปด้วยซิลิกาถึงร้อยละ 96 และมีเหล็กออกไซด์ปะปนอยู่ร้อยละ 1.93 กล่าวได้ว่าตัวอย่างหินนั้นเป็นหินเชิร์ต

พบรูปแบบการตกสะสมตะกอนในพื้นที่ระหว่างแนวหินโสโครกกับแนวชายฝั่ง แบ่งออกได้เป็น 4 โซนเรียงลำดับจากแนวหินโสโครกถึงแนวชายฝั่งป่าชายเลนคือ โซนเศษตะกอนแตกหัก โซนตะกอนลูกรังสีน้ำตาลเหลือง โซนทรายดำบนพื้นโคลนชายฝั่ง และโซนทรายดำในป่าชายเลน จากรูปแบบการตกสะสมตะกอนนี้และจากผลการวิเคราะห์ตัวอย่างหินและตะกอนทรายดำแปลความหมายได้ว่า ในช่วงแรกเหล็กจะละลายออกมาจากหินเชิร์ตก่อน เกิดเป็นผลผลิตจากการผุพังที่มีเหล็กเป็นองค์ประกอบ แล้วต่อมาเกิดการตกสะสมตัวเป็นแร่เฟอริฮายไดรต์ (Ferrihydrite, 5Fe2O3.9H2O) และ/หรือแร่วัสไทต์ (Wustite, FeO) แล้วท้ายที่สุดก็เกิดการผุพังกลายเป็นทรายซิลิกาที่มีแร่เหล็กเกอไทต์พอกตัวอยู่เป็นตะกอนรูปทรงกลมถึงรูปทรงไข่ การผุพังสลายตัวของแนวหินโสโครกนี้ เกิดจากคลื่นทะเลที่พัดไปในทิศทางตะวันออกเฉียงเหนือ ควบคู่ไปกับอิทธิพลของน้ำขึ้นน้ำลงได้พัดพาเอาตะกอนทรายดำไปตกสะสมตัวเป็นชั้นบาง ๆ บริเวณพื้นโคลนชายฝั่ง แล้วบางส่วนถูกพัดพาต่อเนื่องไปสะสมตัวเป็นชั้นตะกอนทรายดำที่หนากว่าที่บริเวณขอบแนวป่าชายเลนใต้ต้นโกงกางเป็นระยะทางประมาณ 900 เมตร และกว้างประมาณ 2–4 เมตร

หาดทรายดำที่แหลมงอบถือเป็นชนิดใหม่ที่ยังไม่เคยมีรายงานการค้นพบมาก่อน กล่าวคือไม่ได้เป็นชนิดที่ตกสะสมตัวแบบเพลเซอร์ และไม่ได้เป็นชนิดที่เกิดจากการระเบิดของลาวาร้อนเมื่อไหลไปสัมผัสกับน้ำทะเล แต่เป็นชนิดที่เกิดจากการผุพังทางเคมีจากหินที่มีแร่เหล็กเป็นองค์ประกอบ โดยมีปฏิกิริยาการพอกตัวของแร่เหล็กชนิดเกอไทต์ลงบนพื้นผิวของตะกอนทรายซิลิกาขนาดละเอียด เกิดเป็นตะกอนทรายสีดำแกมน้ำตาลที่มีรูปทรงกลมมน

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Lyn Topinka, บ.ก. (2 กรกฎาคม 2009). "DESCRIPTION: Magma, Lava, Lava Flows, Lava Lakes, etc". USGS. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 พฤษภาคม 2009. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2009.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  2. "Black Sand". USGS. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 มกราคม 2017. สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2009.
  3. "What are iron sands ?". Trans-Tasman Resources. 13 พฤษภาคม 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 พฤษภาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2009.
  4. Simon Nathan (12 มิถุนายน 2006). "Page 3. Metals known but not mined". Story: Mining and underground resources. Te Ara - the Encyclopedia of New Zealand.
  5. "Call for protest: "South Koreans illegally mining (Philippine) beaches."". Rose Margaret Galang-Monis. 4 มิถุนายน 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 ตุลาคม 2013.
  6. "Monterrico, Guatemala Photo Gallery". About.com – Central America Travel. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-13. สืบค้นเมื่อ 2009-09-05.
  7. Dan (28 กรกฎาคม 2007). "More On Black Sand Beach and Its Environment". Dominica Weekly.
  8. "Cabinas Black Sands Beach House, Puerto Viejo, Costa Rica". 26 มีนาคม 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 มีนาคม 2009. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2009.
  9. smhirsch (17 มิถุนายน 2006). "Pacific Coast, sailing, snorkeling". TravBuddy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 ตุลาคม 2009. สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2009.
  10. "St.Kitts Volcanic Black Sand". TradeKey.com. 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 กันยายน 2012.
  11. "Playa Negrita / Black Sand Beach, Vieques Island, Puerto Rico". Vieques Travel Guide.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 พฤษภาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2009.
  12. Lukas Hlavac. "Black sand beach on Isla de Ometepe, Nicaragua". fotolia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 กรกฎาคม 2012.
  13. Philippe Gelaude (14 พฤษภาคม 2007). "Anse Céron". TrekEarth. MH Sub I.
  14. Jesse Marks; Jonah Marks (2020). "Black Sand Beach – Vila do Abraão, Brazil". The Touch of Sound.
  15. "Black Beach - Floreana, Galapagos Islands". Dana Tours.
  16. Ellen. "Playa El Tunco". TravelBlog.
  17. "Playa grande de Pucón". Turismo Pucón.
  18. QT Luong (2003). "Kayaking gear on Black Sand Beach. Prince William Sound, Alaska, USA". terragalleria.com.
  19. "US Beaches > Alaska > Black Sand Beach". goingoutside.com. Stratus-Pikpuk.
  20. QT Luong (2004). "Backpacking on black sand beach, Lost Coast. California, USA". terragalleria.com.
  21. Clark, J.R.K. (กันยายน 1985). Beaches of the Big Island. University of Hawaii Press. 186 หน้า. ISBN 978-0-8248-0976-8.
  22. "Oneuli Black Sand Beach". Maui Guidebook.com.
  23. "Honokalani Black Sand Beach". johnandkristie.com. 9 กันยายน 2007.
  24. "Wai'anapanapa Black Sand Beach". To-Hawaii.com.
  25. Ash Grant (12 พฤศจิกายน 2008). "Top 10 Black Sand Beaches". TopTenz.
  26. "Jacmel Guide Overview". Professional Travel Guide. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 สิงหาคม 2009. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2009.
  27. "Tahiti and French Polynesia - Black Sand Beach". About.com – Cruises. 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 กรกฎาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2009.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  28. "Pagan, black sand beaches, Northern Marianas Islands (uninhabited)". Panoramio. 15 กรกฎาคม 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 ตุลาคม 2009. สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2009.
  29. Lauren Hertel (9 ตุลาคม 2006). "Black sand beach in Kamchatka last week".
  30. CatLever (3 สิงหาคม 2009). "Jeju city beaches offer easy escape". The Jeju Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 ธันวาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2009.
  31. "Black Sand Beach in Minami-Hyuga". Traveljournals.net. 17 กันยายน 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 เมษายน 2009. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2009.
  32. "Jici beach". Beach-on-Map.com. สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2022.
  33. "Albay Black Sand Beaches". Province of Albay. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 มิถุนายน 2009. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2009.
  34. "Top 5 Black Sand Beaches in the Philippines". The Philippines Tourism Board.
  35. "Ajuy, Fuerteventura". Sunny Fuerteventura. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 มกราคม 2009. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2009.
  36. "Black Sandy Beach That Stores Memories, Kusamba Klungkung Beach". Visit Bali.
  37. "Soka Beach: The Hiddden Beauty In Tabanan". Visit Bali.
  38. Irianti 2525. "Kukup Beach Yogyakarta". Trip.com. สืบค้นเมื่อ 27 October 2022.
  39. Ibrahim, N. (เมษายน 1994). "Isotope identification of Langkawi black sand using neutron activation analysis". Journal of Radioanalytical and Nuclear Chemistry. 186 (6): 489–494.
  40. "หาดทรายดำ (Black sand beach)". ชมรมครูกระโจมทอง จังหวัดตราด. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 เมษายน 2001. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2001.
  41. Briggs, R.M., Laurent, J.C., Hume, T.M., and Swales, A. (2009). "Provenance of black sands on the west coast, North Island, New Zealand". AusIMM New Zealand Branch Annual Conference. pp. 41–50.
  42. "Perissa Beach". GreekLandscapes.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2010. สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2009.
  43. Dorcadion Team (29 มิถุนายน 2009). "The Black Sand Beach / La Spiaggia Sabbia Nera at Vulcano Island (Aeolian Islands, Sicily)". Waymarking.com.
  44. Roy McGrail (29 มิถุนายน 2006). "Black sands - Azores". flickr.
  45. Hélder Cotrim (11 มิถุนายน 2008). "Praia de Seixal. Madeira, Costa Norte". flickr.
  46. "Los Gigantes, Puerto de Santiago & Playa de la Arena". Canary Islands Hotels. 25 สิงหาคม 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 ตุลาคม 2009. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2009.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  47. "Black sand beach in Iceland near Vik". Rhett Butler. 2006.
  48. sixthland (2 เมษายน 2008). "Black sand at São Filipe, Fogo". flickr.
  49. R A Ford (28 ธันวาคม 2006). "Deception Island". Blogging Antarctica.
  50. วิฆเนศ ทรงธรรม; เจนจิรา สระทองยุ้ง; สุจินตนา ชมพูศรี; Dallas C. Mildenhall; สุชาดา ศรีไพโรจน์ธิกูล; เสาวนีย์ เสียมไหม; เบญจมา คมวงษ์เทพ; จงกลณี ขันมณี (2010). การกำเนิดหาดทรายดำ อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด. กรมทรัพยากรธรณี. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-27. สืบค้นเมื่อ 2022-10-27. 48 หน้า.
  51. เจนจิรา สระทองยุ้ง (2553). การวิเคราะห์ตะกอนวิทยาและธรณีเคมี เพื่อเปรียบเทียบหาแหล่งกำเนิดและหาทิศทางการสะสมตะกอนของหาดทรายดำ อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด. โครงงานทางธรณีศาสตร์ สาขาวิชาธรณีศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

บรรณานุกรม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  •   วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ทรายดำ