ตัวนำยวดยิ่งชนิดที่ 1

ตัวนำยวดยิ่งชนิดที่ 1 (อังกฤษ: Type-I superconductor)

โดยทั่วไปของตัวนำยวดยิ่งชนิดที่ 1 เมื่ออุณหภูมิและสนามแม่เหล็กที่มีค่าสูงๆ จะสามารถทำลายสภาพนำยวดยิ่งได้ ดังนั้นถ้าควบคุมอุณหภูมิให้มีค่าคงตัวค่าหนึ่ง โดยที่อุณหภูมินั้นมีค่าต่ำกว่าอุณหภูมิวิกฤติ และมีค่าสนามแม่เหล็กวิกฤติ (Hc) 1 ค่า เมื่อสนามแม่เหล็กที่ให้มีขนาดน้อยกว่า Hc ตัวนำจะยังคงสภาพนำยวดยิ่งอยู่ แต่ถ้าสนามแม่เหล็กที่ให้มีค่ามากกว่า Hc ตัวนำจะสูญเสียสภาพนำยวดยิ่งและกลายเป็นตัวนำปกติ ถึงแม้ว่าอุณหภูมิจะยังคงต่ำกว่าอุณหภูมิวิกฤตก็ตาม เรียก Hc ว่าสนามแม่เหล็กวิกฤต ตัวนำยวดยิ่งชนิดนี้จะให้ปรากฏการณ์ไมสเนอร์ที่สมบูรณ์ และโดยทั่วไปค่า Hc ของตัวนำยวดยิ่งชนิดที่ 1 นี้จะมีขนาดที่ต่ำมากจึงไม่เพียงพอที่จะนำไปประยุกต์ใช้งาน[1] โดยตัวนำยวดยิ่งชนิดที่ 2 จะมีพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากตัวนำยวดยิ่งชนิดที่ 2 ที่สนามแม่เหล็กวิกฤต คือ มีการแสดงสนามแม่เหล็กวิกฤติถึงสองค่า[2]

อ้างอิง แก้

  1. Kittel C. (1991). Introduction to Solid state Physics. 6 ed. John Wiley & Sons.
  2. Tinkham, M. (1996). Introduction to Superconductivity, Second Edition. New York, NY: McGraw-Hill. ISBN 0486435032.