ตำบลบ้านสวน (อำเภอเมืองสุโขทัย)

ตำบลในอำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ประเทศไทย

ตำบลบ้านสวน เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย เป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่มีประวัติความเป็นมานับแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี สืบความจากหลักฐานการตั้งถิ่นฐานโดยมีวัดเป็นศูนย์กลางในอดีต พร้อมกับหลักฐานวัดร้างที่ขึ้นทะเบียนโดยกรมศิลปากรที่มีประวัติเนื่องต่อกับชุมชนในอดีตล่วงมาจนถึงปัจจุบัน ตำบลบ้านสวนเป็นศูนย์การการเพราะปลูกข้าว "คุณภาพ" ที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่งของจังหวัดสุโขทัย อันเนื่องเป็นที่ลุ่มที่เหมาะแก่การทำเกษตร

ตำบลบ้านสวน
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Ban Suan
ประเทศไทย
จังหวัดสุโขทัย
อำเภอเมืองสุโขทัย
พื้นที่
 • ทั้งหมด168.99 ตร.กม. (65.25 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2552)
 • ทั้งหมด16,089 คน
 • ความหนาแน่น95.20 คน/ตร.กม. (246.6 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 64220
รหัสภูมิศาสตร์640102
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติ แก้

มีหลักฐานว่า คำว่า บ้านสวน ซึ่งหมายถึงชื่อของหมู่บ้าน ปรากฏในเอกสารจดหมายเหตุเป็นครั้งแรกในสมุดไทยดำชื่อจดหมายเหตุรัชกาลที่ 1 จุลศักราช 1147 ชื่อสำเนาบัญชีเรื่องบัญชีจ่ายข้าวฉางหลวงให้แก่โรงสีส่งกองทัพครั้งรบพม่า ปีมะเส็งสัปตศก ปีมะเมียอัฐศก เลขที่ 1 พ.ศ. 2328 มีเนื้อความว่า มีชุมชนในความปกครองของเมืองสุโขทัยส่งข้าวสารให้กองทัพไทยเพื่อเตรียมสู้รบกับกองทัพพม่าจำนวน 3 หมู่บ้าน ๆ ละ 2 ทะนาน คือ บ้านธานี บ้านกล้วย บ้านสวน ในปีมะเส็งสัปตศกกับปีมะเมียอัฐศกตรงกับ พ.ศ. 2328 และ พ.ศ. 2329 แสดงว่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (20 มีนาคม พ.ศ. 2279 — 7 กันยายน พ.ศ. 2352) ทรงก่อตั้งพระราชวงศ์จักรีและยกฐานะบางกอกให้เป็นกรุงรัตนโกสินทร์ได้ 4 –5 ปีก็มีชื่อ บ้านสวน แล้วแสดงว่า บ้านสวนมีความเก่าแก่มายาวนานเกือบ 230 ปี ต้นฉบับเอกสารจดหมายเหตุเป็นเอกสารตัวเขียนในสมุดไทยรักษาไว้ ณ งานบริการภาษาโบราณ หอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร[1]

คำว่า บ้านสวน น่าจะมีที่มาจากคำว่า ข้าวนาสวนหรือนาดำ ดังหลักฐานต่อไปนี้

  1. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ข้อมูลคำว่า นาสวน เป็นคำนามเรียกข้าวเปลือกที่มีเมล็ดแข็งเป็นมันว่า ข้าวนาสวน [2]
  2. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (20 มีนาคม พ.ศ. 2279 — 7 กันยายน พ.ศ. 2352) ทรงออกกฎหมายเมื่อ พ.ศ. 2335 ห้ามมิให้ผู้ใดกักตุนข้าว “อย่าให้ขายข้าวแก่กันขึ้นเอาราคามาก แลให้ราษฎรซื้อขายกันข้าวนาทุ่งคงเกวียนละสองตำลึง ข้าวนาสวนคงเกวียนละสิบบาท จะเอาตัวเป็นโทษถึงตาย ส่วนผู้รู้เห็นเป็นใจชักนำซื้อขายได้ส่วนแบ่งนั้นจะเอาตัวเป็นโทษเฆี่ยนคนละสามยก ตระเวนบกสามวัน ตระเวนเรือสามวัน ส่งตัวไปเป็นตะพุ่นหญ้าช้าง” [3]

มีข้อมูลถูกบันทึกไว้ว่า บ้านสวนเป็นตำบลที่มีพืชพันธุ์ธัญญาหารสมบูรณ์ เป็นแหล่งอาหารที่มีทั้งนาข้าว ส่วนผลไม้ ตลอดจนปลาในห้วย หนอง คลอง บึง ข้าวสารของตำบลบ้านสวนเป็นข้าวที่มีคุณภาพ หุงขึ้นหม้อและอ่อนนุ่มไม่แข็งกระด้าง คนในเมืองชอบกินข้าวสารบ้านสวน (ปัจจุบันก็ยังมีคุณภาพอยู่) และคนบ้านสวนในสมัยนั้น ก็จะนำมาขายถึงในตัวเมือง โดยนำข้าวใส่กระบุงหาบโดยเดินเท้าจากบ้านสวนถึงในตลาด ทุก ๆ วันชาวบ้านสวนจะหาบข้าวมาขายในเมืองอยู่เสมอ [4]

นอกจากนี้บ้านสวนยังเป็นยังคงรักษาอนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้าน "มังคละ"นับแต่ครั้งกรุงสุโขทัย มาจนกระทั่งปัจจุบัน [5] ในศิลาจารึกหลักที่ 1 บันทึกไว้ว่า "ท้าวหัวราน คำบง คำกลอง ด้วยเสียงพาทย์เสียงพิณ เลื่อนขับ" มีผู้ให้คำอธิบายและตีความว่า คำบง คำกลอง เป็นคำโบราณที่มีใช้ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยแปลว่า การประโคม ดังนั้นคำว่า คำบง คำกลอง จึงหมายถึงการตีกลองหรือประโคมกลองที่ขึงด้วยหนัง ซึ่งหมายถึงกลองมังคละ [6]และยังคงปรากฏมีที่บ้านสวนที่ชาวบ้านสวนจะเรียกว่า "ปีกลอง" [7] และบางพื้นที่ของจังหวัดพิษณุโลกตามที่ไมเคิล ไรท์ เคยมาเก็บข้อมูลและบันทึกไว้ [8] [9]

พ.ศ. 2539 สภาตำบลบ้านสวน อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ได้ถูกยกเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสวน (ลำดับที่ ) ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2539 ลงนามโดย นายบรรหาร ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (หน้า 48 เล่ม 113 ตอนที่ 9 ง ราชกิจจานุเบกษา 30 มกราคม 2539) มีผลให้เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสวน ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2539

พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสวน มีพื้นที่ 101 ตารางกิโลเมตร มีจำนวนหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล 13 หมู่บ้าน

วัดร้างหลักฐานโบราณคดีกับการตั้งชุมชนบ้านสวน แก้

ที่วัดบ้านสวนมีวัดร้างที่ยังเป็นซากวัดร้างมีแนวเขต หลักฐานของการสร้างโบราณสถานและถูกขึ้นทะเบียนโดยกรมศิลปากรหลายแห่ง และถูกบันทึกไว้เป็นหลักฐานถึงการมีอายุครั้งกรุงสุโขทัย หรืออย่างไกล้ก็สมัยสุโขทัยตอนปลาย เช่น วัดไก่แจ้ (บริเวณวัดคลองตะเคียน) วัดจันทร์ (บริเวณโรงเรียนวัดจันทร์) วัดป่าเรไร หรือแต่เดิมเป็นวัดร้าง เดิมมีชื่อว่า “วัดป่าละเมาะ” (อัมพวา) ที่ปรากฏหลักฐานในทะเบียนโบราณสถาน ของกรมศิลปากร จังหวัดสุโขทัย ที่สำรวจเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478 และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 74 [10] ถูกจัดขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเป็นต้น ดังนั้นหลักฐานของวัดจะเป็นเครื่องยืนยันถึงอายุชุมชนและการตั้งชุมชนของคนในบริเวณบ้านสวนโดยมีวัดเป็นศูนย์กลางในการทำกิจกรรมทางศาสนาในอดีต นอกจากนี้ยังมีอีกหลายวัดที่มีหลักฐานการขึ้นทะเบียนเป็นวัดร้างของสำนักงานพระพุทธศาสนา นัยหนึ่งเป็นการยืนยันอายุของวัดร้างเหล่านั้น เทียบเคียงกับการตั้งชุมชนบ้านสวนในอดีตได้ เช่น[11]

  • วัดคลองโบสถ์ ตั้งอยู่หมู่ 4 ตาลเตี้ย ปรากฏหลักฐานที่ดินอันเป็นศาสนสมบัติกลาง แบบ สค.1 เลขที่ 176 จำนวน 5 ไร่
  • วัดนครยศ ตั้งอยู่ที่หมู่ 1 ต. ตาลเตี้ย โฉนดเลขที่ 14955 จำนวน 3-2-32 ไร่
  • วัดครุ ตั้งอยู่ที่หมู่ 5 แบบ สค.1 เลขที่ 8 มีเนื้อที่จำนวน 2 ไร่
  • วัดคลองไก่เตี้ย หมู่ 9 (ใกล้วัดคลองตะเคียนในปัจจุบัน) ยังพบเศษฐานเจดีย์จำนวนมาก มีหลักฐานสิทธิ์ในที่ดินเป็น แบบ สค.1 เลขที่ 50 มีพื้นที่จำนวน 1-1-28 ไร่
  • วัดดงดีปลี ตั้งอยู่ที่ หมู่ 5 ต.บ้านสวน มีเอกสารสิทธิ์เป็น น.ส.3 เลขที่ 10 มีพื้นที่ จำนวน 4 ไร่ โดยมีการจัดตั้งเป็นสำนักสงฆ์วัดดงดีปลี มีพระสงฆ์เข้าอยู่จำพรรษา
  • วัดตะคาว หรือวัดตาดาว ตั้งอยู่ที่หมู่ 11 ต. บ้านสวน เมือง สุโขทัย เลขที่เอกสารสิทธิ์ในที่ดิน แบบ สค.1 เลขที่ 242 มีพื้นที่จำนวน 4-0-60 ไร่ [ตรวจสอบไม่พบหลักฐานที่ดิน]
  • วัดน้ำนอง ตั้งอยู่ที่หมู่ 3 ต. บ้านสวน เมือง สุโขทัย โฉนดเลขที่ 14957 มีพื้นที่ จำนวน 4-0-43 ไร่ เป็นพื้นที่ตั้งของเทศบาลตำบลบ้านสวน โดย เทศบาลบ้านสวนทำสัญญาเช่าเป็นเวลา 20 ปี
  • วัดห้วย หมู่ 5 ต. บ้านสวน เมือง สุโขทัย มีเอกสารสิทธิ์ที่ดิน แบบ น.ส.3 เลขที่ 11 มีจำนวน 2-0-00 ไร่ [12]

นอกจากนี้ กรมศิลปากรได้ทำการสำรวจ และประกาศขึ้นทะเบียนวัดร้างทั่วไปประเทศ [13] ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยโบราณสถาน ศิลปวัตถุ โบราณวัตถุและการพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ พุทธศักราช ๒๔๗๗ ที่ประกาศใช้เมื่อ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2478 [14] ในเขตจังหวัดสุโขทัยจำนวน 120 วัด โดยมีวัดที่ปรากฏเป็นหลักฐานของชุมชนบ้านสวนดังนี้

  • ลำดับที่ ๑๐๖ วัดถ้ำมคง อำเภอเมืองสุโขทัยธานี ตำบลบ้านสวน
  • ลำดับที่ ๑๐๗ วัดโบสถ์ไผ่ขอม อำเภอเมืองสุโขทัยธานี ตำบลบ้านสวน
  • ลำดับที่ ๑๐๘ วัดเหมืองขี้เหล็ก อำเภอเมืองสุโขทัยธานี ตำบลบ้านสวน
  • ลำดับที่ ๑๐๙ วัดตาดาว อำเภอเมืองสุโขทัยธานี ตำบลบ้านสวน
  • ลำดับที่ ๑๑๐ วัดป่าละเมาะ อำเภอเมืองสุโขทัยธานี ตำบลบ้านสวน
  • ลำดับที่ ๑๑๑ วัดพิมอง อำเภอเมืองสุโขทัยธานี ตำบลบ้านสวน
  • ลำดับที่ ๑๑๒ วัดระวาศน์ อำเภอเมืองสุโขทัยธานี ตำบลบ้านสวน
  • ลำดับที่ ๑๑๓ วัดดงม่วง อำเภอเมืองสุโขทัยธานี ตำบลบ้านสวน
  • ลำดับที่ ๑๑๔ วัดอ้ายแดง อำเภอเมืองสุโขทัยธานี ตำบลบ้านสวน
  • ลำดับที่ ๑๑๕ วัดดงดีปลี อำเภอเมืองสุโขทัยธานี ตำบลบ้านสวน
  • ลำดับที่ ๑๑๖ วัดห้วย อำเภอเมืองสุโขทัยธานี ตำบลบ้านสวน
  • ลำดับที่ ๑๑๗ วัดคุ อำเภอเมืองสุโขทัยธานี ตำบลบ้านสวน
  • ลำดับที่ ๑๑๘ วัดนุ่น อำเภอเมืองสุโขทัยธานี ตำบลบ้านสวน
  • ลำดับที่ ๑๑๙ วัดกำแพงงาม อำเภอเมืองสุโขทัยธานี ตำบลบ้านสวน
  • ลำดับที่ ๑๒๐ วัดจันทร์ อำเภอเมืองสุโขทัยธานี ตำบลบ้านสวน [15]

พร้อมกันนั้นยังมีการขึ้นทะเบียนวัดร้างที่สำรวจพบในภายหลัง ตามประกาศของกรมศิลปากร เรื่องขึ้นทะเบียนโบราณสถานและกำหนดที่ดินโบราณสถาน ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 114 ตอนพิเศษ 87 ง หน้า 2-3 ลงวันที่ 29 กันยายน 2540 มีวัด

  • โบราณสถานวัดคุ ตำบลบ้านสวน อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย พื้นที่โบราณสถานประมาณ 3 ไร่ 1 งาน 47 ตารางวา[16]
  • โบราณสถานวัดดงดีปลี ตำบลบ้านสวน อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย พื้นที่โบราณสถานประมาณ 3 ไร่ 29 ตารางวา[17]

ฉะนั้นหลักฐานทางหน่วยงานราชการทั้งในส่วนสำนักงานพระพุทธศาสนา ที่ขึ้นทะเบียนวัดร้างไว้ รวมทั้งการขึ้นทะเบียนของกรมศิลปากรให้วัดร้างเหล่านั้นเป็นโบราณสถานด้วยเงื่อนไขของอายุการตั้งวัดที่สอดคล้องกับความเจริญรุ่งเรืองในสมัยสุโขทัย และควรค่าต่อการอนุรักษ์ไว้ รวมทั้งยังเป็นการยืนยันถึงความรุ่งเรืองในด้านศาสนา การตั้งชุมชน ที่กระจายตัวไปทั่วรวมทั้งเขตบ้านสวนด้วย ดังนั้นจึงทำให้เป็นหลักฐานยืนยันได้ว่าสุโขทัยมีประวัติการตั้งถิ่นฐานชุมชนมาเป็นเวลาช้านานนับแต่อดีต

ภูมิศาสตร์ แก้

ตำบลบ้านสวน ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองสุโขทัย 7 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตข้างเคียง ดังนี้

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

บ้านสวนมีสถานะเป็นชุมชนและหน่วยการปกครองมาแต่ต้น ดังปรากฏหลักฐานเมื่อ พ.ศ. 2455 (รศ.130) เป็น ประกาศ บอกล่วงน่าจะแจกโฉนดสำหรับที่ดิน ใน (1) ทุ่งบ้านสวนเหนือ ตำบลบ้านสวนเหนือ อำเภอในเมือง (2) ในทุ่งบ้านสวนใต้ ตำบลบ้านสวนใต้ อำเภอในเมือง (3) ในทุ่งบ้านทุ่งหลวง ตำบลบ้านทุ่งหลวง อำเภอในเมือง (4) ในทุ่งบ้านท่าดินแดง ตำบลท่าดินแดง อำเภอในเมือง แขวงเมืองศุโขทัย เล่มที่ ๒๘ ตอน ๐ง ประกาศเมื่อ วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2454 หน้า 2182 ปรากฏหน่วยการปกครองในเขตบ้านสวนว่า ประกาศกำหนดวันจะแจกสำหรับโฉนดที่ดิน 1.ในทุ่งบ้านสวนเหนือ ตำบลบ้านสวนเหนือ อำเภอในเมือง 2.ในทุ่งบ้านสวนใต้ ตำบลบ้านสวนใต้ อำเภอในเมือง 3.ในทุ่งบ้านทุ่งหลวง ตำบลบ้านทุ่งหลวง อำเภอในเมือง ๔.ในทุ่งบ้านท่าดินแดง ตำบลท่าดินแดง อำเภอในเมือง แขวงเมือง ศุโขไทย [18] ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2454) บ้านสวนจึงเป็นหน่วยการปกครองในระดับตำบลขึ้นกับแขวงศุโขไทย จังหวัดศุโขไทย ที่เป็นส่วนหนึ่งของมณฑลพิษณุโลก โดยแยกการปกครองเป็น "ตำบลบ้านสวนเหนือ" และ "ตำบลบ้านสวนใต้" และเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอเมือง จังหวัดศุโขไทย (สะกดตามราชกิจจานุเบกษาปี พ.ศ. 2460)[19] เดิมชื่อว่า อำเภอเมือง ซึ่งในปี พ.ศ. 2460 ในสมัยรัชกาลที่ 6 อำเภอนี้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอธานี[19] จนเมื่อสมัยรัชกาลที่ 7 วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2475 ได้ยุบอำเภอธานีและเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอสุโขทัยธานี ขึ้นต่อจังหวัดสวรรคโลก[20][21] ภายหลังในปี พ.ศ. 2482 ภายใต้การปกครองของคณะราษฎร์ อันมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี และเป็นปีที่รัฐบาล ประกาศใช้รัฐนิยมฉบับที่ 1 อันมีสาระเกี่ยวกับการเปลี่ยนชื่อประเทศจาก สยาม เป็น ไทย พร้อมประกาศจัดตั้งจังหวัดสุโขทัยอีกครั้ง ยกอำเภอสุโขทัยธานีเป็นศูนย์กลางของจังหวัด และได้เปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอเมืองสุโขทัย[22]

นอกจากนี้บ้านสวนยังเป็นศูนย์กลางที่ทางหน่วยงานราชการให้ความสำคัญเขาไปจัดการศึกษาดังปรากฏหลักฐานว่า

"ด้วยได้รับบอกมณฑลพิศณุโลกที่ ๑๑/๖๘๗๐ ลงวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ศกนี้ว่า พลวงวรสารพิจิตร์ ผู้พิพากษาศาลเมืองสุโขทัยพร้อมด้วย เจ้าอธิการวัดบ้านสวน [คาดว่าจะเป็นหลวงพ่อสัมฤทธิ์ เทโว] ได้จัดตั้งโรงเรียนสอนหนังสือไทย ชั้นมูลศึกษาขึ้นที่วัดบ้านสวน [คาดว่าจะเป็นโรงเรียนวัดฤทธิ์] โรง ๑ อาศรัยศาลาของวัดนั้นเปนที่เล่าเรียน และได้เปิดสอนนักเรียน เมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม ร.ศ.๑๒๖ (พ.ศ. 2450) มีนักเรียน ๒๙ คน ได้จัดให้ พระโถ นักเรียนโรงเรียนสุโขทัยวิทยาคม ซึ่งสอบไล่ได้ประโยคหนึ่งเปนครูสอน ส่วนเงินสำหรับบำรุงโรงเรียนนี้ หลวงวรสารพิจิตร์ได้บอกบุญเรี่ยรายแก่ข้าราชการ และราษฏรได้เงินรวม ๓๑๒ บาท ๑๖ อัฐ สำหรับจ่ายในจำนวนศก ๑๒๖ ส่วนในศก ต่อ ๆ ไป จะได้คิดจัดการเรี่ยรายบำรุงต่อไป กับขอมอบโรงเรียนนี้ให้อยู่ในความตรวจตราของข้าหลวงธรรมการ ขุนประพันธ์เนติวุฒิ ข้าหลวงธรรมการ"[23]

จากข้อมูลนี้ยืนยันได้ว่า "บ้านสวน" เป็นหน่วยการปกครองที่ขึ้นอยู่กับสุโขทัย ทั้งเป็นพื้นที่ที่ภาครัฐ และราชการให้ความสำคัญเข้ามาจัดการศึกษาตั้งแต่อดีตและหลักฐานที่ปรากฏในสมัยการปฏิรูปการศึกษา ช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ระหว่าง ร.ศ.126 หรือ พ.ศ. 2450 ด้วยเช่นกัน

ดังนั้นเมื่อดูในภาพรวมเกี่ยวกับพัฒนาการของตำบลบ้านสวนจึงผูกโยงอยู่กับการปกครองที่มีศูนย์กลางอยู่ที่ "สุโขทัย-ศุโขไทย" มาแต่อดีต แปลว่าสุโขทัยถูกทำให้เป็นแขวง เมือง หรือจังหวัด ความเป็นบ้านสวนก็จะอยู่ในฐานะเป็นเป็นชุมชนที่อยู่ไกล้เมืองด้วยระยะห่างที่ไม่ไกลประมาณ 10 กิโลเมตร จึงถูกผนวกรวมตามเงื่อนไขของการปกครองในแต่ละช่วงเวลาตลอดมา

ในปัจจุบันตำบลบ้านสวนได้แบ่งการปกครองเป็น 13 หมู่บ้าน ได้แก่

  • หมู่ 1 (บ้านป่า)
  • หมู่ 2 (บ้านสวนใต้)
  • หมู่ 3 (ตลาดบ้านสวน-วัดคุ้งยางใหญ่)
  • หมู่ 4 (บ้านไร่-วัดบึง-วัดฤทธิ์-บ้านบอน)
  • หมู่ 5 (บ้านคลองด่าน)
  • หมู่ 6 (คลองตะเคียน)
  • หมู่ 7 (หนองโครง)|
  • หมู่ 8 (บ้านไผ่ขวาง)
  • หมู่ 9 (บ้านสวนเหนือ/เหมืองใหญ่)
  • หมู่ 10 (คลองปลายนา)
  • หมู่ 11 (หนองทอง/วัดหนองทอง)
  • หมู่ 12 (บ้านวัดจันทร์)
  • หมู่ 13 (บ้านโปร่ง)

การปกครอง แก้

ตำบลบ้านสวนแบ่งการปกครองเป็น 13 หมู่บ้าน โดยอยู่ในพื้นที่เทศบาลตำบลบ้านสวน จำนวน 3 หมู่ คือ หมู่ที่ 1 (บางส่วน) หมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 3 (บางส่วน) นอกนั้นอยู่ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสวน หมู่บ้านทั้ง 13 หมู่บ้าน ได้แก่

  • หมู่ 1 (บ้านป่า)
  • หมู่ 2 (บ้านสวนใต้)
  • หมู่ 3 (บ้านหน้าโบสถ์ บ้านกลาง ยกเว้นตลาดบ้านสวน-และวัดคุ้งยางใหญ่)
  • หมู่ 4 (บ้านไร่-วัดบึง-วัดฤทธิ์-บ้านบอน)
  • หมู่ 5 (บ้านคลองด่าน)
  • หมู่ 6 (คลองตะเคียน)
  • หมู่ 7 (หนองโครง)
  • หมู่ 8 (บ้านไผ่ขวาง)
  • หมู่ 9 (บ้านสวนเหนือ/เหมืองใหญ่)
  • หมู่ 10 (คลองปลายนา)
  • หมู่ 11 (หนองทอง/วัดหนองทอง)
  • หมู่ 12 (บ้านวัดจันทร์)
  • หมู่ 13 (บ้านโปร่ง)

การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้

ท้องที่ตำบลบ้านสวนประกอบไปด้วย 13 หมู่บ้าน มีการจัดการแบ่งการปกครองท้องถิ่น 2 แห่งคือ

เทศบาลตำบลบ้านสวน แก้

  • เทศบาลตำบลบ้านสวน ได้ยกฐานะจากสุขาภิบาลบ้านสวนเมื่อ 27 มีนาคม 2505 [24]ตามพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ. 2495 เป็นเทศบาลตำบลบ้านสวน เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับ-เล่ม 116 ตอนที่ 9 ก. หน้า 1 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2543 ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 2 และพื้นที่บางส่วนของหมู่ที่ 3 มีพื้นที่ 3 ตารางกิโลเมตร หรือราว 5 ไร่ 44 ตารางวา (สำรวจเมื่อ 31 พฤศจิกายน 2553) ที่ตั้งสำนักงาน เทศบาลตำบลบ้านสวน
    ถนนในชุมชน หมู่ 3 ตำบลบ้านสวน อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย 64220
  • จำนวนบ้าน 1,512 หลังคาเรือน จำนวนประชากร ณ เดือนเมษายน พ.ศ. 2550 มีจำนวน 4,819 คน ชาย 2,253 คน หญิง 2,566 คน ความหนาแน่นเฉลี่ย 1657.33 คน / ตารางกิโลเมตร

องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสวน แก้

ประชากร แก้

ประชากรในตำบลบ้านสวนมีจำนวน 14,981 คน และ จำนวนหลังคาเรือน 2,833 หลังคาเรือน

ศาสนาสถาน/วัด แก้

สถานศึกษา/โรงเรียน แก้

  • โรงเรียนวัดคุ้งยางใหญ่
  • โรงเรียนวัดฤทธิ์
  • โรงเรียนวัดจันทร์
  • โรงเรียนบ้านสวนใต้
  • โรงเรียนบ้านสวนวิทยาคม

หน่วยงาน/หน่วยงานราชการ แก้

  • สถานีตำรวจบ้านสวน
  • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวน
  • ไปรษณีย์บ้านสวน

การคมนาคม แก้

การคมนาคมจะใช้เส้นทางถนนสิงหวัฒน์ (สายพิษณุโลก–สุโขทัย) ระยะทางจากสุโขทัยถึงบ้านสวนประมาณ 7 กิโลเมตร มีรถสองแถวประจำทาง และรถมอเตอร์ไซด์รับจ้าง

อ้างอิง แก้

  • ราชกิจจานุเบกษา, 2539, หน้า 48
  1. ดูรายละเอียดเสริมใน สมชาย เดือนเพ็ญ , จากแคว้นสุโขทัยถึงจังหวัดสวรรคโลก, ในวารสาร มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.นเรศวร ปีที่ 2, ฉบับที่ 2 (ก.ค.-ก.ย. 2537), หน้า 28-37
  2. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 : 435
  3. ไทยรัฐวันพุธที่ 6 กรกฎาคม 2548 : 3
  4. กาญจนี คำบุญรัตน์.วิถีชีวิตของชาวบ้าน เมื่อกาลก่อนของสุโขทัย. ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 31 ฉบับที่ 4 กุมภาพันธ์ 2553 หน้า 68-71.
  5. ไมเคิล ไรท์ . ฝรั่งคลั่งสยาม. กรุงเทพ ฯ : มติชน.2541. (ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ) หน้า 172-175 และ หน้า 180-183.
  6. http://www.info.ru.ac.th/province/sukhotai/wmank.htm .
  7. นุชนาฎ ดีเจริญ,รายงานการวิจัยเรื่องรำมังคละในจังหวัดพิษณุโลก สุโขทัย และอุตรดิตถ์ = Mangkala dance in the provinces of Phitsanulo, พิษณุโลก : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.2542.
  8. ไมเคิล ไรท์ . ฝรั่งคลั่งสยาม. กรุงเทพ ฯ : มติชน.2541. (ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ) หน้า 180-183.
  9. "เว็บไซต์สถานีตำรวจบ้านสวน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-14. สืบค้นเมื่อ 2010-10-15.
  10. สำรวจเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478 และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 74
  11. ดิเรก ด้วงลอย พระปลัดระพิน พุทฺธิสาโร. (2563). ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นบ้านสวน สุโขทัย-Local History of  Bansuan Sukhothai Province.  สุโขทัย  : กองทุนพระครูสุพัฒนพิธาน (ทองดี มหาวีโร/อานใหญ่). ISBN : 978-616-568-180-3
  12. ทะเบียนที่ดินวัดร้าง และที่ดินศาสนสมบัติกลาง จังหวัดสุโขทัย มติที่ประชุมคณะทำงานฯ ครั้งที่ 5/2547 วันที่ 22-23 กรกฎาคม 2547 โดยสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสุโขทัย
  13. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2478/D/3679.PDF ประกาศกรมศิลปากร กำหนดโบราณสถานสำหรับชาติ ประกาศ 8 มีนาคม 2478 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 หน้า 1689-1717
  14. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2478/A/394.PDF พระราชบัญญัติว่าด้วยโบราณสถาน ศิลปวัตถุ โบราณวัตถุและการพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ พุทธศักราช ๒๔๗๗
  15. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2478/D/3679.PDF ประกาศกรมศิลปากร กำหนดโบราณสถานสำหรับชาติ ประกาศ 8 มีนาคม 2478 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 หน้า 1709-1710
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณสถานและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (วัดเมืองปอน (ร้าง) และวัดต่อแพ จังหวัดแม่ฮ่องสอนวัดธาตุโขง (ร้าง) วัดธาตุเขียว (ร้าง) วัดร้อยข้อ (ร้าง) จังหวัดเชียงรายวัดเชียงแสน วัดหมื่นพริก (ร้าง) จังหวัดเชียงใหม่ วัดหนองห้า จังหวัดพะเยา วัดใหญ่ชัยมงคล วัดยมราช จังหวัดพิษณุโลก วัดคุ วัดดงดีปลี วัดโบสถ์ จังหวัดสุโขทัย วัดพระเจดีย์ทอง จังหวัดกำแพงเพชร เจดีย์ยุทธหัตถี วัดพระบรมธาตุ จังตาก วัดห้วยเขน จังหวัดพิจิตร วัดใหญ่ท่าเสา จังหวัดอุตรดิตถ์), เล่ม 114, พิเศษ 87 ง, 29 กันยายน พ.ศ. 2540, หน้า 2
  17. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณสถานและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (วัดเมืองปอน (ร้าง) และวัดต่อแพ จังหวัดแม่ฮ่องสอนวัดธาตุโขง (ร้าง) วัดธาตุเขียว (ร้าง) วัดร้อยข้อ (ร้าง) จังหวัดเชียงรายวัดเชียงแสน วัดหมื่นพริก (ร้าง) จังหวัดเชียงใหม่ วัดหนองห้า จังหวัดพะเยา วัดใหญ่ชัยมงคล วัดยมราช จังหวัดพิษณุโลก วัดคุ วัดดงดีปลี วัดโบสถ์ จังหวัดสุโขทัย วัดพระเจดีย์ทอง จังหวัดกำแพงเพชร เจดีย์ยุทธหัตถี วัดพระบรมธาตุ จังตาก วัดห้วยเขน จังหวัดพิจิตร วัดใหญ่ท่าเสา จังหวัดอุตรดิตถ์), เล่ม 114, พิเศษ 87 ง, 29 กันยายน พ.ศ. 2540, หน้า 2
  18. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2454/D/2182.PDF ประกาศ บอกล่วงน่าจะแจกโฉนดสำหรับที่ดิน ใน (1) ทุ่งบ้านสวนเหนือ ตำบลบ้านสวนเหนือ อำเภอในเมือง (2) ในทุ่งบ้านสวนใต้ ตำบลบ้านสวนใต้ อำเภอในเมือง (3) ในทุ่งบ้านทุ่งหลวง ตำบลบ้านทุ่งหลวง อำเภอในเมือง (4) ในทุ่งบ้านท่าดินแดง ตำบลท่าดินแดง อำเภอในเมือง แขวงเมืองศุโขทัย เล่มที่ 28 ตอน 0ง ประกาศเมื่อ วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2454 หน้า 2182
  19. 19.0 19.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ" (PDF). Royal Gazette. 34 (0 ก): 40–68. 1917-04-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-07. สืบค้นเมื่อ 2015-04-15.
  20. "พระบรมราชโองการ ประกาศ ยุบรวมท้องที่บางมณฑลและบางจังหวัด". Royal Gazette. 48 (0 ก): 576–578. 1932-02-21.[ลิงก์เสีย]
  21. ประกาศกรมศิลปากร กำหนดจำนวนโบราณสถานสำหรับชาติ
  22. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามจังหวัดและอำเภอบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๒" (PDF). Royal Gazette. 56 (0 ก): 351–353. 1939-04-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2015-04-15.
  23. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2450/050/1352_1.PDF ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 24 หน้า 1352-1353 วันที่ 15 มีนาคม ร.ศ.126
  24. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2505/D/029/745.PDF ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องจัดตั้งสุขาภิบาลบ้านสวน จังหวัดสุโขทัย ในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 79 ตอนที่ 29 เมื่อ 27 มีนาคม 2505

แหล่งข้อมูลอื่น แก้