พระเจ้าซุนฮิว (จีน: 孫休, 778 – 3 กันยายน 807)[a] พระนามรอง จื่อเลี่ย (子烈) เป็นพระจักรพรรดิองค์ที่ 3 ของรัฐอู๋ตะวันออก(ง่อก๊ก) ในช่วงยุคสามก๊กของจีน

จักรพรรดิอู๋จิ่งตี้
吳景帝
จักรพรรดิรัฐอู๋ตะวันออก
ครองราชย์30 พฤศจิกายน 801[1] – 3 กันยายน 807
ก่อนหน้าซุนเหลียง
ถัดไปซุนโฮ
หลังหยาหวัง (琅邪王)
ดำรงตำแหน่งมกราคม หรือ กุมภาพันธ์ 795 – 30 พฤศจิกายน 801
ประสูติ778[a]
สวรรคต3 กันยายน 807 (29 พรรษา)[a]
มเหสีจักรพรรดินี Jing
พระราชบุตร
  • Sun Wan
  • Sun Gong
  • Sun Mang
  • Sun Bao
พระนามเต็ม
ชื่อตระกูล: ซุน (孫)
ชื่อตัว: ฮิว (休)
ชื่อรอง: จื่อเลี่ย (子烈)
รัชศก
  • Yong'an (永安): 258–264
พระนามหลังสวรรคต
จักรพรรดิจิ่ง (景帝)
ราชวงศ์ราชวงศ์ซุน
พระราชบิดาซุนกวน
พระราชมารดาEmpress Jinghuai

พระประวัติ แก้

พระเจ้าซุนฮิวประสูติเมื่อ พ.ศ. 778 เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าซุนกวน ปฐมจักรพรรดิผู้สถาปนารัฐอู๋ตะวันออกและ พระสนมหวัง หนึ่งในบาทบริจาริกาของพระองค์ พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่หกของพระเจ้าซุนกวน ในวัยพระเยาว์ พระองค์ได้รับการชื่นชมในเรื่องพากเพียรการศึกษา ราวปี พ.ศ. 793 พระเจ้าซุนกวนได้จัดงานอภิเษกสมรสระหว่างซุนฮิวกับฮูหยินจู บุตรสาวของซุน หลู่ยู พระราชธิดาของพระเจ้าซุนกวนกับ Zhu Ju ผู้เป็นพระสวามีของพระนาง

ใน พ.ศ. 795 ก่อนที่พระเจ้าซุนกวนจะสวรรคต พระองค์ทรงพระราชทานพื้นที่ดินศักดินาแก่ซุนฮิวในฐานะอ๋องแห่งหลังหยา พร้อมด้วยอ๋องก๊ก(ราชรัฐ)ที่ฮูลิน (虎林; ฉือโจว, มณฑลอานฮุยในปัจจุบัน) ในปีต่อมา ภายหลังจากพระเจ้าซุนเหลียง พระอนุชาของพระองค์ได้ขึ้นครองราชย์เป็นพระจักรพรรดิ จูกัดเก๊ก ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ไม่ต้องการให้ท่านอ๋องทรงประทับอยู่ใกล้กับฐานทัพทางทหารที่สำคัญตามแม่น้ำแยงซี ดังนั้นเขาจึงให้ซุนฮิวเสด็จย้ายไปประทับที่จังหวัดตันหยาง(丹陽郡; ซวนเฉิง, มณฑลอานฮุยในปัจจุบัน) ทรงไม่เหมือนพระเชษฐาของพระองค์อย่างซุน เฟิง ซุนฮิวจึงไม่ขัดขืนต่อคำสั่งย้ายของจูกัดเก๊ก เมื่อพระองค์ทรงไปประทับที่จังหวัดตันหยาง หลี่ เหิง(李衡) ผู้ว่าราชการจังหวัดคอยจับผิดหลายครั้งเพื่อกลั่นแกล้งพระองค์ ซุนฮิวทรงทนการกลั่นแกล้งของหลี่ เหิงไม่ไหว ดังนั้นพระองค์จึงขอย้ายไปประทับที่อื่น พระเจ้าซุนเหลียงจึงมีพระราชโองการให้ไปประทับที่จังหวัดไคว่จี(บริเวณเช่าซิง มณฑลเจ้อเจียงในปัจจุบัน)

ใน พ.ศ. 797 จากการยุยงของซุน หลู่ปัง พระขนิษฐาต่างพระมารดาของซุนฮิว ซุนจุ๋น ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ที่ขึ้นมาแทนที่จูกัดเก๊กหลังถูกโค่นอำนาจ ได้สั่งประหารชีวิตซุน หลู่ยู พระขนิษฐาต่างพระมารดาและพระสัสสุของซุนฮิว ซุนฮิวทรงเริ่มกลัวถึงความปลอดภัยของพระองค์ พระองค์จึงส่งองค์หญิงจู พระชายาของพระองค์กลับไปยังเจี้ยนเย่ เมืองหลวงของรัฐอู๋ และเสนอว่าพระองค์จะหย่ากับพระนาง แต่ซุนจุ๋นได้ปฏิเสธคำขอ และส่งองค์หญิงจูกลับไปหาซุนฮิว

ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 800 ภายหลังแผนการโค่นล้มอำนาจของซุนหลิม ลูกพี่ลูกน้องของซุนจุ๋นและผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ที่ขึ้นมาแทนที่ซุนจุ๋นหลังถึงแก่กรรม ได้ล้มเหลว พระเจ้าซุนเหลียงถูกปลดออกจากราชบังลังก์และยกให้ซุนฮิวเป็นพระจักรพรรดิองค์ใหม่แห่งรัฐอู๋แทน

การโค่นล้มอำนาจซุนหลิม แก้

ภายหลังจากพระองค์ทรงขึ้นครองราชย์ พระเจ้าซุนฮิวได้ออกพระราชโองการด้วยพระราชทานอำเภอใหม่ทั้งห้าเพิ่มเติมอยู่ในพื้นที่ดินศักดินาของขุนนางยศตำแหน่งโหว(เจ้าพระยา) ของซุนหลิมเพื่อเอาใจเขา นอกจากนั้นยังได้พระราชทานพื้นที่ดินศักดินาแก่เหล่าพี่น้องของซุนหลิมในฐานะขุนนางยศตำแหน่งโหวเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ในไม่ช้าได้มีเหตุการณ์เพียงเล็กน้อยที่ทำให้ซุนหลิมต้องมีเรื่องบาดหมางกับพระเจ้าซุนฮิว - เขาได้นำอาหารและสุราไปที่พระราชวังและขอให้พระจักรพรรดิมาเสวยพระกระยาหารร่วมกับเขา แต่พระจักรพรรดิทรงปฏิเสธ ซุนหลิมจึงไปกินอาหารร่วมกับขุนพลนามว่า เตียวเป๋า แทน และพูดจาตามประสาคนเมาว่า เขาสามารถเข้ามาแทนที่พระเจ้าซุนฮิวได้ ถ้าเขาต้องการ ต่อมาเตียวเป๋าได้นำคำพูดของซุนหลิมไปรายงานกราบทูลให้พระเจ้าซุนฮิวทรงทราบ แม้ว่าพระเจ้าซุนฮิวยังคงแสร้งทำเป็นมิตรไมตรีกับซุนหลิม แต่พระองค์ทรงเริ่มเตรียมพร้อมที่จะป้องกันพระองค์เองจากซุนหลิมอย่างรอบคอบ ในขณะเดียวกัน ซุนหลิมก็วิตกกังวลถึงความสัมพันธ์ของเขากับพระเจ้าซุนฮิว ดังนั้นเขาจึงขอพระราชอนุญาตไปยังอู่ชาง(武昌; เอโจว, มณฑลหูเป่ย์ในปัจจุบัน) และคอยดูแลการป้องกันที่ชายแดน

แม้ว่าพระเจ้าซุนฮิวจะทรงอนุญาตตามคำขอของซุนหลิม แต่พระองค์ทรงสงสัยว่าซุนหลิมต้องการจะยึดการควบคุมของอู่ชางและก่อการกบฏต่อพระองค์ ขุนนางคนอื่น ๆ ร่วมทั้งงุยเบียว(魏邈) ได้เตือนแก่พระเจ้าซุนฮิวว่า ซุนหลิมได้วางแผนก่อการกบฎ เมื่อเขาขอออกเดินทางไปยังอู่ชาง ในเวลานี้ มีข่าวลือแพร่สะบัดว่าซุนหลิมคิดไม่ซื่อต่อพระเจ้าซุนฮิว[3] พระเจ้าซุนฮิวได้ร่วมมืออย่างลับ ๆ กับเตียวเป๋าและขุนพลอีกคนนามว่า เตงฮอง เพื่อลอบสังหารซุนหลิมในงานเลี้ยงในช่วงเทศกาลล่าปา (วันที่ 8 เดือน 12 ตามจันทรคติ) ซุนหลิมได้รับรู้แผนการแล้ว แต่ยังคงเข้ามาร่วมงานเลี้ยงซึ่งเขาได้ถูกทหารของเตียวเป๋าและเตงฮองเข้ามาจับกุมทันที เมื่อซุนหลิมได้ร้องขอไว้ชีวิตและขอร้องให้เนรเทศไปยังเจียวโจวหรือไม่ก็ลดสถานะให้เป็นทาส พระเจ้าซุนฮิวทรงปฏิเสธที่จะไว้ชีวิตแก่เขาและทรงตรัสว่า เมื่อเขาเข้ามามีอำนาจใน พ.ศ. 798 เขาไม่ได้ไว้ชีวิตแก่เตงอิ๋นหรือหลู่ จู พระเจ้าซุนฮิวทรงรับสั่งให้ประชีวิตซุนหลิมพร้อมกับครอบครัวของเขาทั้งหมด

รัชสมัย แก้

ในฐานะพระจักรพรรดิ พระเจ้าซุนฮิวเป็นที่รู้จักในเรื่องความอดทนต่อความคิดเห็นที่แตกต่าง รวมถึงวิริยะอุตสาหะ อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าพระองค์ไม่ได้เป็นพระจักรพรรดิที่มีพระปรีชาสามารถยิ่งเป็นพิเศษ ทั้งด้านการทหารหรือเรื่องภายใน และพระองค์ทรงมอบหมายงานสำคัญส่วนใหญ่ให้กับเตียวเป๋ากับผู่หยังซิ่ง ซึ่งทั้งสองคนต่างไม่มีความสามารถเป็นพิเศษเช่นกัน ทั้งสองคนได้ฉ้อราษฎร์บังหลวงพอควร รัฐบาลจึงไม่ประสิทธิภาพหรือประสิทธิผลแต่อย่างใดเลย ตัวอย่างเช่น ใน พ.ศ. 802 ด้วยการสนับสนุนของผู่หยังซิ่ง โครงการที่มีค่าใช้จ่ายสูงได้เริ่มต้นขึ้นเพื่อสร้างทะเลสาบเทียมที่เป็นที่รู้จักในชื่อว่า ทะเลสาบผูหลี่ ใกล้กับซวนเฉิง มณฑลอานฮุยในปัจจุบันเพื่อการชลประทาน แม้ว่าข้าราชการหลายคนเชื่อว่าโครงการนี้มีค่าใช้จ่ายที่สูงเกินไปและไม่มีการรับประกันถึงความสำเร็จแต่อย่างใด ในที่สุดโครงการได้ถูกยกเลิกไปเมื่อเห็นได้ชัดเจนว่าไม่สามารถดำเนินการให้เสร็จสิ้นได้

ในปีแรกของรัชสมัยของพระองค์ สิ่งเบิกทางของมหาวิทยาลัยจักรวรรดินานกิงได้ถูกก่อตั้งขึ้น โดยมีเว่ย จ้าวเป็นประธานคนแรก

ใน พ.ศ. 802 พระเจ้าซุนฮิวทรงเป็นผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับแผนกลอุบายที่จะกำจัดพระอนุชาของพระองค์อยู่ตลอดเวลาอย่างซุนเหลียง พระจักรพรรดิองค์ก่อนที่ถูกปลดออกจากราชบังลังก์ แผนการได้ถูกดำเนินโดยทรงได้รับรายงานเท็จทูลว่า ซุนเหลียงได้ใช้วิชาอาคมคุณไสย พระองค์จึงได้ลดสถานะจากอ๋องแห่งไคว่จีมาเป็นโฮ่วกวนโหวและส่งไปยังพื้นที่ดินศักดินาของตำแหน่งขุนนางระดับโหว (ฝูโจว มณฑลฝูเจี้ยนในปัจจุบัน) ซุนเหลียงได้สิ้นพระชนม์ระหว่างเดินทางไปยังโฮ่วกวน ด้วยความเชื่อที่แพร่กระจายออกไปว่าทรงกระทำอัตวินิบาตกรรม แต่นักประวัติศาสตร์บางคนเชื่อว่าพระเจ้าซุนฮิวทรงวางยาพิษ

Xue Xu ข้าราชการของรัฐอู๋ซึ่งได้ไปเยือนรัฐฉู่ฮั่น(จ๊กก๊ก) ซึ่งเป็นพันธมิตรของรัฐอู๋ ใน พ.ศ. 803 ได้กล่าวอธิบายถึงสถานการณ์ของรัฐฉู่ฮั่นแก่พระเจ้าซุนฮิว เมื่อเขากลับมา ดังนี้:

พระจักรพรรดิที่ไร้ปรีชาสามารถและไม่รู้ถึงความผิดพลาดของพระองค์เอง เหล่าข้าราชบริพารต่างเพียงแค่พยายามปล่อยปะละเลยโดยไม่สร้างปัญหาให้กับตนเอง เมื่อข้าพเจ้าไปเยี่ยมเยือนพวกเขา ข้าพเจ้าไม่ได้ยินคำพูดที่เปิดเผยอย่างใจจริง และเมื่อข้าพเจ้าไปเยือนชนบท ผู้คนดูหิวโหย ข้าพเจ้าเคยได้ยินนิทานเรื่องนกนางแอ่นและนกกระจอกทำรังบนยอดคฤหาสน์และรู้สึกพอใจเพราะเชื่อว่าเป็นที่ปลอดภัยที่สุด โดยไม่รู้ว่ากองฟางและคานค้ำได้ถูกไฟไหม้และหายนะนั้นกำลังจะมาถึง นี่อาจจะเป็นสิ่งที่พวกเขาชื่นชอบ

นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ต่างเชื่อว่า Xue Xu ไม่ใช่แค่หมายถึงรัฐฉู่แต่ใช้สถานการณ์ของรัฐฉู่เป็นอุปมานิทัศน์เพื่อเตือนแก่พระเจ้าซุนฮิวว่า รัฐอู๋ที่อยู่ในสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกัน พระเจ้าซุนฮิวทรงดูเหมือนจะไม่เข้าพระทัยว่า Xue Xu กล่าวถึงหมายความว่าอะไร

ใน พ.ศ. 804 พระเจ้าซุนฮิวทรงแต่งตั้งองค์หญิงจู พระชายาของพระองค์ให้เป็นพระจักรพรรดินี พระองค์ยังได้ทรงแต่งตั้งให้พระราชโอรสองค์โตของพระองค์นามว่า ซุนว่าน เป็นองค์รัชทายาท

ใน พ.ศ. 805 เนื่องจากการฉ้อราษฏร์บังหลวงของผู้ว่าราชการมณฑลนามว่า ซุน ซู (孫諝) ประชาราษฎร์ในเจียวจือ (交趾; ฮานอย, ประเทศเวียดนามในปัจจุบัน) จึงก่อการกบฎ และพวกเขาได้ถูกเข้าร่วมโดยประชาราษฎร์ในจังหวัดจิ่วเจิ้น(九真; ทัญฮว้า, ประเทศเวียดนามในปัจจุบัน) และไรนัน(日南, กว๋างจิ, ประเทศเวียดนามในปัจจุบัน) กลุ่มกบฏยังได้ขอความช่วยเหลือทางทหารจากรัฐคู่แข่งของรัฐอู๋อย่างรัฐเว่ย์(วุยก๊ก) (รัฐเว่ย์และรัฐที่สืบทอดต่อมาคือ ราชวงศ์จิ้น ได้ให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มกบฎ นอกจากนี้การก่อกบฎไม่ได้ถูกปราบปรามจนกระทั่ง พ.ศ. 813 เป็นเวลาหลายปีที่เข้าสู่รัชสมัยของพระเจ้าซุนโฮ พระจักรพรรดิที่สืบทอดต่อจากพระเจ้าซุนฮิว)

ใน พ.ศ. 805 เมื่อรัฐฉู่ที่เป็นพันธมิตรกับรัฐอู๋ได้ถูกโจมตีโดยรัฐเว่ย์ที่เป็นรัฐคู่แข่ง พวกเขาจึงขอความช่วยเหลือจากรัฐอู๋ พระเจ้าซุนฮิวได้ส่งกองทัพแยกออกเป็นสองทาง กองทัพหนึ่งเข้าโจมตีซิ่วซุน(อำเภอโจว มณฑลอานฮุยในปัจจุบัน) และอีกกองทัพหนึ่งเข้าโจมตีจังหวัดฮันต๋ง เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจของกองทัพเว่ย์และบีบบังคับให้พวกเขาถอนกำลังออกจากรัฐฉู่ อย่างไรก็ตาม กองทัพทั้งสองไม่เคยประสบความสำเร็จในเป้าหมายของพวกเขา พระเจ้าเล่าเสี้ยน พระจักรพรรดิแห่งรัฐฉู่ฮั่นได้ยอมสวามิภักดิ์ต่อรัฐเว่ย์ในปีต่อมาทำให้การดำรงอยู่ของรัฐฉู่ได้สิ้นสุดลง เมื่อพระเจ้าซุนฮิวทรงทราบว่า เหล่าบรรดาผู้ว่าราชการจังหวัดของอดีตรัฐฉู่ต่างกำลังสับสนว่าจะทำอย่างไรต่อไป ภายหลังจากการยอมสวามิภักดิ์ของพระเจ้าเล่าเสี้ยน พระองค์จึงส่งกองทัพเพื่อพิชิตพวกเขาให้มาอยู่ภายใต้รัฐอู๋ อย่างไรก็ตาม หลัวเซียน อดีตขุนพลแห่งรัฐฉู่ที่ประจำการอยู่ที่จังหวัดปาตง(巴東郡; บริเวณรอบเขื่อนซานเสียต้าป้าในปัจจุบัน) สามารถยืนหยัดต้านทานการรุกรานของรัฐอู๋และยอมสวามิภักดิ์ต่อรัฐเว่ย์ในที่สุด

ในช่วงฤดูร้อนของปี พ.ศ. 805 พระเจ้าซุนฮิวทรงพระประชวรและไม่สามารถพระราชดำรัสได้ แต่ยังสามารถทรงพระอักษรได้ ดังนั้นพระองค์จึงมีพระราชหัตถเลขาเรียกผู่หยังซิ่งให้มาเข้าเฝ้าที่พระราชวัง ซึ่งพระองค์ทรงมอบไว้วางพระราชหฤทัยในการค้ำจุนซุนว่านผู้เป็นรัชทายาทแก่ผู่หยังซิ่ง เมื่อพระเจ้าซุนฮิวทรงสวรรคตภายหลังจากนั้นได้ไม่นาน อย่างไรก็ตาม ผู่หยังซิ่งก็ไม่ได้ทำตามพระราชประสงค์ของพระเจ้าซุนฮิวก่อนที่จะสวรรคต และแต่งตั้งให้ซุนว่านขึ้นเป็นพระจักรพรรดิองค์ใหม่ ภายหลังจากได้ปรึกษาหารือกับเตียวเป๋าแล้ว เขาได้ตัดสินใจที่จะแต่งตั้งพระจักรพรรดิที่แก่กว่าและดูเป็นผู้ใหญ่กว่าในการขึ้นครองราชบังลังก์ (ไม่อาจทราบได้ว่า ซุนว่านมีพระชนมายุเท่าไรในช่วงที่พระเจ้าซุนฮิวสวรรคต แต่เนื่องจากพระเจ้าซุนฮิวทรงมีพระชนมพรรษา 29 พรรษา เมื่อพระองค์ทรงสวรรคต จึงมีความเป็นไปได้ว่าซุนว่านยังทรงพระเยาว์ในตอนนั้น) ตามคำแนะนำของบั้นเฮ็ก ผู่หยังซิ่งและเตียวเป๋าได้อัญเชิญซุนโฮ พระราชโอรสของซุนโห (องค์รัชทายาทในรัชสมัยของพระเจ้าซุนกวน) ขึ้นครองราชบังลังก์

สุสานที่ตั้งอยู่ในอำเภอตังถู มณฑอานฮุย ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นของพระเจ้าซุนฮิวและฮูหยินจู

หมายเหตุ แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 ชีวประวัติของซุนฮิวใน Sanguozhi บันทึกว่าพระองค์เสียชีวิตในวัน guiwei เดือนที่ 7 ปีที่ 7 ของรัชสมัย Yong'an และมีพระชนมพรรษ 30 พรรษา (ตามการนับอายุแบบตะวันออก) อตนสวรรคต[2] เทียบได้กับ 3 กันยายน 807 ในปฏิทินกริกอเรียน เนื่องจากพระองค์สวรรคตตอนพระชนมพรรษา 29 พรรษา ตามการคำนวณ พระองค์เสด็จพระราชสมภพใน พ.ศ. 778

อ้างอิง แก้

  1. วัน jimao ของเดือน 10 ปีที่ 3 ของรัชสมัย Ganlu จาก vol.77 of Zizhi Tongjian
  2. ([永安七年七月]癸未,休薨,時年三十, ...) Sanguozhi vol. 48.
  3. Sanguozhi vol. 64.
ก่อนหน้า ซุนฮิว (ง่อก๊ก) ถัดไป
ซุนเหลียง
(พระเจ้าซุนเหลียง)
  จักรพรรดิจีน
ง่อก๊ก

(พ.ศ. 801 - พ.ศ. 807)
  ซุนโฮ
(พระเจ้าซุนโฮ)