ตำบลท่าสายลวด

ตำบลในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ประเทศไทย

ตำบลท่าสายลวด ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ตำบลท่าสายลวด เกิดขึ้นจากการอพยพเข้ามาทำเกษตรกรรมริมแม่น้ำเมยของชาวไทยในอดีต ต่อมามีการเดินสายโทรเลขจากไทยไปพม่า ชาวบ้านจึงใช้เส้นทางเดียวกันนี้ในเดินเท้า ต่อมามีการสร้างวัด และท่าข้ามเรือ จึงใช้ตั้งชื่อ เช่น "ท่าสายลวด" "วัดท่าสายโทรเลข" เมื่อมีจำนวนบ้านเรือนเพิ่มขึ้น จึงเรียกหมู่บ้านว่า "บ้านท่าสายลวด" ต่อมาได้ยกฐานะเป็นตำบลเมื่อปี พ.ศ. 2493 ใช้ชื่อว่า "ตำบลท่าสายลวด" อยู่ในความรับผิดชอบของอำเภอแม่สอด

ตำบลท่าสายลวด
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Tha Sai Luat
ประเทศไทย
จังหวัดตาก
อำเภอแม่สอด
พื้นที่
 • ทั้งหมด76.709 ตร.กม. (29.618 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2560)
 • ทั้งหมด33,654 คน
 • ความหนาแน่น438.72 คน/ตร.กม. (1,136.3 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 63110
รหัสภูมิศาสตร์630606
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ชื่อตำบล แก้

มีหลักฐานว่าเมื่อ 150 ปีที่ผ่านมา บริเวณที่ตั้งตำบลท่าสายลวด ปัจจุบันนี้ยังมีสภาพป่ารกทึบ ติดกับฝั่งแม่น้ำเมย และไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ จนกระทั่งมีกลุ่มคนไทยซึ่งไม่ปรากฏหลักฐานว่าอพยพมาตั้งหลักฐานอยู่บริเวณบริเวณริมฝั่งแม่น้ำเมยเมื่อใด โดยการปลูกไร่อ้อยและยาสูบ ต่อมาไม่นานก็มีการขยายตัวของหมู่บ้าน ประกอบกับบริเวณหมู่บ้านริมฝั่งแม่น้ำเมยมีการติดตั้งสายโทรเลขจากเมืองกรุกกริก ฝั่งประเทศพม่า ถึงประเทศไทย ผ่านอำเภอแม่สอดจนถึงตัวจังหวัดตาก เป็นความร่วมมือระหว่างไทย-อังกฤษ และในแนวที่สายโทรเลขพาดผ่านนั้นจะมีการทางเดินเท้าติดตามตลอดจนถึงตัวเมืองแม่สอด เส้นทางนี้มีความสำคัญสำหรับชาวบ้านในบริเวณนี้ ซึ่งใช้เป็นเส้นทางคมนาคมและมีการสร้างวัดใกล้ท่าน้ำ และท่าข้ามเรือบริเวณที่มีสายโทรเลขผ่านจึงเรียกว่า "วัดท่าสายโทรเลข" ต่อมามีหมู่บ้านเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก และเกิดการรวมตัวกันเรียกชื่อใหม่ว่า "หมู่บ้านท่าสายลวด" มาจนถึงปัจจุบัน

ประวัติศาสตร์และพัฒนาการ แก้

ปี พ.ศ. 2493 มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลตำบลแม่สอด จังหวัดตาก พ.ศ. 2493 เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2493 ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ จอมพล ป พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี (หน้า 669-674 ตอนที่ 35 เล่ม 67 ราชกิจจานุเบกษา 27 มิถุนายน 2493) โดยที่เป็นการสมควรเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลตำบลแม่สอด จังหวัดตาก เสียใหม่ตามความจำเป็นแห่งการบริหารงานของเทศบาล จึงมีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลแม่ปะและตำบลท่าสายลวดในท้องที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2493 ลงนามโดย รามราชภักดี ปลัดกระทรวง ลงนามแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (หน้า 6299-6302 ตอนที่ 67 เล่ม 67 ราชกิจจานุเบกษา 12 ธันวาคม 2493) เนื่องจากได้มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลตำบลแม่สอด จังหวัดตาก พ.ศ. 2493 เพื่อลดเขตเทศบาลตำบลแม่สอดให้เล็กลงตามความจำเป็นแห่งการบริหารงานของเทศบาล จึงเป็นเหตุให้กระทบกระเทือนถึงเขตการปกครองส่วนภูมิภาค เพราะส่วนที่เคยอยู่ในเขตเทศบาลมาแต่เดิม ได้เปลี่ยนสภาพมาเป็นอยู่นอกเขตเทศบาล ฉะนั้น เพื่อให้การำเนินการปกครองได้เป็นไปตามนัยแห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พุทธศักราช 2457 ข้าหลวงประจำจังหวัดตาก อาศัยความในพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พุทธศักราช 2457 มาตรา 6, 29 และพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2476 มาตรา 20 จึงได้ดำเนินการปรับปรุงเขตการปกครองในท้องที่อำเภอแม่สอดเสียใหม่ โดยรวมเขตหมู่บ้านต่าง ๆ ที่ได้ถูกเปลี่ยนสภาพมาอยู่นอกเขตเทศบาลนี้ จัดตั้งเป็นตำบลขึ้นใหม่ อีก 2 ตำบล ขนานนามตำบลว่า "ตำบลแม่ปะ" และ"ตำบลท่าสายลวด" ให้ขึ้นอยู่ในความปกครองของอำเภอแม่สอด ซึ่งแต่ละตำบลมีเขตดังนี้ คือ

1. ตำบลแม่ปะ

แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 หมู่บ้าน คือ

  • หมู่ที่ 1 บ้านแม่ปะเก่า
  • หมู่ที่ 2 บ้านแม่ปะสันป่าซาง
  • หมู่ที่ 3 บ้านแม่ปะคำมา
  • หมู่ที่ 4 บ้านห้วยกะโหลก
  • หมู่ที่ 5 บ้านปากห้วยแม่สอด
  • หมู่ที่ 6 บ้านห้วยหินฝน

2. ตำบลท่าสายลวด

แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 หมู่บ้าน คือ

  • หมู่ที่ 1 บ้านแม่ตาว
  • หมู่ที่ 2 บ้านแม่ตาวท่าสายลวด
  • หมู่ที่ 3 บ้านท่าหม่องอาจ
  • หมู่ที่ 4 บ้านวังตะเคียน
  • หมู่ที่ 5 บ้านปากห้วยแม่สอด
  • หมู่ที่ 6 บ้านหนองกิ่งฟ้า

และโอนบ้านหัวฝาย ซึ่งถูกตัดออกจากเขตเทศบาลตำบลแม่สอด ไปขึ้นกับหมู่ที่ 4 ตำบลแม่ตาว

กระทรวงมหาดไทยอนุมัติให้ตั้งตำบลและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลดังกล่าวข้างต้นได้ ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2493 เป็นต้นไป

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

ตำบลท่าสายลวดอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของอำเภอแม่สอด ห่างจากตัวอำเภอ 7 กิโลเมตร และมีระยะทางห่างจากตัวจังหวัด 93 กิโลเมตร

ลักษณะทางภูมิศาสตร์และลักษณะภูมิอากาศ แก้

ตำบลท่าสายลวด ติดชายแดนประเทศพม่า ส่วนใหญ่เป็นที่ราบเหมาะแก่การเกษตรทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเป็นเทือกเขาสูง ทางทิศตะวันตกติดแม่น้ำเมยและภายในพื้นที่มีลำห้วยแม่สอดและลำห้วยแม่ตาวซึ่งเหมาะแก่การเกษตรกรรม

เนื้อที่ แก้

ตำบลท่าสายลวดมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 76.709 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นที่ในเขตเทศบาลตำบลท่าสายลวด ประมาณ 10.10 ตารางกิโลเมตร และเป็นพื้นที่เขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าสายลวดประมาณ 66.609 ตารางกิโลเมตร แบ่งเป็น

  • ที่อยู่อาศัย
  • ที่นา
  • ที่ไร่
  • ไม้ผล-ไม้ยืนต้น
  • ไม้ดอก-ไม้ประดับ
  • พื้นที่เกษตรในเขตป่า
  • พื้นที่เกษตรในเขตหมู่บ้าน
  • อื่น ๆ

เขตการปกครอง แก้

จำนวนหมู่บ้านในเขตตำบล 7 หมู่บ้าน ได้แก่

  1. หมู่ที่ 1 บ้านแม่ตาว
  2. หมู่ที่ 2 บ้านริมเมย
  3. หมู่ที่ 3 บ้านท่าอาจ
  4. หมู่ที่ 4 บ้านวังตะเคียน
  5. หมู่ที่ 5 บ้านหนองกิ่งฟ้า
  6. หมู่ที่ 6 บ้านห้วยม่วง
  7. หมู่ที่ 7 บ้านวังตะเคียนใต้

การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้

ตำบลท่าสายลวด แบ่งการปกครองออกเป็นสองส่วน ประกอบด้วยเทศบาลตำบลท่าสายลวด และองค์การบริหารส่วนตำบลท่าสายลวด

องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้

  • เทศบาลตำบลท่าสายลวด

พื้นที่เขตเทศบาลตำบลท่าสายลวด ประมาณ 10.10 ตารางกิโลเมตร มีประชากรทั้งสิ้น 6,603 คน จำนวน 2,400 ครัวเรือน ความหนาแน่นเฉลี่ย 654.76 คน/ตารางกิโลเมตร จำนวนหมู่บ้านในเขตเทศบาลตำบลท่าสายลวด จำนวน 4 หมู่บ้าน ได้แก่

  1. หมู่ที่ 1 บ้านแม่ตาว (บางส่วน)
  2. หมู่ที่ 2 บ้านริมเมย (เต็มพื้นที่)
  3. หมู่ที่ 5 บ้านหนองกิ่งฟ้า (บางส่วน)
  4. หมู่ที่ 6 บ้านห้วยม่วง (บางส่วน)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าสายลวด

พื้นที่เขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าสายลวดประมาณ 66.609 ตารางกิโลเมตร มีประชากรทั้งสิ้น 3,393 คน จำนวน 1,097 ครัวเรือน ความหนาแน่นเฉลี่ย 50.94 คน/ตารางกิโลเมตร จำนวนหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าสายลวด จำนวน 6 หมู่บ้าน ได้แก่

  1. หมู่ที่ 1 บ้านแม่ตาว (บางส่วน)
  2. หมู่ที่ 3 บ้านท่าอาจ (เต็มพื้นที่)
  3. หมู่ที่ 4 บ้านวังตะเคียน (เต็มพื้นที่)
  4. หมู่ที่ 5 บ้านหนองกิ่งฟ้า (บางส่วน)
  5. หมู่ที่ 6 บ้านห้วยม่วง (บางส่วน)
  6. หมู่ที่ 7 บ้านวังตะเคียนใต้ (เต็มพื้นที่)

จำนวนประชากร แก้

ประชากรตำบลท่าสายลวด มีจำนวน 9,996 คน (พ.ศ. 2551) เฉลี่ยความหนาแน่นของประชากรตำบลท่าสายลวด ประมาณ 130.311 คน/ ตารางกิโลเมตร

สภาพเศรษฐกิจ แก้

จำนวนครัวเรือนที่มีรายได้จากการประกอบอาชีพทุกประเภทรวมกันต่อปี ของตำบลท่าสายลวด พบว่าครัวเรือนที่มีรายได้ระดับปานกลาง ถึงระดับต่ำ

  • อาชีพหลัก

ประชากรส่วนใหญ่ในเขตตำบลท่าสายลวด ประกอบอาชีพเกษตรกรรมประเภทพืชไร่ ที่ปลูกส่วนมากเป็น ข้าวโพด อ้อย ถั่วเขียว ข้าว และอื่น ๆ รองลงมาคืออาชีพรับจ้างทั่วไป และค้าขาย

  • อาชีพเสริม

ทำหัตถกรรม ทำน้ำอ้อย ทำข้าวแตนข้าวกล้อง

การคมนาคม แก้

ทางบก แก้

มีสถานีขนส่งผู้โดยสายแม่สอดให้บริการในการคมนาคมทางบก ถนนสายหลัก ได้แก่

ทางน้ำ แก้

ทางน้ำที่สำคัญ ได้

  • แม่น้ำเมย นิยมใช้เรือและแพในการสัญจร ข้ามฟากระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่า
  • ห้วยแม่สอด ไม่นิยมใช้สัญจรไปมา
  • ห้วยแม่ตาว ไม่นิยมใช้สัญจรไปมา
  • ห้วยม่วง ไม่นิยมใช้สัญจรไปมา

ทางอากาศ แก้

มีท่าอากาศยานแม่สอด หรือสนามบินแม่สอดให้บริการในการคมนาคมทางอากาศ

สะพานสำคัญ แก้

  • สะพานสอง สร้างข้ามลำห้วย ตั้งอยู่บริเวณสุดเขตถนนอินทรคีรี ก่อนถึงท่าอากาศยานแม่สอด เป็นเขตแบ่งท้องที่เทศบาลนครแม่สอด ตำบลแม่สอดและเทศบาลตำบลท่าสายลวด ตำบลท่าสายลวด
  • สะพานสาม สร้างอยู่ตรงปากทางเข้าวัดไทยวัฒนาราม ตำบลท่าสายลวด
  • สะพานสี่ เป็นสะพานสุดท้ายก่อนถึงสะพานมิตรภาพไทย-พม่า
  • สะพานมิตรภาพไทย-พม่า ตั้งอยู่บริตลาดริมเมย บ้านริมเมย สร้างข้ามแม่น้ำเมย พรมแดนกั้นประเทศไทยกับประเทศพม่า เชื่อมเส้นทางคมนาคมทางบกระหว่างแม่สอด ประเทศไทยกับเมียวดี ประเทศพม่าเข้าด้วยกัน

สถานที่สำคัญของตำบล แก้

ตั้งอยู่เขตบ้านท่าอาจ ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด จ.ตาก อยู่ห่างจากตัวเมืองแม่สอดไปทางทิศตะวันตกราว 7 กม. ตั้งอยู่บนฝั่งคุ้งแม่น้ำเมยมองเห็นเด่นชัดแต่ไกล ซึ่งสามารถชมได้ทั้งทางบกและทางน้ำ ทางเข้าเป็นถนนลาดยางตลอดสาย ตั้งอยู่ในตำบลท่าสายลวด ทางไปริมแม่น้ำเมยจะมีทางแยกบริเวณหัวสะพานบ้านแม่ตาว - ท่าสายลวด เลี้ยวขวาไปตามเส้นทางตลาดมืด "วังข่าหรือวังวรพจน์" หมู่บ้านท่าหม่องอาจ (ไทยใหญ่) หรือเดินทางโดยทางเรือล่องไปตามลำน้ำแม่เมย - ต่องยิน แล้วไปขึ้นฝั่งหน้าบริเวณที่ตั้งองค์เจดีย์ "พญาหน่อไก่" (คอกช้างเผือก)

ประวัติเล่าว่า เมื่อครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี รัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พงศาวดารกล่าวว่า มะกะโท (คนเลี้ยงช้าง) เป็นชาวมอญ ได้เข้ารับราชการเป็นขุนวังได้ลักพาตัวพระราชธิดาของพ่อขุนรามคำแหงหนีไปอยู่กรุงหงสาวดี ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นพระเจ้าแผ่นดินทรงพระนามว่า พระเจ้าฟ้ารั่ว เมืองตากเป็นชานเมืองของกรุงสุโขทัย ได้มีช้างเผือกอาละวาด พ่อขุนรามคำแหงทรงทราบพระองค์ทรงประกอบพิธีเสี่ยงทายและทรงเสี่ยงสัตย์อธิษฐานว่า หากช้างเผือกเชือกนี้เป็นช้างคู่บุญบารมีกษัตริย์นครใดก็ขอให้บ่ายหน้าไปทางทิศนั้น สิ้นคำอธิษฐานช้างเผือกจึงบ่ายหน้าไปทางทิศตะวันตก พ่อขุนรามคำแหงทราบทันทีว่าช้างเผือกคู่บุญบารมีของพระเจ้าฟ้ารั่วจึงให้ทหารนำสาส์นไปแจ้งว่าจะนำช้างมามอบ ให้ทหารที่ติดตามช้างเผือกมาจนถึงบริเวณเชิงเขาจึงทำพะเนียดล้อมเอาไว้ และได้ทำพิธีช้างให้กับพระเจ้าฟ้ารั่ว ณ ที่แห่งนี้

ตั้งอยู่ที่ หมู่ 4 บ้านวังตะเคียน ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด จ.ตาก พระธาตุดอยดินจี่หรือพระธาตุดอยหินกิ่ว อยู่บนภูเขาสูง มีทางเดินเป็นบันไดปูนซีเมนต์ประมาณ 800 ขั้น พระสถูปเจดีย์ที่ประดิษฐานพระธาตุตั้งอยู่บนหินก้อนใหญ่เป็นชะง่อนผา มีรอยพระพุทธบาทจำลองอยู่ด้านซ้ายมือ มองลงมาด้านล่างเห็นทิวทัศน์ในเขตพม่าได้ชัดเจน หินที่อยู่บนดอยเป็นสีดำหรือสีน้ำตาลไหม้ จึงเรียกว่าดินจี่คือดินที่ไหม้ไฟ เจดีดอยดินจี่ (ดอยหินกิ่ว) นี้ชาวบ้านเรียกว่า พญาอ่อง เป็นเจดีย์ทรงมอญขนาดเล็ก ในวันมาฆบูชาชาวไทยใหญ่ในอำเภอแม่สอดและเมืองเมียวดีในพม่า จะมานมัสการพระธาตุดอยหินจี่อย่างเนืองแน่น

เป็นวัดที่มีศิลปโบราณมากมาย

หมู่ที่ 3 บ้านท่าอาจ ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด จ.ตาก

เป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าต่าง ๆ เจ้าอาวาส พระ ชลิต อาโลโก จำนวนพระ มี 1 รูป แม่ชี 1 คน

อ้างอิง แก้

  • คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุฯ, บรรณาธิการ. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดตาก. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : กรุงเทพฯ, 2542.
  • อนุรักษ์ พันธุ์รัตน์, บรรณาธิการ. แม่สอดหนึ่งร้อยปี. พิมพ์ครั้งที่ 1. ตาก : ศูนย์วัฒนธรรมอำเภอแม่สอด, 2541.
  • สรุปรายงานประจำปีตำบลท่าสายลวด 2552

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้