ดุสิต เฉลิมแสน เป็นอดีตนักฟุตบอลชาวไทยในตำแหน่งกองหลัง ถนัดเท้าซ้าย โด่งดังมาจากทีมชาติไทยยุคดรีมทีม ล่าสุดเป็นผู้อำนวยการฝ่ายเทคนิคของพีที ประจวบ ในไทยลีก

ดุสิต เฉลิมแสน
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม ดุลิต เฉลิมแสน
วันเกิด 22 เมษายน พ.ศ. 2513 (54 ปี)
สถานที่เกิด จังหวัดสกลนคร ประเทศไทย
ส่วนสูง 1.84 เมตร (6 ฟุต 0 นิ้ว)
ตำแหน่ง กองหลัง
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
2532-2536 เพื่อนตำรวจ 92 (6)
2537-2542 บีอีซี เทโรศาสน 133 (14)
2542-2544 โมฮันบากัน 44 (7)
2544-2545 บีอีซี เทโรศาสน 27 (2)
2546-2550 ฮหว่างอัญซาลาย 89 (7)
2551 เพื่อนตำรวจ 11 (0)
ทีมชาติ
2539–2547 ไทย 124 (14)
จัดการทีม
2549–2550 ฮหว่างอัญซาลาย (ผู้ช่วย)
2551–2552 ฮหว่างอัญซาลาย
2554 ฮหว่างอัญซาลาย
2554 ศรีราชา
2555 พีทีที ระยอง
2556–2557 การท่าเรือ
2558–2559 พีที ประจวบ
2559–2560 ศรีสะเกษ
2560 ลาว
2560–2561 ตราด
2562–2564 บีจี ปทุม ยูไนเต็ด
2564 ราชประชา
2564 การท่าเรือ
2564–2565 บีจี ปทุม ยูไนเต็ด
2565 ลำพูน วอร์ริเออร์
2565–2566 พีที ประจวบ
2566–2567 พีที ประจวบ (รักษาการ)
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น

ประวัติการเล่นฟุตบอล แก้

ดุสิต เฉลิมแสน มีชื่อเล่นว่าโอ่ง เกิดเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2513 ที่จังหวัดสกลนคร และเดินทางมาศึกษาต่อที่สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี โดยลงเล่นฟุตบอลระดับนักเรียนให้สถาบัน และเล่นในระดับสโมสรเป็นครั้งแรกกับสโมสรโรงเรียนศาสนวิทยา ที่กำลังก่อตั้งทีมในช่วงแรก ๆ (ปัจจุบันคือสโมสรบีอีซี เทโรศาสน)

ในระดับสโมสรดุสิตเคยเล่นให้กับ เพื่อนตำรวจ บีอีซี เทโรศาสน โมฮันบากัน ที่ประเทศอินเดีย ก่อนกลับมาประเทศไทย โดยลงเล่นให้กับ บีอีซี เทโรศาสน เป็นครั้งที่ 2 แล้วย้ายไปเล่นให้กับฮหว่างอัญซาลาย ที่ประเทศเวียดนาม จากการชักชวนของ เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง และกลับมาประเทศไทย ลงเล่นให้กับ เพื่อนตำรวจ เป็นครั้งที่ 2 และเป็นสโมสรสุดท้ายในการเป็นนักฟุตบอลของดุสิต

ในระดับทีมชาตินั้น ดุสิตลงเล่นให้กับทีมชาติไทย 124 นัด ยิงประตูให้กับทีมชาติไปทั้งหมด 14 ประตู

การยิงประตูให้กับทีมชาติชุดใหญ่ แก้

# วันที่ สถานที่ คู่แข่งขัน สกอร์ ผล รายการ
1. 3 ตุลาคม พ.ศ. 2537 ฮิโรชิมะ, ประเทศญี่ปุ่น   ฮ่องกง 1-2 แพ้ เอเชียนเกมส์ 1994
2. 5 ตุลาคม พ.ศ. 2537 ฮิโรชิมะ, ประเทศญี่ปุ่น   ซาอุดีอาระเบีย 1-3 แพ้ เอเชียนเกมส์ 1994
3. 5 ตุลาคม พ.ศ. 2537 ฮิโรชิมะ, ประเทศญี่ปุ่น   ซาอุดีอาระเบีย 2-4 แพ้ เอเชียนเกมส์ 1994
4. 27 มิถุนายน พ.ศ. 2539 กรุงเทพ, ประเทศไทย   มัลดีฟส์ 8-0 ชนะ เอเชียนคัพ 1996 รอบคัดเลือก
5. 29 มิถุนายน พ.ศ. 2539 กรุงเทพ, ประเทศไทย   พม่า 5-1 ชนะ

เอเชียนคัพ 1996 รอบคัดเลือก

6. 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 สิงคโปร์   มัลดีฟส์ 8-0 ชนะ เอเชียนคัพ 1996 รอบคัดเลือก
7. 11 ธันวาคม พ.ศ. 2539 ดูไบ, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์   อิรัก 1-4 แพ้ เอเชียนคัพ 1996
8. 15 มีนาคม พ.ศ. 2540 กรุงเทพ, ประเทศไทย   ญี่ปุ่น 3-1 ชนะ กระชับมิตร
9. 30 มีนาคม พ.ศ. 2540 เกาะฮ่องกง, ฮ่องกง   ฮ่องกง 2-3 แพ้ ฟุตบอลโลก 1998 รอบคัดเลือก
10. 25 มกราคม พ.ศ. 2541 กรุงเทพ, ประเทศไทย   อียิปต์ 1-1 เสมอ คิงส์คัพ 1998
11. 8 ธันวาคม พ.ศ. 2541 กรุงเทพ, ประเทศไทย   คาซัคสถาน 1-1 เสมอ เอเชียนเกมส์ 1998
12. 14 สิงหาคม พ.ศ. 2542 บันดาร์เซอรีเบอกาวัน, บรูไน   เวียดนาม 2-0 ชนะ ซีเกมส์ 1999
13. 3 กันยายน พ.ศ. 2543 ปักกิ่ง, ประเทศจีน   อุซเบกิสถาน 4-2 ชนะ การแข่งขันกระชับมิตร
14. 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 เชียงใหม่, ประเทศไทย   อินโดนีเซีย 4-1 ชนะ ไทเกอร์ คัพ 2000

ประวัติการจัดการทีมฟุตบอล แก้

เกียรติประวัติ แก้

นักฟุตบอล แก้

ฮอง อันห์ ยาลาย
ทีมชาติไทย
รางวัลส่วนตัว

หัวหน้าผู้ฝึกสอน แก้

การท่าเรือ
ตราด เอฟซี
บีจี ปทุม ยูไนเต็ด

แหล่งข้อมูลอื่น แก้