นายดาบชัย อัคราช อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร 4 สมัย และอดีตนายกเทศมนตรีเมืองสกลนคร 4 สมัย[1]

ดาบชัย อัคราช
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
17 มีนาคม พ.ศ. 2518 – 12 มกราคม พ.ศ. 2519
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
21 เมษายน พ.ศ. 2519 – 23 กันยายน พ.ศ. 2519
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
5 ตุลาคม – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด10 ธันวาคม พ.ศ. 2468
อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร
เสียชีวิต23 มกราคม พ.ศ. 2546 (77 ปี)
คู่สมรสทิพวัลย์ อัคราช

ประวัติ แก้

นายดาบชัย อัคราช เป็นบุตรของนายโส และนางพรหมมา อัคราช เกิดที่บ้านงิ้ว ตำบลปลาโหล อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2468 สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล จังหวัดสกลนคร ด้านครอบครัวสมรสกับนางทิพวัลย์ อัคราช มีบุตร 6 คน คือ

  • นายดิเรก อัคราช อดีต ส.ส.สกลนคร
  • นายดิลก อัคราช อดีตนายกเทศมนตรีเมืองสกลนคร
  • นางชายา มุ่งดี
  • นายศักดา อัคราช
  • นายสุรเดช อัคราช ผู้อำนวยการสํานักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดมุกดาหาร
  • นายเดชา อัคราช

การทำงาน แก้

นายดาบชัย อัคราช เริ่มทำงานเป็นครูที่โรงเรียนราษฎร์อนุกูลวิทยา ต่อมาเริ่มทำงานการเมืองโดยสมัครรับเลือกตั้งได้เป็นสมาชิกสภาเทศบาลเมืองสกลนคร ในปี พ.ศ. 2497 และเป็นสมาชิกสภาจังหวัด (ส.จ.) ในปี พ.ศ. 2498 กระทั่งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร สังกัดพรรคเสรีประชาธิปไตย จนถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เข้ายึดอำนาจการปกครองประเทศ จึงเป็นอันสั้นสุดการปฏิบัติหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในครั้งนั้น

ต่อมานายดาบชัย อัคราช ได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 สังกัดพรรคชาติไทย และสมัยที่ 4 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 สังกัดพรรคชาติประชาชน

นายดาบชัย เคยได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ในปี พ.ศ. 2518 เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ[2] และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เมื่อปี พ.ศ. 2519[3] แต่คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลง เพราะคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน อันมี พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ เป็นหัวหน้า ได้กระทำการยึดอำนาจ การปกครองแผ่นดินเป็นผลสำเร็จ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519[4] จึงเป็นคณะรัฐมนตรีที่มีอายุสั้นที่สุดด้วยคือ 12 วัน และได้เข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณเพียงวันเดียวก็ต้องพ้นจากตำแหน่ง ทำให้ได้รับฉายาว่า "รัฐบาลวันเดียว"

นายดาบชัย อัคราช เป็นผู้ร่วมก่อตั้งพรรคสยามประชาธิปไตย และดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค ในคณะกรรมการบริหารพรรคชุดแรก[5]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แก้

ดาบชัย อัคราช ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 4 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 จังหวัดสกลนคร สังกัดพรรคเสรีประชาธิปไตย (พ.ศ. 2498)[6]
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 จังหวัดสกลนคร สังกัดพรรคชาติไทย
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 จังหวัดสกลนคร สังกัดพรรคชาติไทย
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 จังหวัดสกลนคร สังกัดพรรคชาติประชาชน (พ.ศ. 2522)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. http://www.kkppn.com/?cid=1038969
  2. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๕ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2015-07-01.
  3. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2015-07-01.
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แถลงการณ์ของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน (แถลงการณ์การยึดอำนาจการปกครอง) เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๑๒๐ วันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง (สยามประชาธิปไตย) เล่ม 100 ตอนที่ 8 วันที่ 20 มกราคม 2526
  6. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๖, ๑๘ เมษายน ๒๕๒๓
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๒๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕๒, ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๘
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน เก็บถาวร 2022-07-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๓๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๙, ๙ เมษายน ๒๕๑๔