ตูโปเลฟ ตู-95 (อังกฤษ: Tupolev Tu-95, Bear, รัสเซีย: Туполев Ту–95) (นาโต้ใช้ชื่อรหัสว่าแบร์)[2] เป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดและขีปนาวุธขนาดใหญ่พร้อมเครื่องยนต์ใบพัดสี่เครื่อง

ตู-95
บทบาทเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์
ชาติกำเนิด สหภาพโซเวียต
บริษัทผู้ผลิตตูโปเลฟ
บินครั้งแรก12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495
เริ่มใช้พ.ศ. 2499
สถานะอยู่ในประจำการ
ผู้ใช้งานหลักกองทัพอากาศโซเวียต
กองทัพเรือโซเวียต
กองทัพอากาศรัสเซีย
ช่วงการผลิตพ.ศ. 2495–2536
จำนวนที่ผลิตมากกว่า 500 ลำ[1]
แบบอื่นตูโปเลฟ ตู-114
ตูโปเลฟ ตู-119
ตูโปเลฟ ตู-126
ตูโปเลฟ ตู-142

มันทำการบินครั้งแรกในปีพ.ศ. 2495 ตู-95 ถูกนำเข้าประจำการในสหภาพโซเวียตเมื่อปีพ.ศ. 2499 และคาดว่าจะเข้าประจำการในกองทัพอากาศรัสเซียจนถึงปีพ.ศ. 2583[3]

ตู-95 มีเครื่องยนต์คูซเนทซอฟ เอ็นเค-12 สี่เครื่องยนต์ แต่ละเครื่องเป็นแบบใบพัดซ้อน มันยังคงเป็นเครื่องยนต์ใบพัดแบบเดียวที่ผลิตออกมามากและถูกใช้กับเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ที่เข้าปฏิบัติการ ปีกลู่ที่โดดเด่นของมันทำมุม 35 องศา ในปี พ.ศ. 2504 ตู-95 เคยบรรทุกระเบิดซาร์บอมบาระเบิดนิวเคลียร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่มีพลังทำลายล้าง 57 เมกกะตันบริเวณเกาะ โนวายา เซมลยา ทางตอนเหนือของขั้วโลกเหนือ อีกด้วย

รุ่นที่พัฒนามาเพื่อทางทะเลนั้นมีชื่อว่าตู-142

รายละเอียด ตูโปเลฟ ตู-95 แก้

 
  • ผู้สร้าง (โรงงานสร้างอากาศยานแห่งสหภาพโซเวียต) ในปัจจุบันคือบริษัทตูโปเลฟ
  • ประเภท เครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดหนัก พิสัยบินไกลและตราจการณ์ทางทะเล เจ้าหน้าที่ 6-7 นาย
  • เครื่องยนต์ เทอร์โบใบพัด คุซเนทซอฟ เอ็นเค-12 เอ็มจี ให้กำลังเครื่องละ 14,795 แรงม้า ใบพัด 2 ชุด หมุนสวนทางกัน จำนวน 4 เครื่อง
  • กางปีก 48.5 เมตร
  • ยาว 47.5 เมตร
  • สูง 12.12 เมตร
  • พื้นที่ปีก 292.6 ตารางเมตร
  • น้ำหนักเปล่า 90,000 กิโลกรัม
  • น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด 154,220 กิโลกรัม
  • อัตราเร็วขั้นสูง .75 มัค (853กิโลเมตร/ชั่วโมง) ที่ระยะสูง 9,000 เมตร
  • อัตราเร็วเดินทางต่อเนื่อง .67 มัค (708กิโลเมตร/ชั่วโมง) ที่ระยะสูง 11,000 เมตร
  • พิสัยบินไกลสุด 12,550 กิโลเมตร เมื่อบรรทุกลูกระเบิดหนัก 25,000 ปอนด์ และไม่เติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ
  • อาวุธ ปืนใหญ่อากาศ เอ็นอาร์-23 ขนาด 23 มม. แท่นคู่ในป้อมปืนท้ายลำ บนลำ และ ใต้ลำ รวม 3 ป้อม 6 กระบอก สำหรับป้องกันตนเอง
  • รวมน้ำหนักกว่า 30,000 กิโลกรัม ในห้องเก็บลูกระเบิดภายในลำตัว

[4]

 

อ้างอิง แก้

  1. Russian Wikipedia | Tu-95
  2. http://www.designation-systems.net/non-us/soviet.html#_Listings_Bombers
  3. Lenta.ru: Оружие: Возвращение летающего медведя
  4. อภิวัตน์ โควินทรานนท์,อากาศยาน1979ฉบับเครื่องบิน,เอวิเอชั่น ออบเซิร์ฟเวอร์,กรุงเทพ,2522