ทรนง ศรีเชื้อ (เกิด: 20 มิถุนายน พ.ศ. 2495; ชื่อเดิม: สุวัฒน์ ศรีเชื้อ) ผู้กำกับภาพยนตร์, ผู้สร้าง และผู้เขียนบทชาวไทย

ทรนง ศรีเชื้อ
เกิด20 มิถุนายน พ.ศ. 2495 (71 ปี)
สุวัฒน์ ศรีเชื้อ
อาชีพผู้กำกับภาพยนตร์, ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์, ผู้เขียนบทภาพยนตร์
ผลงานเด่นกลกามแห่งความรัก 1 และ กลกามแห่งความรัก 2

ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากสำนักนายกรัฐมนตรี "มหาราชดำ" 2524 / ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจาก "มหกรรมภาพยนตร์อาเซียน" ที่สิงคโปร์ "ถล่มค่ายนรกจางซีฟู" 2525 / เพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจาก "มหกรรมภาพยนตร์เอเซียแปซิฟิค" ที่ญี่ปุ่น "กัมพูชา"

" 2528 / "กลกามแห่งความรัก 1" 2532 และ "กลกามแห่งความรัก 2" 2534
พระสุรัสวดีบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม "สัตว์สงคราม" พ.ศ. 2523 (ตุ๊กตาทอง)

กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม "มหาราชดำ" พ.ศ. 2524 (ตุ๊กตาทอง)

กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม "ถล่มค่ายนรกจางซีฟู" พ.ศ. 2525 (ตุ๊กตาทอง)

เพลงประกอบยอดเยี่ยม "กัมพูชา" พ.ศ. 2528 (ตุ๊กตาทอง)

เพลงประกอบยอดเยี่ยม และตัดต่อยอดเยี่ยม "อุบัติโหด" พ.ศ. 2531 (ตุ๊กตาทอง)

บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม "กลกามแห่งความรัก 1" พ.ศ. 2532 (ตุ๊กตาทอง)
ฐานข้อมูล
IMDb
ThaiFilmDb

ทรนง ศรีเชื้อ เกิดในครอบครัวที่มีพ่อเป็นนายทหาร และพี่น้องที่เป็นผู้ชายล้วนแต่เป็นทหาร เริ่มต้นงานในวงการบันเทิงด้วยการเป็นช่างภาพให้กับนิตยสารเครื่องเสียงและรถยนต์ รวมถึงในเหตุการณ์ 14 ตุลา เป็นผู้จัดทำและผู้เขียนหนังสือของวงคาราวาน[1]

มีผลงานกำกับภาพยนตร์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2523 จากเรื่อง สัตว์สงคราม ซึ่งได้รับรางวัลตุ๊กตาทองบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และหลังจากนั้นก็ได้มีผลงานมากมายทั้งภาพยนตร์แอ๊คชั่น และภาพยนตร์อีโรติก ซึ่งสำหรับภาพยนตร์อีโรติกนั้น ถือว่า เป็นภาพยนตร์แนวที่สร้างชื่อให้กับเจ้าตัวอย่างมาก เช่น กลกามแห่งความรัก 1 พ.ศ. 2532 และ กลกามแห่งความรัก 2 พ.ศ. 2534 โดยสามารถสร้างดารานำหญิง 2 คนให้มีชื่อเสียงขึ้นมาได้ คือ ดาริน กรสกุล และ ขวัญภิรมย์ หลิน

ทรนง ศรีเชื้อ ได้รับชื่อเล่นจาก ฉลอง ภักดีวิจิตร ว่า โทนี่

2022 สึนามิ วันโลกสังหาร แก้

ผลงานกำกับเรื่อง 2022 สึนามิ วันโลกสังหาร ซึ่งใช้ทุนสร้างกว่า 160 ล้านบาท ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากตั้งแต่ก่อนออกฉาย อย่างเช่นภาพโปสเตอร์ที่นำภาพผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์สึนามิ พ.ศ. 2547 มาประกอบ[2]

และหลังจากภาพยนตร์เข้าฉาย ก็ได้รับเสียงวิจารณ์ว่า ทำได้แย่ เทคนิคแย่ บทภาพยนตร์อ่อนและอีกหลาย ๆ ส่วนในเรื่อง หลายเสียงบอกว่าเห็นแค่ตัวอย่างก็ไม่อยากเข้าไปชมแล้ว[3][4] จึงทำให้เมื่อเข้าฉาย 4 วัน ทำรายได้เพียงแค่ 2 ล้านบาทเท่านั้น ทำให้ ทรนง ศรีเชื้อ ผู้สร้างและผู้กำกับเครียดจนถึงพยายามจะฆ่าตัวตายโดยอ้างว่า ลงทุนและตั้งใจกับภาพยนตร์เรื่องนี้มากเพื่อที่จะเตือนภัยคนกรุงเทพ แต่กลับไม่มีใครสนใจ แต่บางส่วนก็เชื่อว่าเป็นความพยายามที่จะสร้างกระแสเพื่อโปรโมต[5]

ต่อมา ในต้นปี พ.ศ. 2553 ได้มีการฟ้องร้องเรื่องการว่าจ้างให้โฆษณาภาพยนตร์เรื่องนี้เกิดขึ้น เมื่อฝ่ายที่ถูกทรนงว่าจ้างให้โฆษณาภาพยนตร์เรื่องนี้เปิดเผยว่า ได้รับเงินค่าจ้างยังไม่ครบ เมื่อนำเช็คที่ทางทรนงจ่ายให้ไปก่อนไปขึ้นเงิน ก็ปรากฏว่าเช็คเด้ง จึงออกมาฟ้องร้อง[6]

ผลงานกำกับ แก้

  • พ.ศ. 2528 - กัมพูชา (รางวัลเพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากมหกรรมภาพยนตร์เอเซียแปซิฟิคที่ประเทศญี่ปุ่น และรางวัลตุ๊กตาทองเพลงประกอบยอดเยี่ยม)
  • พ.ศ. 2531 - อุบัติโหด (รางวัลตุ๊กตาทองบันทึกเสียงยอดเยี่ยม และตัดต่อยอดเยี่ยม)
  • พ.ศ. 2532 - กลกามแห่งความรัก (รางวัลตุ๊กตาทองบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม)
  • พ.ศ. 2541 - ระย้า (ละครโทรทัศน์ทางช่อง 7)

เขียนบทภาพยนตร์ แก้

บทโทรทัศน์ แก้

ผลงานแสดงภาพยนตร์ แก้

อำนวยการสร้าง แก้

โปรดิวเซอร์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "หนังสือ 14 ตุลา" (PDF).
  2. "โวยประจานเหยื่อสึนามิ โปรโมตหนัง อุจาดศพเปลือยอืด". กระปุกดอตคอม.
  3. "หนังยอดเยี่ยม!!! ทรนง ศรีเชื้อ : 2022 สึนามิฯ". ผู้จัดการออนไลน์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-24. สืบค้นเมื่อ 2009-06-03.
  4. ""ทรนง" คิดสั้นฆ่าตัวตาย หนัง "สึนามิฯ" ไม่เปรี้ยง". เว็บไซต์พันทิป. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-05. สืบค้นเมื่อ 2009-06-03.
  5. "ฟัง "ทรนง" เปิดใจถึงมรสุมชีวิตที่เป็นเหตุให้อยากลาโลก "จริง" หรือ "โปรโมต" หนัง". ผู้จัดการออนไลน์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-24. สืบค้นเมื่อ 2009-06-03.
  6. "ความ "ทรนง ศรีเชื้อ" เบี้ยวค่าโปรโมทหนัง คู่กรณียันเดินหน้าฟ้องแพ่งเมินไกล่เกลี่ย". ผู้จัดการออนไลน์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-24. สืบค้นเมื่อ 2010-02-03.
  7. manee2u (2015-11-06). "จอมคนปล้นผ่าโลก 2545 ตอนที่ 1". ยูทูบ.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้