ตรุษเกาหลี หรือ ซ็อลลัล (เกาหลี설날; อาร์อาร์Seollal; เอ็มอาร์Sŏllal) เป็นวันแรกของปฏิทินจันทรคติ ซึ่งเป็นวันหยุดที่สำคัญที่สุดของชาวเกาหลีที่มีมาแต่เดิม อันประกอบด้วยระยะเวลาการเฉลิมฉลองที่เริ่มต้นในวันขึ้นปีใหม่ ชาวเกาหลียังทำการฉลองวันปีใหม่ตามปฏิทินสุริยคติในวันที่ 1 มกราคมของทุกปีตามปฏิทินเกรกอเรียน ในขณะที่วันขึ้นปีใหม่ของชาวเกาหลีจะเป็นวันหยุดปีใหม่ของชาวเกาหลีตามช่วงสามวัน และถือเป็นวันหยุดที่สำคัญกว่าวันขึ้นปีใหม่แบบสุริยคติ[1]

ตรุษเกาหลี
ผู้คนที่ใส่ชุดฮันบกและเล่นยุด
ชื่อทางการซ็อลลัล
จัดขึ้นโดยชาวเกาหลีทั่วโลก
ประเภทวัฒนธรรม
ความสำคัญวันแรกของปีตามปฏิทินจันทรคติเกาหลี
วันที่คืนที่จันทร์ดับที่สองหลังเหมายัน (หรือ คืนจันทร์ดับที่สามหลังอายัน)
วันที่ในปี 2023อาทิตย์ที่ 22 มกราคม
วันที่ในปี 2024อาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์
ความถี่ทุกปี
ส่วนเกี่ยวข้องตรุษจีน, ตรุษญี่ปุ่น, ตรุษมองโกล, ตรุษทิเบต, ตรุษญวน

นิยามของคำว่า "ซ็อลลัล" โดยทั่วไปหมายถึง อึมน็ยอก ซ็อลลัล (음력 설날, วันขึ้นปีใหม่ตามแบบจันทรคติ) ซึ่งรู้จักกันในชื่อของ คูจ็อง (ฮันกึล: 구정; ฮันจา: 舊正) โดยทั่วไปบางส่วน "ซ็อลลัล" ยังหมายถึง ยังนย็อก ซ็อลลัล (양력 설날, วันขึ้นปีใหม่ตามแบบสุริยคติ) ซึ่งรู้จักกันในชื่อของ ชินจ็อง (ฮันกึล: 신정; ฮันจา: 新正)

วันขึ้นปีใหม่ของเกาหลีโดยทั่วไปยึดเอาคืนที่สองของวันจันทร์ดับหลังจากช่วงเหมายัน เว้นเสียแต่ว่าจะเป็นปีที่มีการเพิ่มอธิกมาสในช่วงเดือนสิบเอ็ดหรือเดือนสิบสองก่อนช่วงปีใหม่ ในกรณีเช่นนี้วันขึ้นปีใหม่จะตรงกับคืนจันทร์ดับที่สามหลังจากช่วงอายัน (ครั้งต่อไปที่จะเกิดกรณีเช่นนี้อีกคือ ค.ศ. 2033) วันขึ้นปีใหม่ของชาวเกาหลีโดยทั่วไปเป็นวันเดียวกันกับวันตรุษจีน, วันขึ้นปีใหม่ของมองโกเลีย, วันขึ้นปีใหม่ของทิเบต และตรุษญวน โดยทั่วไปมักใช้ชื่อตะวันตกเพื่ออธิบายถึงเทศกาลนี้แบบครอบคลุม แม้ว่าจะไม่ถูกต้องตามหลักของวิทยาศาสตร์ว่าเป็นปีใหม่แบบจันทรคติอยู่ก็ตาม

ขนบธรรมเนียม แก้

วันขึ้นปีใหม่ของชาวเกาหลีโดยปกติจะเน้นเป็นวันหยุดครอบครัวแบบชาวตะวันออกที่มักใช้เวลาดังกล่าวเพื่อเดินทางกลับไปบ้านเกิดของตน เพื่อไปเยี่ยมครอบครัวและญาติๆของพวกเขาเพื่อทำพิธีบูชาบรรพบุรุษที่รู้จักกันในชื่อ ชารเย (차례) ชาวเกาหลีจำนวนมากแต่งกายด้วยชุดฮันบกสีสันงดงาม ส่วนต็อกกุก (떡국) ซึ่งเป็นซุปกับเค้กข้าว เป็นอาหารที่มักนำมาเสิร์ฟโดยทั่วไป

ชาวเกาหลีจำนวนมากทำการต้อนรับปีใหม่ (ทั้งแบบตะวันตกและแบบจันทรคติ) โดยเดินทางไปยังชายฝั่งตะวันออกอย่างเช่นคังนึง กับทงแฮ ใน จังหวัดคังว็อน ที่ซึ่งพวกเขามักจะเห็นแสงแรกอรุณรุ่งในวันขึ้นปีใหม่[2]

เกมพื้นบ้าน แก้

มีเกมแบบประเพณีดั้งเดิมจำนวนมากที่มีความเกี่ยวข้องกับวันปีใหม่ของชาวเกาหลี อย่างเกมกระดานสำหรับครอบครัวที่มีชื่อว่า ยุนโนรี (윷놀이) ก็ยังเป็นกิจกรรมสันทนาการที่นิยมอยู่ และผู้ชายจะมีการเล่นว่าวรวมถึงการเล่น เชกีชากี (제기차기) ซึ่งเป็นเกมที่ใช้วัตถุขนาดเบาซึ่งห่อคลุมด้วยกระดาษหรือผ้า และจากนั้นนำมาเตะเล่นกันเหมือนฟุตแบ็กที่เป็นบอลผ้าขนาดเล็ก ในขณะที่ผู้หญิงหรือเด็กผู้หญิงอาจจะมีการเล่น นอลตวีกี (널뛰기), เกมกระโดดบนไม้กระดานหกที่เรียกว่า ชีโซ (시소) ขณะที่เด็กปั่น แพงี (팽이)

การทักทาย แก้

จากการที่ผู้คนต่างมีความต้องการความเจริญรุ่งเรืองและมีโชค คำอวยพรในวันปีใหม่จึงมีความว่า "แซแฮ พก มานี พาดือเซโย" (새해 복 많이 받으세요) อันเป็นการให้พรต่อบิดามารดาเพื่อให้ท่านเหล่านั้นมีความสุขในช่วงปีใหม่

อ้างอิง แก้

  1. Nguyen, Anna (2007-02-12). "Korean New Year". The Arkansas Traveler. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-27. สืบค้นเมื่อ 2011-02-05.
  2. Chan, L. P. (2008-01-03). "Diverse New Year's Celebrations Around the World". www.trifter.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-07. สืบค้นเมื่อ 2011-02-05.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้