ถั่วเน่า เป็นเครื่องปรุงสำคัญในอาหารไทยภาคเหนือ ทำจากถั่วเหลือง ใช้แทนกะปิได้ ได้รับอิทธิพลจากชาวไทลื้อและชาวไทใหญ่ ใกล้เคียงกับนัตโต (natto) ซึ่งเป็นอาหารพื้นเมืองของประเทศญี่ปุ่น ส่วนอาหารพื้นเมืองของประเทศอื่นที่มีลักษณะคล้ายถั่วเน่า คือ คีเนมา (kenema) ซึ่งเป็นอาหารพื้นเมืองของชาวเนปาลและอินเดีย

ถั่วเน่าแข็บ

จุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องและมีบทบาทสำคัญในการหมักถั่วเน่าคือแบคทีเรียในกลุ่มบาซิลลัส (Bacillus sp.)ที่มากับวัตถุดิบหรือจากสิ่งแวดล้อม แบคทีเรียนี้มีรูปร่างเป็นท่อนเห็นต่อกันเป็นสาย[1] เป็นอาหารหมักที่ไม่เติมเกลือระหว่างหมัก เป็นแหล่งของอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงแต่ราคาถูก แต่ถั่วยังมีปัญหาขาดวิตามินบี 12 ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาโรคโลหิตจางและโรคเกี่ยวกับระบบประสาท

รูปแบบ แก้

ถั่วเน่าที่นิยมบริโภคกันมี 2 แบบคือ[2]

  • ถั่วเน่าเมอะ เป็นถั่วเน่าแบบเปียก เริ่มจาก แช่เมล็ดถั่วเหลืองค้างคืน จากนั้นต้มในน้ำเดือดจนถั่วนิ่มจนบีบแล้วเละคามือ จากนั้นนำไปหมักในกระบุงหรือตะกร้า ปิดด้วยใบตอง หมักให้แห้งและร้อน ใช้เวลา 2-3 วัน จะมีจุลินทรีย์ขึ้น ทำให้กลิ่นและรสเปลี่ยนไป ระยะนี้เรียกถั่วเน่าซา เมื่อนำถั่วเน่าซามาบด ใส่เกลือ พริกแห้ง ห่อใส่ใบตอง เรียกถั่วเน่าเมอะ
  • ถั่วเน่าแข็บ เป็นถั่วเน่าแบบแห้ง โดบนำถั่วเน่าซามาบดละเอียด วางบนใบผาแป้งสองใบประกบกัน นำไปตากแดดจนแห้งออกเป็นสีน้ำตาล เมื่อจะรับประทาน ต้องนำไปย่างไฟก่อน ใช้ทำอาหารได้เหมือนถั่วเน่าเมอะ

อ้างอิง แก้

  1. ถั่วเน่า
  2. ครัวล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กทม. แสงแดด. 2550. หน้า 13-14