ฌอง เฮย์ (ภาษาอังกฤษ: Jean Hey หรือ Jean Hay) (ราว ค.ศ. 1475 - ราว ค.ศ. 1505) เป็นจิตรกรที่เดิมรู้จักกันในนามว่า “มาสเตอร์แห่งมูแลงส์” เฮย์เป็นจิตรกรชาวเนเธอร์แลนด์ของยุคเนเธอร์แลนด์ตอนต้นในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพศิลปะคริสต์ศาสนา และจิตรกรรมหนังสือวิจิตร ฌอง เฮย์ทำงานในฝรั่งเศสและในอาณาบริเวณของดยุคแห่งเบอร์กันดีและมีส่วนเกี่ยวข้องกับดยุคแห่งบูร์บอง

ฌอง เฮย์

ชีวิตและงาน แก้

รายละเอียดเกี่ยวกับเบื้องต้นของชีวิตไม่เป็นที่ทราบเท่าใดนัก แต่สันนิษฐานว่าได้ศึกษาการเขียนกับ ฮูโก ฟาน เดอร์ โกส์ และอาจจะใช้เวลาบั้นปลายในปารีส[1]

งานที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดของเฮย์เป็นงานฉากแท่นบูชาในมหาวิหารโนเทรอดามแห่งมูแลงส์ในอัลลีเยร์ในประเทศฝรั่งเศส ที่สันนิษฐานว่าเขียนราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 แผงกลางเป็นภาพพระแม่มารีและพระบุตรชื่นชมด้วยเทวดาและบานสองข้างเป็นภาพเหมือนของปีเตอร์ที่ 2 ดยุคแห่งบูร์บอง (Peter II, Duke of Bourbon) และดัชเชส Anne de Beaujeu และลูกสาวซูซานแห่งบูร์บอง (Suzanne of Bourbon) สภาพของบานพับภาพอยู่ในสภาพที่ดีมากแม้ว่าในเวลาก่อนหน้าคริสต์ทศวรรษ 1830 ส่วนล่างถูกตัดออกไปบ้าง[2]

การระบุ “มาสเตอร์แห่งมูแลงส์” แก้

จนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 20 นามของผู้เขียนฉากบานพับภาพมูแลงส์ก็ไม่เป็นที่ทราบว่าเป็นใคร แต่นักประวัติศาสตร์ศิลปะสามารถบ่งภาพเขียนอื่นได้ว่าเป็นภาพที่เขียนโดยจิตรกรเดียวกับผู้เขียนบานพับภาพมูแลงส์ หนังสือเกี่ยวกับมาสเตอร์แห่งมูแลงส์เขียนในปี ค.ศ. 1961 โดยมาดาเลน ฮุยเล็ท ดิสเตรีย (Madeleine Huillet d'Istria) ตั้งข้อเสนอว่าจิตรกรที่ว่าไม่มีตัวตนและผู้เขียนเป็นกลุ่มจิตรกรกว่าสิบสองคนที่เป็นผู้เขียนงานต่างๆ ที่เดิมบ่งว่าเป็นงานเขียนของมาสเตอร์แห่งมูแลงส์ก่อนหน้านั้น[3] ชื่อของมาสเตอร์แห่งมูแลงส์เพิ่งมาพบว่าเป็นใครเมื่อพบคำจารึกบนด้านหลังของภาพ “พระเยซูทรงมงกุฏหนาม” (ค.ศ. 1494) ที่ได้รับความเสียหายในราชพิพิธภัณฑ์วิจิตรศิลป์แห่งเบลเยียมในบรัสเซลส์ ที่บ่งว่าชื่อ “ฌอง เฮย์” “teutonicus” และ “pictor egregius” (“จิตรกรผู้ยิ่งใหญ่”) และผู้จ้างคือฌอง คุยอิเล็ตต์ (Jean Cueillette) ผู้เป็นราชเลขาธิการของพระเจ้าแผ่นดินและผู้เกี่ยวข้องกับราชวงศ์บูร์บอง[4][5] ลักษณะการเขียนที่คล้ายคลึงกันทำให้บ่งได้ว่าเป็นงานเขียนโดยมาสเตอร์แห่งมูแลงส์[5] มาสเตอร์แห่งมูแลงส์จึงน่าจะเป็นจิตรกรประจำราชสำนักของราชวงศ์บูร์บอง[6] และจากหลักฐานจากระหว่างปี ค.ศ. 1502 ถึงปี 1503 ระบุว่าช่างเขียนประจำราชสำนักชื่อฌอง และไม่น่าจะเป็นฌอง เพร์รีอาล (Jean Perréal) หรือ ฌอง โพรโวสต์ (Jean Prévost) จากการค้นคว้าต่อมา[6] สร้อย “Teutonicus” หรือ “เยอรมัน” หลังชื่อขณะนั้นไม่แต่จะใช้สำหรับชาวเยอรมันแต่ยังรวมทั้งผู้ที่เป็นชาวเฟล็มมิชด้วยในขณะนั้น

อ้างอิง แก้

     

บานพับภาพมูแลงส์, ราว ค.ศ.1498, สีน้ำมันบนไม้
  1. Brigstocke, 2001, p. 338
  2. Reynolds, 1996 p. 732
  3. Châtelet, p. 517
  4. Brigstocke, 2001, p. 338
  5. 5.0 5.1 Reynolds, 1996, p. 733
  6. 6.0 6.1 Reynolds, 1996, p. 734

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ฌอง เฮย์   วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ บานพับภาพมูแลงส์

ระเบียงภาพ แก้