ดอนนี เนียเตส

(เปลี่ยนทางจาก ดอนนี่ เนียเตส)

ดอนนี เนียเตส (อังกฤษ: Donnie Nietes) นักมวยสากลชาวฟิลิปปินส์ เกิดเมื่อ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2525 ที่เมืองมูร์เซีย จังหวัดบาโกโลด ถือเป็นนักมวยสากลชาวฟิลิปปินส์ที่ครองตำแหน่งแชมป์โลกด้วยระยะเวลายาวนานที่สุด คือ 8 ปี 11 เดือน [1] และเป็นนักมวยชาวฟิลิปปินส์คนที่ 3 ที่ได้แชมป์โลกมากถึง 4 รุ่น ต่อจากแมนนี่ ปาเกียว และโนนิโต โดแนร์[2]

ดอนนี เนียเตส
ชื่อจริงดอนนี ลิบูน เนียเตส
(Donnie Liboon Nietes)
ฉายาAhas
(งู)
ไอ้งูเหลือม
(ฉายาในประเทศไทย[1])
รุ่นสตรอร์วเวท
ไลท์ฟลายเวท
ฟลายเวท
ซูเปอร์ฟ​ลาย​เวท​
ส่วนสูง160 เซนติเมตร (5 ฟุต 3 นิ้ว)
เกิด13 พฤษภาคม พ.ศ. 2525 (41 ปี)
เมืองมูร์เซีย
จังหวัดบาโกโลด
ชกทั้งหมด48
ชนะ42
ชนะน็อก23
แพ้1
เสมอ5

ประวัติ แก้

เนียเตสขึ้นชกมวยสากลอาชีพครั้งแรกเมื่อ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 ชนะคะแนน วัลเตอร์ ซวยบาเกียว ที่ ฟิลิปปินส์ จากนั้น เนียเตสชกชนะรวดถึง 6 ครั้ง มีเสมอกับเกรก มันกันเพียงครั้งเดียว เนียเตสได้ครองแชมป์ฟิลิปปินส์รุ่นไลท์ฟลายเวทเมื่อ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 โดยเป็นฝ่ายชนะน็อค โจเซฟ วีญาซิส ยก 1 ชกชนะอีก 3 ครั้ง ก่อนจะแพ้เป็นครั้งแรกเมื่อ 28 กันยายน พ.ศ. 2547 โดยไปแพ้คะแนนแองกี้ แองโกตาที่อินโดนีเซีย หลังจากนั้น เนียเตสไม่เคยแพ้ใครอีกเลยจนได้ครองแชมป์ WBO เอเชียรุ่นมินิฟลายเวท โดยขึ้นชิงแชมป์ที่ว่าง ชนะน็อคเฮรี อาโมล ยก 2 เมื่อ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ป้องกันตำแหน่งไว้ได้ 2 ครั้ง

ต่อมา ตำแหน่งแชมป์โลก WBO รุ่นมินิฟลายเวท ว่างลง เนียเตสได้ชิงแชมป์โลกที่ว่างกับพรสวรรค์ ป.ประมุข เมื่อ 30 กันยายน พ.ศ. 2550 การชกเป็นไปอย่างสูสี โดยเนียเตสชกพรสวรรค์ลงไปนับแปดได้ในยกที่ 4 และพรสววรค์ถูกตัดคะแนนในยกที่ 10 เพราะชกต่ำกว่าเข็มขัด ในที่สุดเนียเตสเป็นฝ่ายชนะคะแนนได้อย่างเป็นเอกฉันท์ ได้แชมป์โลกมาครอง และป้องกันตำแหน่งไว้ได้ 4 ครั้ง จากนั้น เนียเตสได้สละแชมป์โลกรุ่นมินิฟลายเวท และขึ้นไปชิงแชมป์โลก WBO รุ่นจูเนียร์​ฟลายเวท เมื่อ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ชนะคะแนน ราโมน การ์ซิอา อิราเลส ที่ ฟิลิปปินส์ ได้ครองตำแหน่งแชมป์โลก และป้องกันตำแหน่งไว้ได้อย่างยาวนานมากถึง 13 ครั้ง ถือว่ามากที่สุดในบรรดานักมวยฟิลิปปินส์ และได้รับยกย่องให้เป็นแชมป์โลกเดอะริงอีกด้วย ก่อนจะสละตำแหน่งไปเองในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559 เพื่อขยับขึ้นไปชกในรุ่นฟลายเวท[1]

เมื่อ 29 เมษายน พ.ศ. 2560 เนียเตสได้แชมป์โลกในรุ่นที่ 3 เป็นแชมป์โลกของ IBF ในรุ่นฟลายเวท โดยเอาชนะคะแนน เอกตะวัน บีทียูเรือไวกิ้ง นักมวยชาวไทย ในการชิงที่ว่าง ที่เดอะริเวอร์ฟรอนต์ เมืองเซบู ด้วยคะแนนอย่างเป็นเอกฉันท์ 117-111, 115-113 และ 117-111[3] และทำให้กลายเป็นนักมวยชาวฟิลิปปินส์คนที่ 3 ที่ได้แชมป์โลก 3 รุ่น ต่อจากแมนนี ปาเกียว และโนนิโต โดแนร์

ฉายา แก้

ดอนนี เนียเตส ได้รับฉายาเป็นภาษาตากาล็อกว่า Ahas แปลว่า งู เนื่องจากในวัยเด็ก ภารกิจของเนียเตสในโรงยิมอาลา คือ การทำความสะอาดบ่อเลี้ยงงู ซึ่งเลี้ยงงูพิษและงูเหลือมขนาดใหญ่ถึง 5 ตัว เนียเตสเป็นเด็กเพียงคนเดียวที่กล้าทำ เนียเตสถูกงูกัดหลายครั้ง จนกระทั่งคุ้นเคยกับงู และไม่เคยถูกกัดอีกเลย และเมื่องูตัวหนึ่งวางไข่ทั้งหมด 11 ฟอง แต่เหลือรอดมาได้เพียงฟองเดียว เนียเตสก็นำมาอนุบาล จนถึงทุกวันนี้ก็ยังคงทำอยู่ จึงเป็นที่มาของชื่อฉายานี้[4]

เกียรติประวัติ แก้

  • แชมป์ฟิลิปปินส์รุ่นไลท์ฟลายเวท(2547)
  • แชมป์ WBO เอเชียแปซิฟิก รุ่นมินิฟลายเวท
    • ชิง, 24 พฤศจิกายน 2549 ชนะน็อค เฮรี อาโมล (อินโดนีเซีย​)​ ยก 2 ที่ ฟิลิปปินส์
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 1, 21 เมษายน 2550 ชนะน็อค ทองไทเล็ก ป.วรสิงห์ (ไทย) ยก 2 ที่ ฟิลิปปินส์
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 2, 7 กรกฎาคม 2550 ชนะทีเคโอ​ แสงเพชร ส.สกุลภัณฑ์ (ไทย) ยก 7 ที่ ฟิลิปปินส์
  • แชมป์โลก WBO รุ่นมินิฟลายเวท
    • ชิง, 30 กันยายน 2550 ชนะคะแนน พรสวรรค์ ป.ประมุข (ไทย) ที่ ฟิลิปปินส์
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 1, 30 สิงหาคม 2551 ชนะน็อค เอดดิ กัสโตร (นิการากัว) ยก 2 ที่ ฟิลิปปินส์
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 2, 28 กุมภาพันธ์ 2552 ชนะคะแนน เอริก รามิเรซ (เม็กซิโก) ที่ เม็กซิโก
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 3, 12 กันยายน 2552 ชนะคะแนน มานูเอล บาร์กัส (เม็กซิโก​) ที่ เม็กซิโก
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 4, 14 สิงหาคม 2553 ชนะคะแนน มาริโอ โรดริเกซ (เม็กซิโก​) ที่ เม็กซิโก
    • สละแชมป์
  • แชมป์โลก WBO รุ่นจูเนียร์ฟลายเวท
    • ชิง, 8 ตุลาคม 2554 ชนะคะแนน ราโมน การ์ซิอา อิราเลส (เม็กซิโก​) ที่ ฟิลิปปินส์
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 1, 2 มิถุนายน 2555 ชนะคะแนน เฟลิเป ซัลเกโร (เม็กซิโก) ที่ ฟิลิปปินส์
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 2, 2 มีนาคม​ 2556 เสมอ มอยเซส ฟูเอนเตส (เม็กซิโก) ที่ ฟิลิปปินส์
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 3, 30 พฤศจิกายน​ 2556 ชนะน็อก ซัมมิ กูเตร์เรซ (เม็กซิโก​) ยก 3 ที่ ฟิลิปปินส์
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 4 และชิงแชมป์โลกเดอะริง, 10 มีนาคม 2557 ชนะทีเคโอ​ มอยเซส ฟูเอนเตส ยก 9 ที่ ฟิลิปปินส์
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 5, 15 พฤศจิกายน​ 2557 ชนะอาร์ทีดี​ การ์โลส เบลาร์เด (เม็กซิโก​) ยก 7 ที่ ฟิลิปปินส์
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 6, 15 มีนาคม 2558 ชนะอาร์ทีดี​ ฆิล​เบร์โต​ ปาร์รา (เม็กซิโก) ยก 9 ที่ ฟิลิปปินส์
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 7, 11 กรกฎาคม​ 2558 ชนะคะแนน ฟรันซิสโก โรดริเกซ ยูนิโอร์ (เม็กซิโก​) ที่ ฟิลิปปินส์
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 8, 17 ตุลาคม​ 2558 ชนะคะแนน ฆวน อาเลโฆ (เม็กซิโก) ที่ สหรัฐอเมริกา​
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 9, 28 พฤษภาคม​ 2559 ชนะอาร์ทีดี​ ราอุล การ์ซิอา (เม็กซิโก) ยก 5 ที่ ฟิลิปปินส์
    • สละแชมป์​
  • แชมป์ WBO อินเตอร์คอนติเนนทอล (แชมป์เงา WBO)​ รุ่นฟลายเวท
    • ชิง 24 กันยายน 2559 ชนะคะแนน เอดการ์ โซซา (เม็กซิโก​) ที่ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
  • แชมป์โลก IBF รุ่นฟลายเวท
    • ชิง 29 เมษายน 2560 ชนะคะแนน เอกตะวัน บีทียูเรือไวกิ้ง (ไทย) ที่ ฟิลิปปินส์
    • ป้องกัน​แชมป์​ครั้ง​ที่​ 1 24 กุมภาพันธ์​ 2561 ชนะทีเคโอ​ ฆวน การ์โลส เรเบโก (อาร์เจน​ติ​นา​) ยก 7 ที่ เดอะฟอรัม รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
    • สละแชมป์​
  • แชมป์โลก WBO รุ่นจูเนียร์แบนตัมเวท
  • แชมป์ WBO International ร​ุ่นจูเนียร์แบนตัมเวท
    • ชิง, 3 เมษายน 2564 ชนะคะแนน ปาโบล การิโย (โคลอมเบีย)​ ที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
  • เคย​ชิงแชมป์​ต่อไปนี้​แต่​ไม่​ส​ำ​เร็จ
    • ชิงแชมป์โลก WBO รุ่นจูเนียร์แบนตัมเวท, 8 กันยายน 2561 เสมอ แอสตัน ปาลิกเต (ฟิลิปปินส์​) ที่ สหรัฐอเมริกา
    • ชิงแชมป์โลก WBO รุ่นจูเนียร์แบนตัมเวท, 13 ก.ค. 2565 แพ้คะแนน​ คาซูโตะ อิโอกะ (ญี่ปุ่น) ที่ ศูนย์กีฬาในร่มอเนกประสงค์เขตโอตะ, โตเกียว, ประเทศญี่ปุ่น

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 หน้า 19 ต่อจากหน้า 17 กีฬา, กำชับเอกตะวัน ระวังไอ้งูเหลือม. เดลินิวส์ฉบับที่ 24,618: วันพุธที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2560 ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 4 ปีระกา
  2. "Donnie Nietes Becomes 3rd Filipino To Be 3 Division World Champion". sports.abs-cbn.com. 2017-04-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-02. สืบค้นเมื่อ 2017-04-30.
  3. MYeemike (2017-04-29). "'เอกตะวัน' ไล่ไม่จน! พ่าย 'เนียเตส' ชวด IBF". smmsport. สืบค้นเมื่อ 2017-04-30.[ลิงก์เสีย]
  4. Henson, Joaquin (4 January 2009). "'Ahas' out to gain recognition". The Philippine Star. p. 20.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้