ดอกจัน (*) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนชนิดหนึ่ง รูปร่างคล้ายดอกของต้นจัน อาจมีห้าแฉก หกแฉก แปดแฉก หรือมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับไทป์เฟซและยูนิโคด โดยปกติการเขียนดอกจันจะเขียนให้สูงขึ้นกว่าข้อความเล็กน้อย ใช้สำหรับเน้นส่วนสำคัญหรือใช้อธิบายเชิงอรรถ เครื่องหมายนี้มีการเรียกอีกชื่อว่า สตาร์ (star) เพราะมีรูปร่างคล้ายรูปดาว

*
ดอกจัน
วรรคตอน
อะพอสทรอฟี   '
วงเล็บ [ ]  ( )  { }  ⟨ ⟩
ทวิภาค :
จุลภาค ,  ،  
จุดไข่ปลา   ...  . . .      
อัศเจรีย์  !
มหัพภาค .
กิลเลอเมต ‹ ›  « »
ยัติภังค์ -
ยัติภาค   
ปรัศนี  ?
อัญประกาศ ‘ ’  “ ”  ' '  " "
อัฒภาค ;
ทับ /    
ตัวแบ่งคำ
อินเตอร์พังก์ ·
เว้นวรรค     
การพิมพ์ทั่วไป
แอมเพอร์แซนด์ &
ดอกจัน *
แอต @
แบ็กสแลช \
เบสิสพอยต์
บุลเลต
แคเรต ^
แดกเกอร์ † ‡ ⹋
องศา °
บุพสัญญา ” 〃
ดับเบิลไฮเฟน = ⸗
อัศเจรีย์กลับหัว ¡
ปรัศนีกลับหัว ¿
เครื่องหมายอ้างอิง
เครื่องหมายคูณ ×
นัมเบอร์, แฮชแท็ก #
นูเมอโร
ออเบอลุส ÷
ตัวบอกลำดับ º ª
สัญลักษณ์ร้อยละ (เปอร์เซ็นต์)  %
สัญลักษณ์พันละ (เปอร์มิลล์)
พิลโครว์
บวกและลบ + −
บวกหรือลบ ± ∓
ไพรม์     
เซกชัน §
ทิลเดอ, ตัวหนอน ~
อันเดอร์สกอร์ _
เส้นตั้ง |    ¦
ทรัพย์สินทางปัญญา
ลิขสิทธิ์ ©
กอปปีเลฟต์ 🄯
ลิขสิทธิ์การอัดเสียง
เครื่องหมายการค้าจดทะเบียน ®
เซอร์วิสมาร์ก
เครื่องหมายการค้า
สกุลเงิน
เครื่องหมายสัญลักษณ์สกุลเงิน ¤

؋฿¢$֏ƒ£元 圆 圓 ¥

การพิมพ์เฉพาะทาง
แอสเทอริซึม
ฟลอวรอน
ดัชนี
อินเทอร์รอแบง
วรรคตอนไอเรอนี
ลอซินจ์
ไท
ที่เกี่ยวข้อง
ในภาษาอื่น ๆ
ในภาษาไทย
โคมูตร
ตีนครุ
ไปยาลน้อย
ไปยาลใหญ่ ฯลฯ
ฟองมัน
ไม้ยมก
อังคั่น , ฯะ, , ๚ะ

สำหรับดอกจันสามตัวที่วางเรียงกันแบบสามเหลี่ยม ( ⁂ ) เรียกว่า แอสเทอริซึม (asterism)

การใช้งาน แก้

การเขียนข้อความ แก้

  • ดอกจันใช้สำหรับกำกับข้อความที่มีการอธิบายไว้ในเชิงอรรถ โดยเฉพาะเมื่อมีเชิงอรรถเพียงอันเดียวในหน้านั้น อย่างไรก็ตาม ดอกจันสามารถใช้กำกับซ้ำหลายตัวเพื่อบ่งบอกเชิงอรรถที่ต่างกัน (เช่น *, **, ***)
  • ดอกจันสามตัว (หรือมากกว่า) ที่วางเรียงอยู่กลางหน้ากระดาษ สามารถใช้แทนเส้นกั้นตามแนวนอนระหว่างส่วนของเนื้อหายาวๆ ได้ ซึ่งจะเป็นจุดสังเกตได้ดีกว่าเส้นตรงธรรมดา
  • ดอกจันสามารถใช้ปิดบังส่วนหนึ่งของคำ เพื่อหลีกเลี่ยงความไม่สุภาพของคำเต็ม (s**t) หรือเพื่อไม่ประสงค์จะออกนามเต็ม (Peter J***) หรือเพื่อหลีกเลี่ยงการทำให้ชื่อนั้นเสื่อมเสีย (G*d)
  • ดอกจันสามารถใช้เป็นสัญลักษณ์นำหัวข้อ (bullet) สำหรับรายการต่างๆ
  • ดอกจันใช้แทน *การเน้น* ในกรณีที่ไม่สามารถใช้ตัวเอนแทนได้
  • ดอกจันสามารถใช้เป็นตัวแทนของการจัดระดับภาพยนตร์ ภัตตาคาร ฯลฯ แทนเครื่องหมายดาว

ภาษาศาสตร์ แก้

ภาษาศาสตร์เชิงประวัติ แก้

ในภาษาศาสตร์เชิงประวัติ ดอกจันใช้วางไว้หน้าคำหนึ่งๆ เพื่อแสดงว่าคำนั้นอาจไม่ถูกต้องโดยตรง แต่ถูกสร้างขึ้นใหม่จากพื้นฐานทางภาษาศาสตร์อื่นๆ ตัวอย่างเช่น คำว่า anilif ในภาษา Proto-Germanic เป็นรูปแบบหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นใหม่

  • *ainlif → endleofan → eleven

ภาษาศาสตร์เพิ่มพูน แก้

ในภาษาศาสตร์เพิ่มพูน ดอกจันมักใช้วางไว้หน้าคำหรือวลี เพื่อแสดงว่าคำหรือวลีนั้นไม่ถูกหลักไวยากรณ์

  • I'm not / *I amn't

ดอกจันที่กำกับหน้าวงเล็บหมายถึง คำหรือวลีที่จำเป็นต้องเติมเพื่อให้ถูกหลักไวยากรณ์ ส่วนดอกจันภายในวงเล็บหมายถึง คำหรือวลีนั้นเมื่อเติมแล้วจะผิดหลักไวยากรณ์

  • go *(to) the station
  • go (*to) home

คอมพิวเตอร์ แก้

วิทยาการคอมพิวเตอร์ แก้

ในวิทยาการคอมพิวเตอร์ ดอกจันถูกใช้ในนิพจน์ปรกติเพื่อแทนการซ้ำของอักษรหรือแพตเทิร์นจำนวน 0 ครั้งหรือมากกว่า การใช้ดอกจันในลักษณะนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า คลีนสตาร์ (Kleene star) หรือ คลีนโคลเชอร์ (Kleene closure) ซึ่งตั้งไว้เพื่อเป็นเกียรติให้กับ สตีเฟน โคล คลีน (Stephen Cole Kleene) นักคณิตศาสตร์ผู้ริเริ่มวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

ในยูเอ็มแอล ดอกจันใช้แทนจำนวนการซ้ำของคลาสจำนวน 0 คลาสหรือมากกว่า

ส่วนต่อประสานคอมพิวเตอร์ แก้

ฐในส่วนต่อประสานรายคำสั่ง (command-line interface) บางชนิด เช่นเชลล์ยูนิกซ์หรือ Command Prompt ของไมโครซอฟท์ ดอกจันถูกใช้เป็นอักขระตัวแทน (wildcard character) หมายถึงสายอักขระใดๆ การใช้งานดอกจันเป็นอักขระตัวแทนปกติใช้สำหรับการค้นหาแฟ้มในคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างเช่น ถ้าผู้ใช้ต้องการหาแฟ้มที่มีชื่อว่า Document 1 การค้นหาด้วยคำสำคัญ Doc* และ D*ment* จะสามารถหาแฟ้มนั้นเจอได้ เป็นต้น

ในส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้บางชนิด โดยเฉพาะกับโปรแกรมประยุกต์บนไมโครซอฟท์ ดอกจันใช้นำหน้าชื่อเอกสารที่เรากำลังทำงานอยู่ซึ่งจะปรากฏบนแถบหัวเรื่องของหน้าต่าง เพื่อใช้แสดงว่าการเปลี่ยนแปลงเอกสารนั้นยังไม่ได้ถูกบัน

ในระบบแฟ้มของคอมโมโดร์ (Commodore) และระบบอื่นที่เกี่ยวข้อง ดอกจันที่แสดงถัดจากชื่อแฟ้มในไดเรกทอรี หมายถึงแฟ้มที่ถูกปิดหลังจากการใช้งานอย่างไม่สมบูรณ์ มักจะเรียกกันว่า splat file

สำหรับแบบฟอร์มบนเว็บเพจ เป็นที่ทราบกันดีว่าเครื่องหมายดอกจันใช้แสดงถึงช่องข้อมูลที่จำเป็นต้องกรอก

เครื่องคิดเลขหรือเครื่องบวกเลข (adding machine) บางชนิดใช้ปุ่มเครื่องหมายดอกจันแทน ผลลัพธ์ หรือใช้สำหรับยุติการบวกหรือลบตามลำดับจำนวน

ภาษาโปรแกรม แก้

ในภาษาโปรแกรมหลายชนิดรวมทั้งในเครื่องคิดเลข ใช้เครื่องหมายดอกจันเป็นสัญลักษณ์แทนการคูณ แต่เครื่องหมายนี้ก็ยังมีความหมายพิเศษในบางภาษา ตัวอย่างเช่น

  • ภาษาในตระกูลภาษาซี ดอกจันใช้นำหน้าชื่อตัวแปรเพื่อประกาศว่าเป็นตัวแปรพอยเตอร์ สำหรับอ่านหรือบันทึกค่าในตำแหน่งหน่วยความจำที่ชี้อยู่
  • ภาษาคอมมอนลิสป์ (Common Lisp) ดอกจันใช้ประกอบหน้าและหลังตัวแปรส่วนกลาง (global variable) เช่นอย่างนี้ *SAMPLE*
  • ในภาษาฟอร์แทรนและภาษาตระกูลภาษาปาสกาลบางสาขา การใช้ดอกจันสองตัวติดกันหมายถึงการยกกำลัง เช่น 5**3 = 5*5*5 = 125
  • ใช้ดอกจันสำหรับการอ้างถึง typeglob ของตัวแปรทั้งหมดด้วยชื่อที่กำหนดให้
  • ภาษารูบีและภาษาไพทอน ดอกจันมีการใช้เฉพาะทางสองอย่าง อย่างแรกใช้กำกับรายการในการเรียกใช้ฟังก์ชัน ซึ่งจะช่วยขยายรายการภายในออกมาเป็นอาร์กิวเมนต์ของฟังก์ชัน อย่างที่สอง พารามิเตอร์ที่ขึ้นต้นด้วยดอกจันในการประกาศฟังก์ชัน ส่งผลให้พารามิเตอร์สามารถส่งค่าเข้ามาได้โดยผ่านทางรายการลำดับ (tuple ในไพทอน) หรือแถวลำดับ (array ในรูบี)
  • ดอกจันในภาษาเอพีแอล ใช้แทนฟังก์ชันเลขชี้กำลัง หรือฟังก์ชันการยกกำลัง