ดาวฤกษ์ก่อนแถบลำดับหลัก

ดาวฤกษ์ก่อนแถบลำดับหลัก (วัตถุ PMS) เป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ในขั้นที่ยังไม่เข้าสู่แถบลำดับหลัก สามารถแบ่งออกได้เป็นชนิด T Tauri หรือ FU Orionis (มีมวลน้อยกว่า 2 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ หรือ Herbig Ae/Be (มีมวล 2-8 เท่าของมวลดวงอาทิตย์)

แหล่งพลังงานของวัตถุเหล่านี้เกิดจากการหดเกร็งของมวลโน้มถ่วง (ซึ่งตรงกันข้ามกับการเผาผลาญไฮโดรเจนในดาวฤกษ์แถบลำดับหลัก) บนไดอะแกรมของแฮร์ทสชปรุง-รัสเซลล์ ระยะก่อนแถบลำดับหลักของดาวฤกษ์ที่มีมวลมากกว่า 0.5 เท่าของมวลดวงอาทิตย์จะเริ่มเคลื่อนไปตาม Hayashi tracks (เกือบจะลงตามแนวตั้ง) และในภายหลังตาม Henyey tracks (เกือบจะไปทางซ้ายตามแนวนอน ไปยังแถบลำดับหลัก)

ดาวฤกษ์ก่อนแถบลำดับหลักสามารถแยกแยะออกจากดาวแคระในแถบลำดับหลักได้โดยใช้กาารแยกชนิดสเปกตรัมเพื่อตรวจวัดสหสัมพันธ์ระหว่างแรงโน้มถ่วงและอุณหภูมิ ดาวฤกษ์ก่อนเกิดจะมีรัศมีใหญ่กว่าดาวฤกษ์ในแถบลำดับหลัก จึงมีความหนาแน่นน้อยกว่า และมีแรงโน้มถ่วงพื้นผิวน้อยกว่าด้วย

ในขณะที่สสารที่อยู่โดยรอบยุบตัวลงไปสู่การควบแน่นศูนย์กลาง มันจะกลายมาเป็น โปรโตสตาร์ เมื่อแก๊สหรือฝุ่นที่อยู่โดยรอบกระจายไปและกระบวนการเพิ่มหยุด ดาวฤกษ์จะถูกพิจารณาว่าเป็นดาวฤกษ์ก่อนแถบลำดับหลัก ดาวฤกษ์ก่อนแถบลำดับหลักจะสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าหลังจากเส้นเกิดดาวฤกษ์ ระยะก่อนแถบลำดับหลักจะกินเวลาน้อยกว่า 1% ของชีวิตของดาวฤกษ์

เป็นที่เชื่อกันว่าในระยะนี้ ดาวฤกษ์ทั้งหมดจะมีแผ่นจานดาวฤกษ์หนาแน่น ซึ่งอาจเป็นแหล่งการเกิดของดาวเคราะห์