ดีดีอาร์ เอสดีแรม

หน่วยความจำเข้าถึงข้อมูลโดยสุ่มแบบพลวัตซิงโครนัสที่มีอัตราข้อมูลสองเท่า (อังกฤษ: Double data rate synchronous dynamic random-access memory, DDR SDRAM) หรือ ดีดีอาร์ เอสดีแรม นิยมเรียกว่า ดีดีอาร์แรม คือชื่อเรียกระดับชั้นของหน่วยความจำที่มีลักษณะเป็นวงจรรวม และถูกใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ในบางครั้งการเรียก DDR SDRAM ก็หมายถึง DDR1 SDRAM ซึ่งในปัจจุบันถูกแทนที่ด้วย DDR2 SDRAM และ DDR3 SDRAM ซึ่งมีความเร็วสูงกว่า แต่สามารถกล่าวรวมได้ว่าแรมต่างๆ ที่กล่าวมานั้นเป็นประเภทเดียวกันนั่นคือ ดีดีอาร์ เอสดีแรม แต่แรมทั้งสามชนิดนั้นไม่สามารถใช้ร่วมกันได้ กล่าวคือในแผงหลัก (motherboards) ที่รองรับ DDR1 SDRAM ก็จะไม่รองรับแรม 2 ชนิดที่เหลือ

หน้าตาของหน่วยความจำ DDR-266 ทั่วไปซึ่งมี 184 พินแบบ DIMM
หน่วยความจำ Corsair DDR-400 และมีแผ่นกระจายความร้อนติดตั้งอยู่

เมื่อเปรียบเทียบกับ SDR (single data rate) หรือ SDRAM ที่มีอัตราข้อมูลปกติ (เท่าเดียว) นั้น DDR จะมีอัตราข้อมูลสูงกว่าอันเนื่องจากมีการส่งข้อมูลสองครั้งต่อหนึ่งจังหวะสัญญาณนาฬิกา (ทั้งขาขึ้น และขาลง) [1] ต่างกับ SDR ที่จะส่งข้อมูลเพียงครั้งเดียวต่อหนึ่งรอบสัญญาณนาฬิกา ทำให้แม้ว่าความถี่สัญญาณนาฬิกาจะเท่ากันแต่ DDR ก็สามารถส่งข้อมูลมากกว่าเป็นสองเท่า และนี่ก็เป็นที่มาของคำว่า "อัตราข้อมูลสองเท่า" (DDR) ที่อยู่ในชื่อของหน่วยความจำชนิดนี้นั่นเอง อีกทั้งการรักษาความถี่สัญญาณนาฬิกาให้ต่ำยังจะช่วยรักษาความสมบูรณ์ของสัญญาณอีกด้วย

ด้วยการส่งข้อมูล 64 บิตต่อครั้ง ทำให้ DDR SDRAM มีอัตราการการส่งข้อมูลสูงสุดเท่ากับ (ความถี่สัญญาณนาฬิกา) × 2 (ส่งข้อมูล 2 ครั้งต่อรอบ) × 64 (จำนวนบิตของข้อมูลที่ถูกส่งต่อครั้ง) / 8 (แปลงหน่วยบิตเป็นหน่วยไบต์) จะเห็นว่าสำหรับ DDR SRAM ที่มีความถี่สัญญาณนาฬิกาที่ 100 MHz จะมีอัตราการส่งข้อมูลสูงสุดถึง 1600 MB/s

อ้างอิง แก้