ฑัพพาวาลา

อาชีพส่งปิ่นโตในประเทศอินเดีย

ฑัพพาวาลา (ฮินดี: डब्बावाला) หรือ ฑัพเพวาเล (डब्बेवाले) คือคนส่งปิ่นโตอาหารร้อน ๆ จากบ้านหรือร้านอาหารไปส่งแก่ลูกค้า ขนส่งโดยใช้วิธีการเดินเท้า จักรยาน หรือแม้แต่การขึ้นรถไฟตั้งแต่เช้าตรู่ และจะไปรับปิ่นโตคืนในช่วงบ่าย นับเป็นอาชีพเก่าแก่ของเมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย[1][2] มีชื่อเสียงยิ่งในด้านความแม่นยำและการตรงต่อเวลาแม้จะปราศจากเทคโนโลยีอำนวยความสะดวก ทั้งยังมีค่าบริการย่อมเยา[3][4]

ฑัพพาวาลาขณะนำส่งปิ่นโตด้วยจักรยาน

ปัจจุบันนี้มีฑัพพาวาลาจำนวน 5,000 คน ซึ่งต้องลำเลียงปิ่นโตกว่า 200,000 เถา สู่ลูกค้าในแต่ละวัน[3][4]

ศัพทมูลวิทยา แก้

"ฑัพพาวาลา" แปลตามตัวอักษรจะมีความหมายว่า "ผู้ถือปิ่นโต" ประกอบด้วยคำ "ฑัพพา" ซึ่งเป็นคำยืมจากภาษาเปอร์เซียว่า دَبّه แปลว่า "ปิ่นโต" ซึ่งเป็นภาชนะทรงกระบอกทำจากอะลูมิเนียม กับอีกคำ คือ "วาลา" คือคำลงท้ายที่หมายถึงคน (agentive suffix)[5] หากแปลเป็นไทยคือ "คนส่งปิ่นโต"[3][4]

ประวัติ แก้

มีประชากรจำนวนมากอพยพสู่เมืองบอมเบย์ (ปัจจุบันคือมุมไบ) ช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1800 อาหารจานด่วนและร้านอาหารไม่แพร่หลายนัก คนเหล่านี้ต้องออกไปทำงานตั้งแต่เช้าตรู่ และออกไปหามื้อเที่ยงด้วยความหิวโหย พวกเขามาจากหลายชุมชนและมีรสนิยมด้านอาหารต่างกัน และพอใจที่จะรับประทานอาหารปรุงเองซึ่งสดใหม่ ด้วยเหตุนี้ Mahadeo Havaji Bachche จึงเริ่มบริการจัดส่งปิ่นโตในบอมเบย์เมื่อ ค.ศ. 1890 โดยมีผู้ชาย 100 คนจัดการส่งปิ่นโต[6] ธุรกิจนี้ไปได้สวยและประสบความสำเร็จ ครั้นใน ค.ศ. 1930 จึงมีการรวมกลุ่มกันอย่างไม่เป็นทางการ และจดทะเบียนทรัสต์เพื่อการกุศลเมื่อ ค.ศ. 1956 ในนาม Nutan Mumbai Tiffin Box Suppliers Trust[7] และจดทะเบียนเชิงพาณิชย์เมื่อ ค.ศ. 1968 ในนาม "สมาคมผู้จัดส่งปิ่นโตมุมไบ" (Mumbai Tiffin Box Suppliers Association)[7][8]

การดำเนินงาน แก้

 
ฑัพพาวาลาขณะนำส่งปิ่นโตขึ้นไปยังรถไฟ
 
ฑัพพาวาลาขณะนำส่งปิ่นโตด้วยการเดิน

ฑัพพาวาลาจะเริ่มการทำงานด้วยการรับปิ่นโตจากบ้านของลูกค้าแต่ละราย จากนั้นจึงนำมารวมกันที่จุดนัดพบ แล้วทำเครื่องหมายรหัสสี อักษร และตัวเลขบนปิ่นโต เพื่อสื่อถึงชื่อและที่อยู่ของผู้รับเพื่อความถูกต้องแม่นยำ ดังนี้[3][4][9]

  • อักษรย่อ – จุดนัดพบ
  • รหัสสี – สถานีเริ่มต้น
  • หมายเลข – สถานีปลายทาง
  • เครื่องหมาย – จุดหมายในการจัดส่งอาหาร

ทั้งนี้ก็เพราะฑัพพาวาลาส่วนใหญ่มีการศึกษาเพียงเกรด 8 มีความรู้ค่อนข้างจำกัด[3][4][10] จึงต้องใช้รหัสสีเหล่านี้ให้เกิดประโยชน์ในการขนส่งที่แม่นยำ[11][12][13][14] หลังจากรับปิ่นโตมาคัดแยกที่จุดนัดพบแล้ว ฑัพพาวาลาจะรวบรวมปิ่นโตออกเป็นกลุ่ม ๆ กลุ่มที่ต้องขนส่งด้วยรถไฟก็จะทำเครื่องหมายระบุปลายทาง เพื่อส่งปิ่นโตไปยังจุดหมาย ฑัพพาวาลาคนหนึ่งจะรับผิดชอบปิ่นโตคนละ 40 เถา[3] ระบบการขนส่งสมัยใหม่อย่างนวีมุมไบเมโทร (Navi Mumbai Metro) ไม่ได้ถูกใช้สำหรับขนส่ง เพราะห้องโดยสารไม่อาจรองรับปิ่นโตนับร้อยได้[15] หลังจากนั้นฑัพพาวาลาจะดำเนินการจัดส่งด้วยวิธีการต่าง ๆ ทั้งการเดิน การใช้จักรยาน หรือใช้บริการรถไฟไปยังจุดหมายในการจัดส่งให้ทันมื้อกลางวันของลูกค้า[3][4] หลังสิ้นมื้อกลางวันแล้ว ฑัพพาวาลาจะรวบรวมปิ่นโตในช่วงเวลาบ่ายหรือวันถัดไปเพื่อส่งปิ่นโตคืนเจ้าของ[3][4] ปัจจุบันสามารถส่งข้อความติดต่อฑัพพาวาลาได้ผ่านบริการสารสั้น (SMS)[16] เฟซบุ๊ก และเว็บไซต์ของตนเอง[3][17]

การส่งปิ่นโตเป็นที่นิยมมากในมุมไบ สืบเนื่องจากเมืองมีประชากรหนาแน่น สภาวะรถติด อาหารตามร้านมีราคาสูง การนำปิ่นโตทำเองจากบ้านจึงเป็นสิ่งสำคัญ[17] ฑัพพาวาลาแต่ละคนจะมีรายได้เฉลี่ย 8,000-12,000 รูปีต่อเดือน หรือราว 3,400-5,100 บาท[3][4] ทั้งนี้ฑัพพาวาลาทุกจะต้องบริจาคทรัพย์ขั้นต่ำของทุกคนในรูปแบบสิ่งของ คือ จักรยานสองคัน ลังสำหรับใส่ปิ่นโต ผ้าฝ้ายสีขาว และหมวกแก๊ปคานธีสีขาว แต่ละเดือนจะมีการแบ่งปันรายได้จากแต่ละหน่วย และปรับเงินหากพบว่ามีฑัพพาวาลาดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ ไม่แต่งเครื่องแบบ หรือขาดงาน[10]

อ้างอิง แก้

  1. "In Pictures: Tiffin time in Mumbai". BBC news. 16 February 2014. สืบค้นเมื่อ 2 May 2014.
  2. Das, Mohua (Jun 13, 2021). "Mumbai: Now, dabbawalas to cook your lunch and deliver". The Times of India. Mumbai. สืบค้นเมื่อ 2021-06-21.
  3. 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 "ดับบาวาลา "คนส่งปิ่นโต" ดีลิเวอรี่มุมไบ ธุรกิจเก่าแก่ในโลกดิจิทัลที่คุณต้องทึ่ง!". ประชาไท. 20 กันยายน 2560. สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 4.7 สุทธาสินี จิตรกรรมไทย เจียจันทร์พงษ์ (24 เมษายน 2563). "ดับบาวาลา ส่งปิ่นโตให้คนอื่นอิ่ม แต่ตัวเองแทบไม่มีกินช่วงโควิด". The People. สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. Pathak R.C. (1946, Reprint 2000). The Standard Dictionary of the Hindi Language, Varanasi: Bhargava Book Depot, pp.300,680
  6. "Bombay Dabbawalas go high-tech". Physorg.com. สืบค้นเมื่อ 15 September 2011.
  7. 7.0 7.1 Roncaglia, Sara (1 January 2013). "Feeding the city : work and food culture of the Mumbai dabbawalas". OpenBook Publishers. สืบค้นเมื่อ 2 May 2017 – โดยทาง Internet Archive.
  8. Nair, Supriya (27 September 2011). "The Tiffin History of Mumbai". Livemint. สืบค้นเมื่อ 8 April 2017.
  9. Thakker, Pradip (11 November 2005). "Mumbai's amazing dabbawalas". Rediff News. สืบค้นเมื่อ 8 April 2017.
  10. 10.0 10.1 Dr. Pawan Agrawal (speaker) (24 February 2011). TEDxSSN - Dr. Pawan Agrawal - Mumbai Dabbawalas (YouTube). TEDx Talks. สืบค้นเมื่อ 3 May 2017.
  11. Kadri, Meena (2013). "Dabbawallas: Delivering Excellence". Works That Work magazine. No. 1. สืบค้นเมื่อ 2 May 2017.
  12. "NDMC launches new project to make unemployed women self-reliant". Business Line. Press Trust of India. 13 July 2014. สืบค้นเมื่อ 2 May 2017.
  13. "Taking the story of Mumbai's dabbawalas to IIM Calcutta". Business Line. 20 July 2012. สืบค้นเมื่อ 2 May 2017.
  14. "Mumbai dabbawalas to share success mantra in Dubai". Business Line. Press Trust of India. 2 June 2013. สืบค้นเมื่อ 2 May 2017.
  15. Ramper, Johnny. "Dabbawalas: Preserving Tradition in Modern India". Z.E.N. Foods. สืบค้นเมื่อ 8 April 2017.
  16. Vaswani, Karishma (24 July 2006). "India's tiffinwalas fuel economy". BBC News. สืบค้นเมื่อ 2 May 2017.
  17. 17.0 17.1 พาตีเมาะ แนปีแน (19 กุมภาพันธ์ 2564). "วัฒนธรรมปิ่นโตในอินเดีย". มองเอเชียใต้ผ่านเลนส์. สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้