ทรัพยากรธรรมชาติในประเทศไทย

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติอยู่อย่างมากมาย และยังมีความอุดมสมบูรณ์อยู่ แบ่งออกเป็น ทรัพยากรดิน ทรัพยากรป่าไม้ ทรัพยากรน้ำ และทรัพยากรแร่ธาตุ

ทรัพยากรดิน แก้

ดินที่ปรากฏในภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย แบ่งได้ 4 ชนิด[1] ได้แก่ ดินเหนียว ดินร่วน ดินทราย และดินอินทรีย์

  • ดินเหนียว: พบได้ทั่วไปในบริเวณที่ราบของแม่น้ำสายต่าง ๆ ซึ่งมีลักษณะเป็นที่ราบน้ำท่วมถึง ที่ราบปากแม่น้ำ ในภาคเหนือพบบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบได้ในบริเวณแอ่งโคราช ภาคตะวันออกพบบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำบางปะกง ภาคตะวันตกพบบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำแม่กลอง และภาคใต้พบบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำตาปี ปากพนัง ดินเหนียวมีลักษณะเป็นเนื้อละเอียด ขยายและหดตัวได้สูง จึงสามารถแตกระแหงได้โดยเฉพาะในฤดูแล้ง เหมาะแก่การปลูกข้าว ปอกระเจา เป็นต้น
  • ดินร่วน: พบได้ทั่วไปในภูมิประเทศที่เป็นที่ดิน โคก เนิน โนน ซึ่งเป็นตะพักลำน้ำของแม่น้ำ ดินชนิดนี้พบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลางตอนบน และภาคเหนือ ดินร่วนประกอบด้วยดินเหนียวและดินทราย เหมาะแก่การปลูกพืชไร่ เช่น ข้าวโพด ทานตะวัน อ้อย มันสำปะหลัง เป็นต้น
  • ดินทราย: พบบริเวณเชิงเขา ชายฝั่งทะเล และริมฝั่งแม่น้ำ พบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดินจะประกอบด้วยทรายมากเนื่องจากเป็นดินที่เกิดใหม่ เหมาะแก่การปลูกป่าและพืชสวน
  • ดินอินทรีย์: พบในพื้นที่ที่เคยเป็นป่าชายเลนเก่า ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็นพื้นที่ราบลุ่มอยู่ในแผ่นดิน โดยจะเรียกพื้นที่ลักษณะนี้ว่า "พรุ" ดินชนิดนี้พบได้ใน ป่าพรุสิรินธร จังหวัดนราธิวาส เป็นต้น ดินอินทรีย์ประกอบด้วยซากพืชและสัตว์ที่เน่าเปื่อยย่อยสลายแล้ว เป็นวัตถุสะสมอยู่ในดินชั้นบน

ทรัพยากรป่าไม้ แก้

ในประเทศไทยมีป่าไม้กระจายอยู่ทั่วประเทศ มีลักษณะแตกต่างกันตามภูมิประเทศและภูมิอากาศ แบ่งได้ 2 ประเภท[1] ได้แก่ ป่าผลัดใบ และป่าไม่ผลัดใบ

ทรัพยากรน้ำ แก้

 
แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำสายใหญ่ไหลผ่านภาคกลางของประเทศไทย
 
เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก

ประเทศไทยเป็นประเทศที่ต้องมีการจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการเกษตร แหล่งน้ำสำคัญในประเทศไทยมี 2 แหล่ง[1] ได้แก่ จากน้ำผิวดินและน้ำบาดาล

  • น้ำผิวดิน: ได้แก่ ห้วย หนอง คลอง บึง แม่น้ำ อ่างเก็บน้ำ เขื่อน ประเทศไทยมีแม่น้ำที่สำคัญที่สุดคือ แม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ของประเทศหล่อเลี้ยงพื้นที่ราบใหญ่ทางตอนกลางของประเทศ นอกจากนี้ยังมีแม่น้ำสำคัญตามภาคเช่น แม่น้ำปิง วัง ยม น่าน ในภาคเหนือ แม่น้ำมูล ชี ในภาคอีสาน แม่น้ำแม่กลองในภาคตะวันตก แม่น้ำตาปี ในภาคใต้
  • น้ำบาดาล: ในประเทศไทยน้ำบาดาลในแหล่งต่าง ๆ ถูกนำมาใช้มาก เนื่องจากการขาดแคลนน้ำผิวดินและมีโครงข่ายน้ำประปาไม่ทั่วถึง เช่น หมู่บ้านจัดสรร โรงงานอุตสาหกรรม จนเกิดปัญหาการทรุดตัวของแผ่นดิน เช่น บริเวณเขตปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร เช่น พื้นที่เขตบางนา ลาดกระบัง หนองจอก มีนบุรี จังหวัดสมุทรปราการและปทุมธานี

ทรัพยากรแร่ธาตุ แก้

ประเทศไทยมีทรัพยากรแร่ธาตุมากมายหลายชนิดทั้งแร่โลหะ แร่อโลหะ แร่เชื้อเพลิง กัมมันตภาพรังสีและแร่รัตนชาติ มีการขุดขึ้นมาใช้ตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน แร่ที่สำคัญในประเทศไทยแยกตามชนิด ดังนี้

แร่โลหะ แก้

แร่ แหล่งผลิตแร่ที่สำคัญ
เหล็ก[2] นครสวรรค์ (หัวหวาย อ. ตาคลี) ลพบุรี (เขาทับควาย อ. โคกสำโรง) ชลบุรี (เขาชีโอน-ชีจัน อ. สัตหีบ) นครศรีธรรมราช (อ. ท่าศาลา) เลย (แหล่งภูยาง ภูเหล็ก ภูเฮี้ยะ อ. เชียงคาน, แหล่งภูอ่าง อ. เมือง) กาญจนบุรี (แหล่งอึมครึม อ.บ่อพลอย) ฉะเชิงเทรา (แหล่งหนองบอน อ. บางคล้า) เชียงใหม่ (แหล่งแม่โถ อ. แม่แจ่ม) ลำปาง (แหล่งเถิน อ. เถิน) เพชรบูรณ์ (แหล่งซับไม้แดง เขาเหล็ก อ. หนองไผ่) ชลบุรี (แหล่งปรกฟ้า อ. บ้านบึง) กระบี่ (แหล่งเกาะม่วง-เกาะเหล็ก อ. เกาะลันตา)
ทองแดง[3] เลย (บริเวณหินเหล็กไฟ-ภูทองแดง อ.เมือง, อ. เชียงคาน, อ.ท่าลี่) ขอนแก่น (บริเวณช่องเขาประตูตีหมา อ.ภูเวียง) หนองคาย (ภูโล้น อ.สังคม) เพชรบูรณ์ ฉะเชิงเทรา กาญจนบุรี นครราชสีมา (บริเวณจันทึก อ.ปากช่อง) อุตรดิตถ์ (บริเวณน้ำตรอน-น้ำสุ่ม อ.น้ำปาด, อ.ฟากท่า) แพร่ น่าน ลำพูน ลำปาง ตาก ลพบุรี
บอกไซด์ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช
ดีบุก ภูเก็ต พังงา ตรัง สงขลา ระนอง แม่ฮ่องสอน เชียงราย ลำปาง สุโขทัย กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์
ทังสเตน ยะลา กาญจนบุรี เพชรบุรี เชียงใหม่ เชียงราย นครศรีธรรมราช
แทนทาลัม ระนอง พังงา ภูเก็ต
ทองคำ[4] อุดรธานี (ตอนเหนือ) หนองคาย (อ.สังคม) เลย (อ.เมือง, อ.เชียงคาน, อ.วังสพุงอ. ปากชม) สระแก้ว (อ. กบินทร์บุรี ปราจีนบุรี (อ. วัฒนานคร) สุโขทัย (อ. ศรีสัขนาลัย, อ. ทุ่งเสลี่ยม) ลำปาง (อ. สบปราบ, อ. เถิน, อ. แจ้ห่ม, อ. วังเหนือ) แพร่ (อ. วังชิ้น, อ. ลอง) เชียงราย (อ. เมือง, อ. เวียงป่าเป้า, อ. แม่จัน, อ. แม่สาย, อ. เชียงแสน) ฉะเชิงเทรา (อ. สนามชัยเขต) ชลบุรี (อ. บ้านบึง, อ. บ่อทอง) ระยอง (อ. แกลง) จันทบุรี (อ. ท่าใหม่) ประจวบคีรีขันธ์ (อ. ทับสะแก, อ. บางสะพาน, อ. บางสะพานน้อย) ชุมพร (อ. ปะทิว, อ. ท่าแซะ) นราธิวาส (อ. สุคิริน, อ. ระแงะ, อ. แว้ง) ยะลา (ตอนใต้) กาญจนบุรี (อ. สังขละบุรี, อ. ทองผาภูมิ, อ. ไทรโยค) ราชบุรี (อ. สวนผึ้ง, อ. จอมบึง) เพชรบูรณ์ (อ. เมือง, อ. หล่มสัก) ลพบุรี (อ. โคกสำโรง, อ. บ้านหมี่) นครสวรรค์ (อ. ท่าตะโก)
สังกะสี[5] กาญจนบุรี (อ. ทองผาภูมิ, อ. สังขละบุรี, อ. ศรีสวัสดิ์) แม่ฮ่องสอน (อ. แม่สะเรียง) เชียงใหม่ (อ. แม่แตง) ตาก (ผาแดง อ. แม่สอด) เลย (อ. เมือง, อ. เชียงคาน, อ. ปากชม, อ. ท่าลี่) แพร่ (อ. ลอง) เพชรบูรณ์ (อ. เมือง)
ตะกั่ว[6] กาญจนบุรี (อ. สังขละบุรี, อ. ทองผาภูมิ, อ. ไทรโยค, อ. ศรีสวัสดิ์) เลย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง เชียงราย แพร่ น่าน สุโขทัย เพชรบูรณ์ เพชรบุรี ยะลา นครศรีธรรมราช
แมงกานีส เลย เชียงใหม่ ลำพูน เพชรบูรณ์ ชลบุรี นราธิวาส ยะลา
พลวง ลำพูน ลำปาง ชลบุรี ระยอง จันทบุรี
แพลทินัม[7] (ทองคำขาว) อุดรธานี (บ้านคำด้วง อ. บ้านผือ)
อ้างอิง: [1] [8] [9]

แร่อโลหะ แก้

แร่ แหล่งผลิตแร่ที่สำคัญ
ฟลูออไรต์ (พลอยอ่อน)[10] ลำพูน (อ. บ้านโฮ่ง อ. ป่าซาง อ.แม่ทา) ลำปาง เชียงใหม่ (อ. ฝาง อ. แม่แจ่ม อ. ฮอด อ. อมก๋อย) เชียงราย แม่ฮ่องสอน (อ. ปาย อ. แม่สะเรียง) ราชบุรี (อ.จอมบึง) กาญจนบุรี (อ.ศรีสวัสดิ์ อ.พนมทวน) เพชรบุรี (อ. เขาย้อย อ. ท่ายาง) สุราษฎร์ธานี
เฟลด์สปาร์[11] ตาก นครศรีธรรมราช ราชบุรี กาญจนบุรี อุทัยธานี แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่
ยิปซัม[12] พิจิตร (บริเวณวังงิ้ว อ. บางมูลนาก) สุราษฎร์ธานี (อ. บ้านนาสาร, อ. เวียงสระ, อ. กาญจนดิษฐ์, อ. กาญจนดิษฐ์) นครสวรรค์ (อ. หนองบัว) ลำปาง (อ. สบปราบ, อ. แม่เมาะ) นครศรีธรรมราช (อ. ทุ่งใหญ่) เลย (อ. วังสะพุง) อุตรดิตถ์ (อ. น้ำปาด) ตาก (อ. แม่สอด) นครราชสีมา (อ. โนนสูง) กระบี่
เกลือหิน มหาสารคาม อุดรธานี นครราชสีมา ชัยภูมิ ยโสธร อุบลราชธานี
เกลือทะเล สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม
ดินมาร์ล (ดินสอพอง) ลพบุรี สระบุรี สมุทรสาคร กาญจนบุรี ลำปาง นครสวรรค์
ดินเกาลิน (ดินขาว) ลำปาง (อ. แจ้ห่ม[9])
หินอ่อน[13] สระบุรี สุโขทัย นครนายก กำแพงเพชร สุโขทัย ชัยนาท สระบุรี นครราชสีมา เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ยะลา
หินแกรนิต[14] ตาก (อ. เมือง, อ. บ้านตาก, อ. สามเงา) เลย (อ.เมือง) อุทัยธานี (อ. ลานสัก) ลำปาง (อ. แม่พริก)
ทรายแก้ว[15] สงขลา ภูเก็ต ตรัง นครศรีธรรมราช ชุมพร ปัตตานี ระยอง จันทบุรี และตราด
โพแทช ชัยภูมิ นครราชสีมา อุดรธานี หนองคาย สกลนคร
ฟอสเฟต[16] กาญจนบุรี (เขาอีตุ้มบ้านกาญจน์ อ. เมือง) ลำพูน (อ. แม่ทา) พัทลุง (เขาพนมวงค์ อ. ควนขนุน) เพชรบูรณ์ (เขาชะโงก เขาเทพพนม อ. ชนแดน) ร้อยเอ็ด (บ้านเหล่าขาม อ. เมือง) เชียงใหม่ (อ. ฝาง, อ. เชียงดาว)
หินปูน สระบุรี ลพบุรี นครสวรรค์ เชียงใหม่ กาญจนบุรี เพชรบุรี ขอนแก่น เชียงราย
แบไรต์[17] ลำปาง ตาก แพร่ แม่ฮ่องสอน เพชรบูรณ์ เลย อุดรธานี อุทัยธานี กาญจนบุรี เพชรบุรี ราชบุรี สงขลา ตรัง สตูล กระบี่
อ้างอิง: [1] [8] [9]

แร่เชื้อเพลิง แก้

แร่ แหล่งผลิตแร่ที่สำคัญ
ลิกไนต์ ลำพูน (อ. ลี้[9]) ลำปาง (อ. แม่เมาะ[9]) เชียงใหม่ พะเยา ตาก กระบี่
น้ำมันดิบ เชียงใหม่ (บ่อน้ำมันฝาง) ขอนแก่น กำแพงเพชร (แหล่งสิริกิติ์) อ่าวไทย
แก๊สธรรมชาติ ขอนแก่น (อ.น้ำพอง[18] [9]) อ่าวไทย (เช่น แหล่งเอราวัณ แหล่งบรรพต)
หินน้ำมัน ตาก ลำพูน (อ. ลี้)
อ้างอิง: [1] [8]

ธาตุกัมมันตรังสี แก้

แร่ แหล่งผลิตแร่ที่สำคัญ
ยูเรเนียม ขอนแก่น (บริเวณช่องเขาประตูตีหมา อ.ภูเวียง[18])
ทอเรียม ระนอง พังงา ภูเก็ต
อ้างอิง: [1] [8]

แร่รัตนชาติ แก้

แร่ แหล่งผลิตแร่ที่สำคัญ
พลอย[19] จันทบุรี (บริเวณเขาวัว เขาพลอยแหวน บ้านบางกะจะ เขาสระแก้ว ซากลาว บ้านแสงส้ม บ้านบ่อเวฬุ บ้านสีเสียด บ้านตกพรม บ้านอ่างเอ็ด บ้านบ่ออีแรม บ้านนาตามี บ้านบ่อนาวง) ตราด (บริเวณหนองบอน บ้านบ่อไร่ บ้านตากแว้ง บ้านนาใหญ่ บ้านตาบอด บ้านสระใหญ่ บ้านทุ่งจักจั่น) กาญจนบุรี (อ.บ่อพลอย[9]) แพร่ (บ้านบ่อแก้ว) ศรีสะเกษ (บ้านด่าน อ. กันทรลักษณ์)
อ้างอิง: [1]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 ดร.กระมล ทองธรรมชาติ และคณะ, สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ม.1, สำนักพิมพ์ อักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด, 2548, หน้า 24-25
  2. แร่เหล็ก เก็บถาวร 2010-03-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และวัสดุ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สืบค้นวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553
  3. แร่ทองแดง เก็บถาวร 2010-03-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และวัสดุ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สืบค้นวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553
  4. แร่ทองคำ เก็บถาวร 2010-03-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และวัสดุ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สืบค้นวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553
  5. แร่สังกะสี เก็บถาวร 2010-03-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และวัสดุ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สืบค้นวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553
  6. แร่ตะกั่ว[ลิงก์เสีย] จากภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และวัสดุ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สืบค้นวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553
  7. แร่ทองคำขาว[ลิงก์เสีย] จากภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และวัสดุ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สืบค้นวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 คู่มือประกอบการติวเข้ม การรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลาง (Central University Admissions System : CUAS)
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 9.5 9.6 ทรัพยากรแร่ธาตุ เก็บถาวร 2009-02-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จาก SchoolNet Thailand, สืบค้นวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553
  10. แร่ฟลูออไรต์ เก็บถาวร 2010-03-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และวัสดุ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สืบค้นวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553
  11. แร่เฟลด์สปาร์ เก็บถาวร 2009-02-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และวัสดุ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สืบค้นวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553
  12. แร่ยิปซัม เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และวัสดุ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สืบค้นวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553
  13. หินอ่อน[ลิงก์เสีย] จากภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และวัสดุ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สืบค้นวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553
  14. หินแกรนิต เก็บถาวร 2010-03-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และวัสดุ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สืบค้นวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553
  15. ทรายแก้ว[ลิงก์เสีย] จากภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และวัสดุ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สืบค้นวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553
  16. แร่ฟอสเฟต เก็บถาวร 2010-03-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และวัสดุ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สืบค้นวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553
  17. แร่แบไรต์ เก็บถาวร 2010-02-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และวัสดุ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สืบค้นวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553
  18. 18.0 18.1 ลักษณะทั่วไปของจังหวัดขอนแก่น เก็บถาวร 2009-01-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดขอนแก่น, สืบค้นวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553
  19. พลอยตระกูลแร่คอรันดัม เก็บถาวร 2010-03-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และวัสดุ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สืบค้นวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553