ติเย (มีพระชนม์ชีพระหว่าง 1398 – 1338 ปีก่อนคริสตกาล, หรืออาจะเรียกว่า เทีย, ติย์ และ ติยิ) เป็นธิดาของข้าราชสำนักนามว่า ยูยา กับภริยานามว่า ทจูยู พระองค์ได้รับตำแหน่งเป็นพระมเหสีในฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 3 พระองค์เป็นพระราชมารดาของฟาโรห์อาเคนาเตน และเป็นพระอัยยิกาของฟาโรห์ทุตอังค์อามุน มัมมี่ของพระองค์ได้รับฉายาว่า "สตรีผู้สูงวัย" ซึ่งค้นพบในหลุมฝังพระศพของฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 2 (KV35) ในปีค.ศ. 2010

ติเย
รูปสลักหินของพระนางติเย, ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์ ณ กรุงเบอร์ลิน, เยอรมัน
สมเด็จพระราชินีแห่งอียิปต์โบราณ
ดำรงตำแหน่ง1390 – 1353 ปีก่อนคริสตกาล
(37 ปี)
ประสูติ1398 ปีก่อนคริสตกาล
อัคมิม, อียิปต์บน
สวรรคต1338 ปีก่อนคริสตกาล (อายุ 60 พรรษา)
ฝังพระศพเควี 35, หุบเขากษัตริย์
คู่อภิเษกอเมนโฮเทปที่สาม
พระราชบุตรซิทอามุน
ไอซิส
เฮนุททาเนบ
เนเบตา
ทุตโมส
อาเคนาเตน
สเมงห์คาเร (อาจจะ)
"สตรีผู้อ่อนเยาว์"
เบเคตอาเตน
พระนาม
U33iiZ4B7
ราชวงศ์ราชวงศ์ที่ 18
พระราชบิดายูยา
พระราชมารดาทจูยู
ศาสนาศาสนาอียิปต์โบราณ

ครอบครัวและพระชนม์ชีพในวัยเยาว์ แก้

บิดาของพระองค์ มิได้เป็นเชื้อพระวงศ์ แต่เป็นผู้ครอบครองที่ดินอันมั่งคั่งในเมืองอัคมิมที่อียิปต์บน[1] ที่ซึ่งทำหน้าที่เป็นนักบวช ผู็ควบคุมดูแลฝูงวัว หรือผู้บัญชาการรถม้าศึก[2] มารดาของพระองค์มีส่วนร่วมทางด้านศาสนา โดยมีหน้าที่เป็นผู้ขับร้องเพลงแห่งเทพีฮาธอร์ ผู้นำแห่งความบันเทิงแห่งเทพอามุนและมิน..[3] ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพระมารดาของพระองค์นั้นเป็นสมาชิกเชื้อพระวงศ์

นักไอยคุปต์วิทยา ได้สันนิษฐานว่า บิดาของพระองค์นั้นเป็นคนต่างชาติ ซึ่งดูจากคุณสมบัติของมัมมี่และการเรียกชื่อที่แตกต่างจากชาวอียิปต์ทั่วไป[4] และบางส่วนก็สันนิษฐานว่า การเมืองและความเชื่อทางศาสนาที่ผิดแปลกไปของพระองค์ อาจจะมีสาเหตุจากไม่ใช่แค่เพียงมีตำแหน่งที่มั่นคงแล้ว แต่อาจะมีเชื้อสายต่างชาติด้วย[3]

พระองค์อาจจะมีพระอนุชาหรือพระเชษฐานามว่า อาเนน ผู้นำศาสนาแห่งอามุน[5], ไอย์ ผู้ขึ้นครองราชย์ต่อจากฟาโรห์ทุตอังค์อามุน ซึ่งเหมือนฟาโรห์หลังจาการสิ้นพระชนม์ของทุตอังค์อามุน ที่เชื่อว่าอาจจะเป็นพระอนุชาหรือพระเชษฐาของพระองค์อีกด้วย แม้ว่าจะไม่มีวันที่ชัดเจนและหลักฐานที่จะเชื่อมโยงระทั้งสองได้ โดยนักไอยคุปต์วิทยาสันนิษฐาว่า ไอย์มีต้นกำเนิดมาจากอัคมิม เพราะจากการสร้างวิหารเพื่อุทิศแด่เทพมิน ซึ่งเป็นเทพประจำท้องถิ่น และการรับตำแหน่งส่วนใหญ๋ของยูยา บิดาของพระองค์[3][6]

พระนางติเยได้อภิเษกสมรสกับฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 3 ในปีที่ 2 แห่งการครองราชย์ ซึ่งฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 3 ประสูติพระมเหสีแต่รองของพระราชบิดาฟาโรห์ทุตโมสที่ 4 และต้องการที่จะผูกสัมพันธ์ระหว่างเชื้อพระวงศ์ให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น[4] และดูเหมือนว่าพระองค์ได้ขึ้นครองราชย์เมื่อมีพระชนม์น้อยอยู่อาจจะประมาณ 6 ถึง 12 ปี ซึ่งทั้งสองพระองค์มีพระราชโอรสและพระราชธิดาอย่างน้อย 7 พระองค์ หรือมากกว่า ดังนี้

  1. ซิทอามุน – พระราชธิดาพระองค์โต ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระมเหสีในปีที่ 30 แห่งการครองราชย์ของพระราชบิดาของพระองค์[7]
  2. ไอเซท – อาจจะได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระมเหสีในพระราชบิดาของพระองค์[7]
  3. เฮนุตทาเนบ – ไม่ทราบถึงการแต่งตั้งให้เป็นพระมเหสี แม้ว่าพระนามของพระองค์จะปรากฏในคาร์ทูธเพียงอย่างเดียว
  4. เนเบตา – บางครั้งคิดว่าพระองค์ทรงเปลี่ยนพระนามเป็น บาเคตอาเตน ในรัชสมัยของฟาโรห์อาเคนาเตน พระอนุชาของพระองค์
  5. ทุตโมส – มกุฎราชกุมารและนักบวชชั้นสูงแห่งเทพพทาห์ ซึ่งสิ้นพระชนม์ในรัชสมัยของพระราชบิดา
  6. อเมนโฮเทปที่ 4/อาเคนาเตน – ผู้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดา เป็นพระสวามีของพระนางเนเฟอร์ติติและพระราชบิดาของเจ้าหญิงอังค์เซนอามุน ผู้ซึ่งอภิเษกสมรสกับฟาโรห์ทุตอังค์อามุน[8]
  7. สเมงค์คาเร – ตามประเพณีที่เห็นว่าเป็นหนึ่งในผู้ขึ้นครองราชย์ต่อจากฟาโรห์อาเคนาเตน
  8. สตรีผู้อ่อนเยาว์ จาก เควี 35 – เป็นพระราชธิดาของฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 3 กับพระนางติเย ซึ่งเป็นพระราชมารดาของฟาโหร์ทุตอังค์อามุน
  9. เบเคตอาเตน – บางส่วนคิดว่าเป็นพระราชธิดาของพระนางติเย[1]

อ้างอิง แก้


  1. 1.0 1.1 Tyldesley 2006, p. 115.
  2. "Bart, Anneke. "Ancient Egypt." http://euler.slu.edu/~bart/egyptianhtml/kings%20and%20Queens/amenhotepiii.htm เก็บถาวร 2016-09-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. 3.0 3.1 3.2 Tyldesley 2006, p. 116.
  4. 4.0 4.1 O'Connor & Cline 1998, p. 5.
  5. O'Connor & Cline 1998, p. 5-6.
  6. Shaw, Ian. The Oxford history of Ancient Egypt. Oxford University Press: London, 2003. p.253
  7. 7.0 7.1 Tyldesley 2006, p. 121.
  8. Aidan Dodson, "Amarna Sunset: Nefertiti, Tutankhamun, Ay, Horemhab and the Egyptian Counter-reformation" (Cairo: AUC Press, 2010), pp.27-29