ถนนสีบุญเรือง

ทางหลวงท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี

ถนนสีบุญเรือง[a] หรือ อดีตทางหลวงแผ่นดินสาย 3147 สายหัวหิน – ตลาดท่าใหม่ เป็นทางหลวงท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี เชื่อมต่อระหว่างเทศบาลตำบลบางกะจะและเทศบาลเมืองท่าใหม่ ในอำเภอเมืองจันทบุรีและอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี

ถนนสีบุญเรือง
ถนนศรีบุญเรือง
แผนที่
Siboon Rueang Road.jpg
ถนนช่วงเทศบาลตำบลเขาวัว-พลอยแหวน
ข้อมูลของเส้นทาง
ความยาว13.000 กิโลเมตร (8.078 ไมล์)
ทางหลวงท้องถิ่น ทต.บางกะจะ
ความยาว2.860 กิโลเมตร (1.777 ไมล์)
ปลายทางทิศใต้ถ.ท่าแฉลบ ใน อ.เมืองจันทบุรี
ปลายทางทิศเหนือถ.สีบุญเรือง ใน อ.เมืองจันทบุรี
ทางหลวงท้องถิ่น อบต.สีพยา-บ่อพุ
ความยาว1.414 กิโลเมตร (0.879 ไมล์)
ปลายทางทิศใต้ถ.สีบุญเรือง ใน อ.ท่าใหม่
ปลายทางทิศเหนือถ.สีบุญเรือง ใน อ.ท่าใหม่
ทางหลวงท้องถิ่น ทต.เขาวัว-พลอยแหวน
ความยาว2.520 กิโลเมตร (1.566 ไมล์)
ปลายทางทิศใต้ถ.สีบุญเรือง ใน อ.ท่าใหม่
ทางแยก
ที่สำคัญ
ถ.เทศบาลสาย 1 ใน อ.ท่าใหม่
ปลายทางทิศเหนือจบ.ถ. 19-015 ใน อ.ท่าใหม่
ทางหลวงท้องถิ่น จบ.ถ. 19-015
ความยาว2.982 กิโลเมตร (1.853 ไมล์)
ปลายทางทิศใต้ถ.สีบุญเรือง ใน อ.ท่าใหม่
ทางแยก
ที่สำคัญ
ถ.พระยาตรัง ใน อ.ท่าใหม่
ปลายทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ถ.สัมปทาน ใน อ.ท่าใหม่
ตำแหน่งที่ตั้ง
ประเทศไทย
จังหวัดจันทบุรี
ระบบทางหลวง

ประวัติ แก้

ถนนสีบุญเรือง แต่เดิมเป็นทางหลวงสัมปทานสายหัวหิน - ตลาดท่าใหม่ในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ให้สัมปทานแก่หลวงชนาณัมคณิศรในการก่อสร้างและดูแลเส้นทางดังกล่าว ต่อมาหลวงชนาณัมคณิศรได้โอนกิจการให้กับนายซองอ๊วน สีบุญเรือง ซึ่งเป็นหุ้นส่วนในสัมปทานดังกล่าวอยู่เดิมแล้ว เนื่องจากสุขภาพทรุดโทรมไม่สามารถดูแลกิจการดังกล่าวต่อไปได้ ทำให้นายซองอ๊วนเป็นผู้เดียวที่เข้ามาดูแลสัมปทานดังกล่าว

 
โบราณสถานค่ายเนินวง ตั้งอยู่บริเวณสายทางของถนนสีบุญเรือง

ต่อมาในปี พ.ศ. 2470 นายซองอ๊วน ได้รับสัมปทานจากกรมทางหลวงให้เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างเส้นทางและถือสิทธิในการให้บริการรถโดยสารและรถบรรทุกสินค้า ผ่านเส้นทาง สายทางแยกจากบ้านหัวหิน ผ่านเมืองใหม่ บางกะจะ สีพระยา ไร่โอ๋ บ่อพุ ห้วยแร้ง พลอยแหวน ซำฆ้อ โป่งรัก เนินพลอยแหวน วัดหนองโพรง จนถึงตลาดท่าใหม่ในพื้นที่อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ระยะทาง 13 กิโลเมตร[1] อายุสัมปทาน 20 ปี เงินทุนตั้งบริษัทจำนวน 100,000 บาท ในขณะนั้น นับตั้งแต่วันทำสัญญา ลักษณะถนนเป็นรูปแบบถมด้วยดินและโรยผิวทางด้วยกรวดตามรูปแบบของกรมทางหลวง ซึ่งประชาชนสามารถใช้พาหนะบนเส้นทางในการสัญจรได้ตามปกติ แต่จะไม่สามารถเดินรถโดยสารที่เก็บค่าโดยสารบนเส้นทางนี้ได้[2] โดยได้มีการกำหนดสายทางและพื้นที่ในการเวนคืนที่ดินเพิ่มเติมตามแนวเส้นทางสัมปทานจากเส้นกึ่งกลางข้างละ 500 เมตร ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2480[1]

หลังจากระยะเวลาผ่านไประยะหนึ่ง นายซองอ๊วยได้เสียชีวิตลง ทำให้นายซองกุ่ยได้รับสิทธิในสัมปทานเดินรถดังกล่าวต่อ จึงได้ดำเนินกิจการตามระยะเวลาจนสิ้นสุดสัมปทาน และมอบสัมปทานของเส้นทางดังกล่าวให้กับจังหวัดจันทบุรี[3] จังหวัดจันทบุรีจึงได้เสนอไปยังนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น คือจอมพลแปลก พิบูลสงคราม จึงได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2493 ให้ตั้งชื่อถนนสายนี้ว่า สีบุญเรือง เพื่อเป็นเกียรติให้กับนายซองกุ่ย ผู้ถือสัมปทานในทางหลวงและดูแลเส้นทางดังกล่าวมาเป็นอย่างดีโดยตลอดระยะเวลาของสัมปทานคือ 20 ปี[4] และทางราชการได้ก่อสร้างถนนเชื่อมต่อมาจากถนนสุขุมวิทเข้ามาเชื่อมต่อกับถนนสีบุญเรือง จึงทำให้เจตจำนงค์ของนายซองกุ่ยอีกข้อหนึ่งประสบความสำเร็จเช่นกันที่ตั้งใจมอบถนนให้เป็นสาธารณประโยชน์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ[3]

จากนั้นในปี พ.ศ. 2509 ถนนสีบุญเรือง ได้ถูกกำหนดหมายเลขในระบบทางหลวงจังหวัดให้เป็น ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3147[5] ชื่อสายทางสายหัวหิน - ท่าใหม่ พร้อมกันกับถนนท่าแฉลบที่เป็นจุดเริ่มต้นของสายทางบ้านหัวหิน ที่ได้รับการกำหนดหมายเลขให้เป็น ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3146 และปรับเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3147 ในปี พ.ศ. 2535 ตามบทเฉพาะกาลของพระราชบัญญัติทางหลวง[6]

ถ่ายโอนให้ท้องถิ่น แก้

ในระหว่างนี้ได้มีการถ่ายโอนถนนสีบุญเรือง ในช่วงเทศบาลเมืองท่าใหม่ออกจากทางหลวงแผ่นดิน และเรียกว่าถนนสัมปทาน[7] ได้รับการกำหนดรหัสสายทางว่า ทางหลวงท้องถิ่น จบ.ถ 19-031 ระยะทางประมาณ 0.800 กิโลเมตร

ในปี พ.ศ. 2549[8] กรมทางหลวงได้มีการถ่ายโอนถนนสีบุญเรือง ให้กับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นผ่านกรมทางหลวงชนบทตลอดสายทาง[8] ตั้งแต่บ้านหัวหินจนถึงตลาดท่าใหม่ ระยะทางรวมประมาณ 9.776 กิโลเมตร ประกอบไปด้วย

  • ทางหลวงท้องถิ่น เทศบาลตำบลบางกะจะ ระยะทาง 2.860 กิโลเมตร[8]
  • ทางหลวงท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลสีพยา-บ่อพุ ระยะทาง 1.414 กิโลเมตร[8]
  • ทางหลวงท้องถิ่น เทศบาลตำบลเขาวัว-พลอยแหวน ระยะทาง 2.520 กิโลเมตร[8]
  • ทางหลวงท้องถิ่น จบ.ถ 19-015 ในความรับผิดชอบของเทศบาลเมืองท่าใหม่ ระยะทาง 2.982 กิโลเมตร[8]

รายละเอียดเส้นทาง แก้

ถนนสีบุญเรือง ประกอบไปด้วยถนนขนาด 2 ช่องจราจรสวนทางกัน[8] ระยะทางตามในสัมปทานครั้งแรกประมาณ 13.000 กิโลเมตร[3] แต่จากการสำรวจปัจจุบันมีระยะทางประมาณ 9.776 กิโลเมตร[8] ในส่วนของถนนสีบุญเรืองปัจจุบัน และระยะทางประมาณ 10.576 กิโลเมตร[8] หากรวมช่วงเดิมที่เปลี่ยนเป็นถนนสัมปทาน เป็นพื้นผิวจราจรแบบแอสฟัลต์คอนกรีต[8] เชื่อมต่อระหว่างบ้านหัวหินในพื้นที่ของเทศบาลตำบลบางกะจะ[9] องค์การบริหารส่วนตำบลสีพยา-บ่อพุ[10] เทศบาลตำบลเขาวัว-พลอยแหวน[11] และสิ้นสุดปลายทางที่ตลาดท่าใหม่ในเทศบาลเมืองท่าใหม่ เป็นอีกเส้นทางในการเดินทางจากอำเภอเมืองจันทบุรีไปสู่อำเภอท่าใหม่ เดิมคือทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3147 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3147 ของกรมทางหลวงตามลำดับ ปัจจุบันอยู่ภายใต้การดูแลขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นตลอดสายทาง

ช่วงหนึ่งของถนนสีบุญเรือง ตัดผ่านทางวิ่งขึ้นลงของเครื่องบินบริเวณสนามบินจันทบุรี (สนามบินท่าใหม่, สนามบินเนินพลอยแหวน) ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของกองทัพเรือ สำหรับการปฏิบัติการของกองทัพเรือและปฏิบัติการทางการเกษตรของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร[12][13]

ถึงแม้ปัจจุบัน ถนนสีบุญเรืองจะถูกถ่ายโอนให้กับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว แต่ยังคงมีการติดป้ายของ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3147 อยู่บนสายทาง และยังถูกประชาชนในท้องถิ่นที่ใช้งานเส้นทางเรียกด้วยชื่อเดิมอยู่[14] รวมถึงบนผังเมืองรวมของเทศบาลเมืองท่าใหม่[15] และบางครั้งถนนสีบุญเรือง มีการเรียกชื่อถนนว่าศรีบุญเรือง[11][10][a]

รายชื่อทางแยก แก้

รายชื่อทางแยกบน ถนนสีบุญเรือง ทิศทาง: หัวหิน – ท่าใหม่
จังหวัด กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
ถนนสีบุญเรือง (ทางหลวงท้องถิ่น ทต.บางกะจะ)
จันทบุรี 0+000 แยกบางกะจะ ถ.ท่าแฉลบ บ.ท่าแฉลบ ถ.ท่าแฉลบ เข้าเมืองจันทบุรี
ถ.บางกะจะ ไป รร.บางกะจะ ไม่มี
ถ.สาธารณะ ไป   วัดพุทธคยาราม (วัดพลูยาง) ไม่มี
ถนนสีบุญเรือง (ทางหลวงท้องถิ่น อบต.สีพยา-บ่อพุ)
จันทบุรี 2+860 เชื่อมต่อจาก: ถ.สีบุญเรือง
ไม่มี ซ.เทศบาล 6 (บ้านเส) ไป ต.บางกะจะ
ไม่มี ถ.รัตนวิถี ไป   วัดสระแก้ว
ไม่มี ถ.สาธารณะ ไป   วัดเขาพลอยแหวน
ถนนสีบุญเรือง (ทางหลวงท้องถิ่น ทต.เขาวัว-พลอยแหวน)
จันทบุรี 4+274 เชื่อมต่อจาก: ถ.สีบุญเรือง
ถ.เทิดพระเกียรติ์ ไป   เจดีย์เขาพลอยแหวน ถ.อนุคีรี ไป อ.เมืองจันทบุรี
  ถ.เทศบาลสาย 1 ไป   วัดไผ่ล้อม ไม่มี
  ถนนสีบุญเรือง (ทม.ท่าใหม่)
จันทบุรี 6+794 เชื่อมต่อจาก: ถ.สีบุญเรือง
ไม่มี   ถ.พระยาตรัง เข้าเมืองจันทบุรี
ไม่มี   ถ.พิศาลธรรมคุณ ไป ถ.สุขุมวิท
  ถ.หัวอู่ไผ่ล้อม - สนามบิน ไป วัดไผ่ล้อม ไม่มี
ซ.บุญญวาสวิหาร ไป   วัดบุญญวาสวิหาร ไม่มี
ซ.บุญญวาสวิหาร ไป   วัดบุญญวาสวิหาร จาก     ถ.ศรีนวดิตถ์
  ถนนสัมปทาน (ทม.ท่าใหม่)
จันทบุรี 9+776 เชื่อมต่อจาก:   ถ.สีบุญเรือง
ไม่มี   ถ.แก้ววิเชียร ไป สภ.ท่าใหม่
  ถ.ราชกิจ ไป   หาดเจ้าหลาว   ถ.ราชกิจ ไป ที่ว่าการอำเภอท่าใหม่
ซ.สัมปทาน 1 ไป   วัดกลางทุ่งท่าระแนะ ไม่มี
10+576 ไม่มี   บรรจบ ถ.สรรพกิจ
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

เขตการควบคุม แก้

ช่วงที่ รหัสสายทาง ชื่อ หลัก กม. ระยะทาง (กม.) อปท. อำเภอ จังหวัด
1 - ถนนสีบุญเรือง 0+000 - 2+860 7.500 เทศบาลตำบลบางกะจะ เมืองจันทบุรี จันทบุรี
2 - ถนนสีบุญเรือง 2+860 - 4+274 7.500 องค์การบริหารส่วนตำบลสีพยา-บ่อพุ ท่าใหม่ จันทบุรี
3 - ถนนสีบุญเรือง 4+274 - 6+794 7.500 เทศบาลตำบลเขาวัว-พลอยแหวน ท่าใหม่ จันทบุรี
4   จบ.ถ 19-015 ถนนสีบุญเรือง 6+794 - 9+776 7.500 เทศบาลเมืองท่าใหม่ ท่าใหม่ จันทบุรี
5   จบ.ถ 19-031 ถนนสัมปทาน 9+776 - 10+576 ประมาณ 0.800 เทศบาลเมืองท่าใหม่ ท่าใหม่ จันทบุรี
รวม 4 อปท. รวมระยะทาง 10.576 กม.

สถานที่สำคัญ แก้

หมายเหตุ แก้

  1. 1.0 1.1 บางเอกสารสะกดเป็นคำว่า ศรีบุญเรือง แต่ยึดตามราชกิจจานุเบกษาการตั้งชื่อถนนของจอมพลแปลก พิบูลสงคราม

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 ราชกิจจานุเบกษา. พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน เพื่อสร้างทางแยกจากหัวหินถึงตลาดท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี พุทธศักราช 2479. เล่ม 54 ก, 18 พฤษภาคม 2480. หน้า 549-551
  2. "จดหมายเหตุว่าด้วยเรื่อง "นายซองอ๊วน:นายซองกุ่ย:ถนนสีบุญเรือง" - กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร". www.finearts.go.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. 3.0 3.1 3.2 "จดหมายเหตุว่าด้วยเรื่อง "นายซองอ๊วน:นายซองกุ่ย:ถนนสีบุญเรือง" - กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร". www.finearts.go.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งชื่อทางหลวงแผ่นดิน. เล่ม 72 ตอนที่ 27 ง, 12 เมษายน 2498. หน้า 808
  5. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ระบบหมายเลขทางหลวงแผ่นดินและทางหลวงจังหวัดแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2509. เล่ม 83 ตอนที่ 57 ง, 5 กรกฎาคม 2509. หน้า 2174
  6. ราชกิจจานุเบกษา. พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535. เล่ม 109 ตอนที่ 52 ก, 18 เมษายน 2535. หน้า 23
  7. หน้า 130. แผนพัฒนาจังหวัดจันทบุรี พ.ศ. 2566 - 2570. เก็บถาวร 2022-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (chanthaburi.go.th)
  8. 8.00 8.01 8.02 8.03 8.04 8.05 8.06 8.07 8.08 8.09 ระบบฐานข้อมูลถนนถ่ายโอน. เก็บถาวร 2023-04-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กรมทางหลวงชนบท กระทรวงคมนาคม
  9. "ลักษณะโครงสร้างพื้นฐาน-เทศบาลตำบลบางกะจะ ( ทต. บางกะจะ ) อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี". bangkaja.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-09. สืบค้นเมื่อ 2023-04-09.
  10. 10.0 10.1 "อบต.สีพยา-บ่อพุ (siphaya-bophu.go.th)". siphaya-bophu.go.th.
  11. 11.0 11.1 "ประกาศ ผู้ชนะการเสนอราคา ประกวดราคาจ้างก่อสร้างโครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว วัดเขาพลอยแหวน โดยการติดตั้งเสาไฟฟ้าส่องสว่างถนนศรีบุญเรือง หมู่ที่ 3,4,6,7 ตำบลพลอยแหวน อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี จำนวน 63 ต้น โดยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) – เทศบาลตำบลเขาวัว-พลอยแหวน" (ภาษาอังกฤษ).
  12. แม่หมีอุมา (2021-03-20). "สนามบินท่าใหม่ เมื่อไหร่จะเปิดให้วิ่ง เสียดายที่วิ่ง ที่ดีที่สุดในจันทบุรีจริง ๆ เชียว". แก๊งสายชิลล์ พากิน พาเที่ยว ทะเล ภูเขา วัด สอนว่ายน้ำ.
  13. "องคมนตรี ติดตามความก้าวหน้าโครงการปรับปรุงสนามบินท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ..." thainews.prd.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-09. สืบค้นเมื่อ 2023-04-09.
  14. "ลักษณะที่ตั้ง-เทศบาลตำบลบางกะจะ ( ทต. บางกะจะ ) อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี". bangkaja.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-09. สืบค้นเมื่อ 2023-04-09.
  15. ราชกิจจานุเบกษา. กฎกระทรวง ให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี พ.ศ. 2558. เล่ม 132 ตอนที่ 61 ก, 10 กรกฎาคม 2558. หน้า 29-37

แหล่งข้อมูลอื่น แก้