ดาวหางโฮมส์ (อังกฤษ: 17P/Holmes) เป็นดาวหางที่มีวงโคจรสั้น โคจรรอบดวงอาทิตย์ในระยะเวลาประมาณ 7 ปี ค้นพบโดยนักดาราศาสตร์สมัครเล่นชาวอังกฤษ ชื่อ เอ็ด วิน โฮมส์ ในปี ค.ศ. 1892 ดาวหางโฮมส์มีวงโคจรอยู่ระหว่างดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี ปัจจุบันดาวหางโฮมส์ปรากฏอยู่ในท้องฟ้าในกลุ่มดาวเปอร์ซีอุส (Perseus) ห่างจากดาวอัลฟาเปอร์ซิไอ (Alpha-Persei) ไปทางตะวันออกประมาณ 4 องศา และจะปรากฏอยู่ในกลุ่มดาวเปอร์ซีอุสไปจนถึงประมาณต้นปี พ.ศ. 2551

ภาพแสดงวงโครจรของดาวหางโฮมส์


การสังเกต แก้

โดยปกติมักจะไม่เป็นที่สนใจเนื่องจากไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า ในวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2550 เกิดปรากฏการณ์การปลดปล่อยฝุ่นละอองและก๊าซออกมาจากตัวดาวหางอย่างรุนแรง (outburst) ทำให้ดาวหางมีความสว่างขึ้นทันทีทันใดถึงประมาณ 1 ล้านเท่า จนสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า ในระหว่างวันที่ 25-28 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ดางหางโฮมส์มีความสว่างปรากฏถึงค่าประมาณ 2.0-2.5 โชติมาตร มี โคมา (coma) ที่มองเห็นได้ชัดด้วยตาเปล่า [1]

การสังเกตในประเทศไทย

ประเทศไทยสามารถมองเห็นดาวหางโฮมส์ได้โดยหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งแต่เวลาประมาณสองทุ่มหรือสามทุ่มเป็นต้นไป จะเริ่มเห็นได้ดีในช่วงที่ดาวหางขึ้นสูงห่างจากขอบฟ้ามากกว่านั้น คือช่วงเวลาตั้งแต่ 4-5 ทุ่ม ไปจนถึงก่อนฟ้าสางซึ่งดาวหางจะเคลื่อนไปทางซ้ายมือ และมีตำแหน่งไม่เปลี่ยนแปลงมากนักเมื่อเทียบกับดาวฤกษ์ ดาวหางดวงนี้จะดูเหมือนดาวฤกษ์ ไม่มีหางปรากฏให้เห็น กล้องโทรทรรศน์กำลังขยายสูงจะช่วยให้เห็นว่าดาวหางมีหมอกฝ้าปกคลุมอยู่โดยรอบ [2]

อ้างอิง แก้

  1. ศรัณย์ โปษยะจินดา, บ.ก. (2007-11-05). "ไอที-วิทยาการ ≫ ดาวหางโฮมส์". เดลินิวส์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-06.
  2. "ดาวหางโฮมส์ (17P/Holmes) มีโชติมาตร 2.8!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-19. สืบค้นเมื่อ 2007-11-07.