ตระกูลภาษาดราวิเดียน

ตระกูลภาษาดราวิเดียน (อังกฤษ: Dravidian languages) เป็นตระกูลของภาษาที่มีสมาชิก 73 ภาษา ส่วนใหญ่ใช้พูดทางภาคใต้ของอินเดียและทางตะวันออกเฉียงเหนือของศรีลังกา และบางบริเวณในปากีสถาน เนปาล บังกลาเทศ และภาคกลางและภาคตะวันออกของอินเดีย รวมทั้งบางส่วนของอัฟกานิสถานด้วย นอกจากนั้นยังมีผู้ที่อพยพไปยังมาเลเซียและสิงคโปร์

ตระกูลภาษาดราวิเดียน
ตระกูลภาษาทราวิฑ
ภูมิภาค:เอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (โดยเฉพาะศรีลังกาและภาคใต้ของอินเดีย)
การจําแนก
ทางภาษาศาสตร์
:
หนึ่งในตระกูลภาษาที่มีผู้พูดมากที่สุดในโลก
ภาษาดั้งเดิม:ดราวิเดียนดั้งเดิม
กลุ่มย่อย:
  • เหนือ
  • กลาง
  • กลาง-ใต้
  • ใต้
ISO 639-2 / 5:dra
เครือข่ายการวิจัยลิงกัวสเฟียร์:49= (phylozone)
กลอตโตลอก:drav1251[1]
{{{mapalt}}}
แผนที่แสดงการกระจายของภาษาตระกูลดราวิเดียน:

จุดกำเนิดของคำว่าดราวิเดียน แก้

คำว่า ดราวิเดียน นั้น ผู้ใช้คนแรกคือ Robert Caldwell ผู้เขียนไวยากรณ์เปรียบเทียบของตระกูลภาษาดราวิเดียน โดยมีพื้นฐานมาจากคำภาษาสันสกฤตว่า द्राविड ทฺราวิฑ ส่วนที่มาของคำว่า ทฺราวิฑ นั้นมีอธิบายไว้หลายทฤษฎี ทฤษฎีอย่างง่ายสุดกล่าวว่าเป็นลูกผสมเกิดจากคำ ตามิซมา เป็น ทฺราวิฑ บางส่วนกล่าวว่า ทฺราวิฑ มาจากรากศัพท์ของคำว่า กันณฑะ (กันนาดา) และเป็นจุดเริ่มต้นของคำ ทมิฬ

ในงานของภทริวารุ กฤษณมุรตี (2003) กล่าวว่าคำว่า ทฺราวิฑ มาจากคำว่า ทรามิละ ซึ่งใช้เรียกกลุ่มชน ต่อมาจึงใช้เรียกประเทศ ข้อมูลทางพุทธศาสนาและศาสนาเชนรุ่นแรกๆ ใช้คำว่า ทรามิละ หมายถึงคนที่อยู่ทางตอนใต้ของอินเดีย (อาจจะกลายมาเป็น ทมิฬ) จารึกภาษาสิงหลยุคก่อนคริสตกาลมีคำว่า ทาเมฑา-ทาเมลา หมายถึงพ่อค้าชาวทมิฬ การเปลี่ยนจาก ทมิฬ มาเป็น ทฺราวิฑ อาจได้อิทธิพลมาจากการทำให้เป็นสันสกฤต

ภาษากลุ่มดราวิเดียนมีผู้พูดมากกว่า 200 ล้านคน ไม่มีความเกี่ยวข้องกับภาษากลุ่มอินโด-อารยันที่ใช้พูดทั่วไปในอินเดีย บางครั้ง นักภาษาศาสตร์จัดให้ภาษากลุ่มนี้อยู่ในตระกูลภาษาอีลาโม-ดราวิเดียนโดยรวมภาษาอีลาไมต์ที่ตายไปแล้วด้วย

ตระกูลภาษาดราวิเดียนมีอิทธิพลต่อโครงสร้างและประโยคของภาษากลุ่มอินโด-อารยันมากกว่าที่ภาษากลุ่มอินโด-อารยันจะมีอิทธิพลต่อภาษากลุ่มดราวิเดียน

ประวัติศาสตร์ แก้

จุดกำเนิดและพัฒนาการในช่วงต่อมาของตระกูลภาษาดราวิเดียนยังไม่แน่นอน จากการที่ภาษาอีลาไมต์ไม่มีความเชื่อมโยงกับภาษาตระกูลใดเลยไม่ว่าจะเป็นตระกูลภาษาญี่ปุ่น ภาษาบาสก์ ภาษาเกาหลี ภาษาซูเมอร์ ภาษาท้องถิ่นในออสเตรเลีย และภาษาของอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ จากทฤษฎีที่ว่าภาษากลุ่มดราวิเดียนมีความคล้ายคลึงกับภาษากลุ่มยูรัล ซึ่งอาจจะเคยมีการติดต่อกันมาในอดีตจึงเชื่อมโยงภาษากลุ่มดราวิเดียนเข้ากับภาษาอีลาไมต์แต่ยังมีข้อโต้แย้งอยู่

นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่ชอบที่จะเชื่อทฤษฎีที่ว่าตระกูลภาษาดราวิเดียนแผ่ขยายลงทางใต้ และไปทางตะวันออกของอินเดียภาคพื้นทวีป เชื่อว่าภาษาดราวิเดียนดั้งเดิมแยกออกเป็นภาษาดราวิเดียนเหนือดั้งเดิม ภาษาดราวิเดียนกลางดั้งเดิม ภาษาดราวิเดียนกลาง-ใต้ดั้งเดิม และภาษาดราวิเดียนใต้ดั้งเดิมเมื่อราว พ.ศ. 43 อย่างไรก็ตาม มีนักภาษาศาสตร์บางส่วนเชื่อว่าการแยกตัวน่าจะเกิดก่อนหน้านั้น

ไวยากรณ์ แก้

ลักษณะสำคัญของตระกูลภาษาดราวิเดียนได้แก่ เป็นภาษารูปคำติดต่อ แยกสรรพนามบุรุษที่ 1 พหูพจน์ที่รวมและไม่รวมผู้ฟัง มีการแบ่งประเภทของคำที่สำคัญได้แก่ นาม คุณศัพท์ กริยา และคำช่วยอื่น ๆ ภาษาดราวิเดียนดั้งเดิมใช้เฉพาะปัจจัยไม่มีอุปสรรคหรืออาคมในโครงสร้าง รากศัพท์มักอยู่ตอนต้นของคำ นาม กริยาและคำช่วยเป็นระดับของคำเริ่มต้น มีสองพจน์ และระบบเพศต่างกัน 4 แบบ โดยอาจจะเป็น ผู้ชาย: ไม่ใช่ผู้ชายในรูปเอกพจน์ และบุคคล: ไม่ใช่บุคคลในรูปพหูพจน์

การเรียงคำมีรูปแบบแน่นอนแต่ก็เปลี่ยนแปลงได้ กาลเริ่มต้นมีแค่อดีตกับไม่ใช่อดีต กาลปัจจุบันมีการพัฒนาภายหลังและเป็นอิสระในแต่ละภาษา กริยามีรูปสกรรมกริยา อกรรมกริยาและรูปที่เป็นสาเหตุ โดยมีทั้งรูปประธานกระทำและประธานถูกกระทำ

สัทวิทยา แก้

ภาษาดราวิเดียนดั้งเดิมมีเสียสระสั้นและยาวของเสียง a e i o u มีสระสั้นยาวต่างกันเป็นคู่ชัดเจน ไม่มีสระประสม เสียงกักเกิดจากโคนฟัน กลายเป็นเสียงรัวเกิดจากโคนฟัน โดยยังคงเป็นเสียงกักในภาษาโกตะและภาษาโตทะ ภาษามลยาฬัมสามารถรักษาเสียงกักดั้งเดิมในการเขียน ในภาษาทมิฬโบราณมีการใช้สระที่อกเสียงคล้ายกับเสียงกักอื่นๆ เสียงนาสิกที่เกิดจากเพดานอ่อนเกิดเฉพาะก่อนเสียง k ในภาษาดราวิเดียนดั้งเดิม เช่นเดียวกับในภาษาลูกหลานหลายภาษา เสียงนี้ไม่จัดเป็นหน่วยเสียงในภาษาดราวิเดียนดั้งเดิม แต่เป็นหน่วยเสียงในภาษามลยาฬัม ภาษาโคณฑี และภาษาโกนทะ เสียงเสียดแทรกจากเส้นเสียงพบในภาษาทมิฬโบราณ

ภาษากลุ่มดราวิเดียนไม่มีการแยกระหว่างเสียงที่มีและไม่มีลม ในขณะที่ภาษาดราวิเดียนบางภาษา เช่น ภาษามลยาฬัม ภาษากันนาดาและภาษาเตลูกูได้ยอมรับคำยืมจำนวนมากจากภาษาสันสกฤตและภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนอื่นๆ ทำให้มีการแยกเสียงที่ก้องและเสียงที่มีลม ส่วนในภาษากลุ่มดราวิเดียนอื่นๆจะมีวิธีการออกเสียงที่แปลกไป ในขณะที่ภาษาทมิฬมีลักษณะเช่นเดียวกับภาษาฟิน ภาษาเกาหลี ภาษาไอนุและภาษาของชนพื้นเมืองในออสเตรเลียส่วนใหญ่คือไม่แยกระหว่างเสียงกักก้องและไม่ก้อง

มีคำจำนวนมากที่ขึ้นต้นและลงท้ายด้วยเสียงสระซึ่งช่วยให้การเรียงคำแบบรูปคำติดต่อง่ายขึ้น ตัวเลขจาก 1-10 มีความหลากหลายในตระกูลภาษาดราวิเดียน ตัวอย่างเช่น ตัวเลขจากภาษาทมิฬและภาษามลยาฬัมใกล้เคียงกับภาษาโกลามี เลข 5-10 ยืมมาจากภาษาเตลูกู คำที่บอกอันดับที่สองยืมมาจากกลุ่มภาษาอินโด-อิเรเนียนเป็นต้น

อิทธิพลต่อภาษาสันสกฤต แก้

ภาษาสันสกฤตและกลุ่มภาษาดาวิเดียนมีอิทธิพลต่อกันในหลายด้าน มุมมองในยุคแรกมักเน้นอิทธิพลของภาษาสันสกฤตต่อกลุ่มภาษาดราวิเดียน ในด้านที่ว่ากลุ่มภาษาดราวิเดียน เช่น ภาษากันนาดา ภาษามลยาฬัม ภาษาทมิฬและภาษาเตลูกูได้รับอิทธิพลจากภาษาสันสกฤตในด้านคำศัพท์ ไวยากรณ์ และรูปแบบการเขียนวรรณคดี

การศึกษาในปัจจุบัน เริ่มมีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าภาษาสันสกฤตได้รับอิทธิพลจากกลุ่มภาษาดราวิเดียนมากขึ้นทั้งในด้านสัทวิทยาและโครงสร้างไวยากรณ์ ซึ่งพบตั้งแต่ราว 657 ปีก่อนพุทธศักราช ในยุคของภาษาสันสกฤตพระเวท โดยในยุคนี้ ภาษาสันสกฤตมีเสียงม้วนลิ้น ซึ่งภาษาในกลุ่มอินโด-อิเรเนียนไม่มีเสียงนี้ จึงเป็นข้อสังเกตว่าน่าจะได้รับหน่วยเสียงนี้มาจากภาษาอื่น ซึ่งกลุ่มภาษาดราวิเดียนมีหน่วยเสียงเหล่านี้มาก อิทธิพลในด้านไวยากรณ์ที่สำคัญคือ การใช่เครื่องหมาย iti และการใช้รูปอาการนามของคำกริยาซึ่งไม่พบในภาษาอเวสตะ ที่เป็นภาษาพี่น้องของภาษาสันสกฤตพระเวท

รายชื่อภาษาในตระกูล แก้

อ้างอิง แก้

  1. Nordhoff, Sebastian; Hammarström, Harald; Forkel, Robert; Haspelmath, Martin, บ.ก. (2013). "Dravidian". Glottolog 2.2. Leipzig: Max Planck Institute for Evolutionary Anthropology.