ในทางดาราศาสตร์ ซูเปอร์มูนเป็นจันทร์เพ็ญหรือจันทร์ดับซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับการเข้าใกล้โลกของดวงจันทร์ ระยะห่างระหว่างโลกกับดวงจันทร์แตกต่างกันไปแต่ละเดือนอยู่ระหว่าง 354,000 และ 410,000 กิโลเมตร เนื่องจากวงโคจรรูปวงรีของดวงจันทร์[1][2]

ซูเปอร์มูนในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ.2554 (รูปทางด้านขวา) เทียบกับดวงจันทร์ในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ.2553 (รูปทางด้านซ้าย) เมื่อมองจากโลก

การจำกัดความ แก้

ชื่อ ซูเปอร์มูน ประดิษฐ์โดยโหราจารย์ ริชาร์ด นอลล์ ใน ค.ศ. 1979 (พ.ศ. 2522) โดยจำกัดความว่า

(วลี "ในขอบเขต 90% ของระยะใกล้โลกที่สุด" ไม่ชัดเจน แต่ตัวอย่างจากเว็บไซต์ของนอลล์แสดงให้เห็นว่าเขาหมายความว่าระยะห่างโลก-ดวงจันทร์มีค่าน้อยกว่าหนึ่งในสิบของพิสัยที่เป็นไปได้)

คำว่า ซูเปอร์มูน ไม่ได้รับการยอมรับหรือใช้กันอย่างกว้างขวางในประชาคมดาราศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์ ซึ่งใช้คำว่า "perigee-syzygy" แทน[4] คำว่า "perigee" เป็นจุดที่ดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกที่สุดในวงโคจร และ "syzygy" เป็นจันทร์เพ็ญหรือจันทร์ดับ เมื่อโลก ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์เรียงตัวกันเกือบเป็นเส้นตรง ดังนั้น ซูเปอร์มูนจึงอาจเป็นสองปรากฏการณ์นี้ที่เกิดขึ้นพร้อมกัน ถึงแม้ว่านักวิทยาศาสตร์จะยังไม่มีการประดิษฐ์คำขึ้นเรียกก็ตาม[3]

ความเชื่อมโยงกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ แก้

การคาดคะเนว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างการเกิดปรากฏการณ์ซูเปอร์มูนกับภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างเช่นแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามินั้นมีความหนักแน่นน้อยมาก มีการโต้แย้งว่าภัยพิบัติทางธรรมชาติหลายครั้งได้เกิดขึ้นในปีที่เกิดปรากฏการณ์ซูเปอร์มูนขึ้น ซึ่งได้รับอิทธิพลจากแรงโน้มถ่วงที่เพิ่มมากขึ้นของดวงจันทร์ ถึงแม้ว่าเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงระยะห่างจากโลกของดวงจันทร์ การให้เหตุผลนี้จะไม่ได้รับการสนับสนุนหากภัยพิบัติที่กล่าวถึงนั้นตรงกับวันที่เกิดซูเปอร์มูน[1]

มีการให้เหตุผลว่าแผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547 ได้รับอิทธิพลมาจากซูเปอร์มูนที่เกิดขึ้นสองสัปดาห์ถัดมาเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2548[5] อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 (ที่เกิดภัยพิบัติขึ้น) ดวงจันทร์อยู่ในจุดที่อยู่ไกลโลกที่สุด ดังนั้น ปรากฏการณ์ซูเปอร์มูนจึงไม่สามารถเกิดขึ้นได้[1][6]

นักโหราศาสตร์[ใคร?]ระบุว่าแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮะกุ พ.ศ. 2554 ได้รับอิทธิพลมาจากซูเปอร์มูนที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 19 มีนาคม ซึ่งเป็นซูเปอร์มูนที่เข้าใกล้โลกมากที่สุดนับตั้งแต่ พ.ศ. 2535[7] ปัญหาคือ เมื่อวันที่ 11 มีนาคม (ที่เกิดภัยพิบัติขึ้น) ดวงจันทร์อยู่ใกล้จุดที่อยู่ไกลโลกมากกว่าจุดที่อยู่ใกล้โลก ที่ระยะห่างประมาณ 400,000 กิโลเมตร ซึ่งอยู่ไกลกว่าระยะห่างเฉลี่ยระหว่างโลกและดวงจันทร์เสียอีก [1]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Plait, Phil (March 11, 2011). "No, the "supermoon" didn't cause the Japanese earthquake". Discover Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-22. สืบค้นเมื่อ 14 March 2011.
  2. Hawley, John (n.d.). "Appearance of the Moon Size". Ask a Scientist. Newton. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-03. สืบค้นเมื่อ 14 March 2011.
  3. 3.0 3.1 Nolle, Richard (March 10, 2011). "Supermoon". Astropro. สืบค้นเมื่อ 14 March 2011.
  4. Ledermann, Tug (November 13, 2007). "'Perigee-syzygy' caused full moon to look bigger, brighter in October". University Wire. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-05. สืบค้นเมื่อ 14 March 2011.
  5. Paquette, Mark (March 1, 2011). "Extreme Super (Full) Moon to Cause Chaos?". Astronomy Weather Blog. AccuWeather. สืบค้นเมื่อ 14 March 2011.
  6. Byrd, Deborah (March 11, 2011). "Debunking the "Supermoon" Theory of Japan's Earthquake and Tsunami". Fast Company. สืบค้นเมื่อ 14 March 2011.
  7. "Is the Japanese earthquake the latest natural disaster to have been caused by a 'supermoon'?". The Daily Mail. March 11, 2011. สืบค้นเมื่อ 14 March 2011.