ดาวฤกษ์ชนิด ที วัว

ดาวฤกษ์ชนิด ที วัว (อังกฤษ: T Tauri Star: TTS) เป็นดาวแปรแสงชนิดหนึ่ง ตั้งชื่อตามดาวต้นแบบของมันคือดาวที วัว (อังกฤษ: T Tauri) มักพบในบริเวณใกล้เมฆโมเลกุล สามารถระบุได้จากการเปลี่ยนแปลงของแสงและโครโมสเฟียร์ที่มีกำลังสูง

ภาพวาดดาวฤกษ์ ที วัว กับแผ่นจานพอกพูนมวล

ดาวฤกษ์ชนิด ที วัว เป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ในสภาวะก่อนเข้าสู่แถบลำดับหลัก คือดาวฤกษ์อายุน้อยที่สุดที่มองเห็นได้ ในระดับสเปกตรัมเอฟ จี เค และเอ็ม (มีมวลน้อยกว่า 2 เท่าของมวลดวงอาทิตย์) อุณหภูมิพื้นผิวมีค่าใกล้เคียงกับดาวฤกษ์บนแถบลำดับหลักที่มีมวลใกล้เคียงกัน แต่มีความส่องสว่างมากกว่าอย่างมากเพราะรัศมีของมันใหญ่กว่า อุณหภูมิในใจกลางยังค่อนข้างต่ำสำหรับฟิวชั่นของไฮโดรเจน พลังงานของมันมาจากการปลดปล่อยพลังงานแรงโน้มถ่วงเพื่อเข้าสู่แถบลำดับหลัก ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 100 ล้านปี โดยทั่วไปดาวฤกษ์กลุ่มนี้มักหมุนรอบตัวเองในเวลาระหว่าง 1-12 วัน ขณะที่ดวงอาทิตย์ของเราใช้เวลาหมุนรอบตัวเองราว 1 เดือน

ดูเพิ่ม แก้