ล็อกฮีด มาร์ติน ซี-130เจ ซูเปอร์เฮอร์คิวลิส

ล็อกฮีด มาร์ติน ซี-130เจ ซูเปอร์เฮอร์คิวลิส (อังกฤษ: C-130J Super Hercules) เป็นเครื่องบินขนส่งทางทหารที่มีเครื่องยนต์เทอร์โบใบพัด4เครื่องยนต์ของอเมริกา ซี-130เจเป็นการพัฒนาจากล็อกฮีด ซี-130 เฮอร์คิวลิสด้วยเครื่องยนต์ ห้องนักบิน และระบบใหม่ ตระกูลเฮอร์คิวลิสได้เป็นเครื่องบินที่ทำการผลิตติดต่อกันยาวนานที่สุด ตลอดระยะเวลา 50 ปีในการทำงานของมัน ตระกูลนี้ได้มีส่วนร่วมในกองทัพ พลเรือน และการช่วยเหลือด้านมุนษยธรรมมากมาย เฮอร์คิวลิสยังมีอายุยาวนานกว่าเครื่องบินรุ่นใหม่ๆ อย่างเครื่องบินขนส่งขึ้น-ลงระยะสั้นขนาดกลาง

ซี-130เจ ซูเปอร์เฮอร์คิวลิส
บทบาทเครื่องบินขนส่งทางทหาร
ชาติกำเนิด สหรัฐ
บริษัทผู้ผลิตล็อกฮีด มาร์ติน
บินครั้งแรก5 เมษายน พ.ศ. 2539
เริ่มใช้พ.ศ. 2542
สถานะอยู่ในการผลิต
ผู้ใช้งานหลักกองทัพอากาศสหรัฐ
นาวิกโยธินสหรัฐ<>ยามชายฝั่งสหรัฐ
กองทัพอากาศอังกฤษ
มูลค่า62 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[1]
พัฒนามาจากซี-130 เฮอร์คิวลิส
แบบอื่นล็อกฮีด มาร์ติน อีซี-130เจ
ล็อกฮีด มาร์ติน ดับบลิวซี-130เจ

การออกแบบและการพัฒนา แก้

ซี-130เจเป็นรุ่นใหม่ล่าสุดของเฮอร์คิวลิสและเป็นรุ่นเดียวเท่านั้นที่ยังทำการผลิตอยู่ ด้านภายนอกแล้วมันเหมือนกับเฮอร์คิวลิสรุ่นดั้งเดิม แต่อันที่จริงแล้วรุ่นเจเป็นเครื่องบินที่แตกต่างออกไปอย่างมาก ความแตกต่างนั้นได้แก่ เครื่องยนต์เทอร์โบใบพัดโรลส์-รอยซ์ เออี 2100 ดี3 พร้อมดาวตี้ อาร์391[2] ใบพัดที่ทำจากวัสดุผสม ระบบอิเลคทรอนิกอากาศแบบดิจิทัล (รวมทั้งหน้าจอฮัด) และระบบลูกเรือแบบใหม่ (นักบินสองนาย พลลำเลียงหนึ่งนาย และหัวหน้าลูกเรือหนึ่งนาย ไม่มีพลนำร่องหรือวิศวกรการบิน)

มันสามารถถูกตั้งเป็นระบบจัดการสินค้าเสริมได้อีกด้วย ระบบนี้จะประกอบด้วยสถานีลำเลียงแบบคอมพิวเตอร์จากที่ซึ่งผู้ใช้สามารถใช้รีโมตควบคุมพื้นด้านล่างและตั้งระบบพื้นพลิกเพื่อปรับให้พื้นทีลูกเลื่อนหรือไม่มี ในการพัฒนาตอนแรกให้กับกองทัพอากาศสหรัฐ ระบบนี้สามารถทำการเปลี่ยนแปลงหน้าที่ของมันได้อย่างรวดเร็วเพื่อบรรทุกและยืดเวลาในการทำงานของเครื่องบิน[3] การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้เพิ่มการทำงานให้เหนือกว่าซี-130อี/เอช อย่างพิสัยมากกว่าเดิม 40% ความเร็วสูงสุดมากกว่า 21% และใช้ระยะทางในการขึ้น-ลงน้อยกว่า 41%[4]

ซี-130เจนั้นมีแบบที่มีความยาวพื้นฐานหรือยืดออกได้แบบ-30 ล็อกฮีด มาร์ตินได้รับรายการสั่งซื้อรุ่นเจจากกองทัพอากาศอังกฤษ ซึ่งต้องการทั้งหมด 25 ลำ โดยให้เริ่มส่งมอบในพ.ศ. 2542 โดยใช้ชื่อว่าเฮอร์คิวลิส ซี. มาร์ก 4 (ซี-130เจ-30) และเฮอร์คิวลิส ซี. มาร์ก 5 (ซี-130เจ)

กองทัพอากาศสหรัฐได้เงิน 470 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับการทำสัญญาซื้อเคซี-130เจหกลำจากล็อกฮีด มาร์ตินในกลางเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551 ในสัญญาระบุว่าต้องการซี-130เจเข้าไปแทนที่เอชซี-130 และเอ็มซี-130[5]

ด้วยอุปกรณ์พิเศษของนาวิกโยธิน เคซี-130เจะสามารถทำหน้าที่ในการเป็นเครื่องบินเฝ้าดูและสามารถให้การสนับสนุนภาคพื้นดินด้วยการใช้ปืนใหญ่ 30 ม.ม. ขีปนาวุธเฮลไฟร์ และระเบิดนำวิถี[6] ด้วยกำลังเหล่านี้ มันจึงมีชื่อว่า"ฮาร์เวสท์ฮอว์ก" (Harvest Hawk) ที่สามารถใช้ได้ในสถานการณ์ที่ความแม่นยำไม่จำเป็นนัก อย่างพื้นที่ปลอดอาวุธ[7]

ประวัติการทำงาน แก้

 
หน้าจอฮัดของนักบินผู้ช่วยบนซี-130เจ

ผู้ใช้รายใหญ่ที่สุดคือกองทัพอากาศสหรัฐ ซึ่งกำลังสั่งซื้อในจำนวนที่มากขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบันซี-130เจถูกใช้โดยกองทัพอากาศสหรัฐ นาวิกโยธินสหรัฐ(มันจะเป็นเครื่องบินแบบที่ 4 ต่อจากเคซี-130เอฟ เคซี-130อาร์ และเคซี-130ที)[8]) ยามชายฝั่งสหรัฐ กองทัพอากาศอังกฤษ กองทัพอากาศออสเตรเลีย กองทัพอากาศเดนมาร์ก กองทัพอากาศนอร์เวย์ และกองทัพอากาศอิหร่าน มีซี-130เจที่จัดหามาทั้งสิ้น 186 ลำในรายการสั่งซื้อเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549[9]

ล็อกฮีด มาร์ตินได้เสนอซี-130เจให้กับกองทัพอากาศเยอรมนี ซึ่งกำลังรอคอยเครื่องบินที่จะมาแทนที่ทรานส์คอลในปีพ.ศ. 2553 (เป็นเครื่องเอ400เอ็มของแอร์บัส) แต่ข้อเสนอก็ถูกปฏิเสธ

กองทัพอากาศอินเดียได้สั่งซื้อซี-130เจทั้งหมด 6 ลำในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2551 โดยมีมูลค่าทั้งหมด 1,059 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[10] มันเป็นข้อตกลงแบบแพ็คเกจกับรัฐบาลสหรัฐภายใต้โครงการการขายให้กับกองทัพต่างชาติ และอินเดียได้เลือกข้อเสนอในการซื้อเพิ่มอีกหกลำสำหรับกองกำลังพิเศษ[11]

 
ซี-130เจ ซูเปอร์เฮอร์คิวลิสกำลังถูกทำความสะอาดที่ฐานทัพอากาศคีสเลอร์ในรัฐมิสซิซิปปี

กองทัพแคนาดาทำสัญญาซื้อมูลค่า 1,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐกับล็อกฮีด มาร์ตินสำหรับเครื่องซี-130เจจำนวน 17 ลำในวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2551 เพื่อนำมาแทนที่ซี-130เอช/อี[12] รุ่นเจจะได้รับชื่ออย่างเป็นทางการว่าซีซี-130เจ เฮอร์คิวลิสในแคนาดา[13]

กองทัพอากาศนอร์เวย์ได้สั่งซื้อซี-130เจไว้ 4 ลำเมื่อปีพ.ศ. 2550 เพื่อนำมาแทนที่ซี-130เอชทั้งหกลำที่ต้องการการซ่อมแซม[14][15] เครื่องบินลำแรกถูกส่งมอบในเดือนกันยายน พ.ศ. 2551[16][17]

กาตาร์ได้สั่งซื้อซี-130เจเมื่อปีพ.ศ. 2551 พร้อมกับชิ้นส่วนอะไหล่และการฝึกนักบินของกองทัพอากาศ ในสัญญามีมูลค่าทั้งหมด 393.6 ล้านดอลาาร์สหรัฐและมีกำหนดส่งมอบในปีพ.ศ. 2554[18] กองทัพอากาศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้ประกาศว่าทำการสั่งซื้อซี-130เจจำนวน 12 ลำในงานแสดงการป้องกันนานาชาติเมื่อปีพ.ศ. 2552 โดยมีมูลค่าทั้งหมด 1,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[19]

กองทัพอากาศอิสราเอลกำลังมองหาซี-130เจ-30[20] กองทัพอากาศอิรักได้สั่งซื้อซี-130เจ-30 หกลำ[21][22]

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552 ล็อกฮีด มาร์ตินกล่าวว่าทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสได้ขอรายละเอียดทางเทคนิคของซี-130เจเพื่อเป็นทางเลือกของแอร์บัส เอ400เอ็มที่มีปัญหา[23]

แบบต่างๆ แก้

 
เคซี-130เจสองลำของนาวิกโยธินสหรัฐขณะทำการฝึก
ซี-130เจ
เป็นเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธี
ซี-130เจ-30
รุ่นที่มีลำตัวยาวขึ้นอีก 4.6 เมตร
เคซี-130เจ
เป็นเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงและลำเลียงทางยุทธวิธีของนาวิกโยธินสหรัฐ
ดับบลิวซี-130เจ
เป็นรุ่นสำหรับทำการตรวจสภาพอากาศและตามล่าเฮอร์ริเคน
อีซี-130เจ
คอมมานโดโซโล เป็นแบบสำหรับปฏิบัติการพิเศษ
เอชซี-130เจ
เป็นเครื่องบินลาดตตระเวนระยะไกลและกู้ภัยทางทะเลของยามชายฝั่งสหรัฐ
ซีซี-130เจ เฮอร์คิวลิส
เป็นชื่อที่เรียกในกองทัพแคนาดา
เฮอร์คิวลิส ซี4
เป็นชื่อเรียกซี-130เจ-30 ในกองทัพอากาศอังกฤษ
เฮอร์คิวลิส ซี5
เป็นชื่อเรียกซี-130เจในกองทัพอากาศอังกฤษ

ประเทศผู้ใช้งาน แก้

 
ประเทศที่ใช้ซี-130เจในปัจจุบัน (สีน้ำเงิน)
 
ซี-130เจ ซี5 ของกองทัพอากาศอังกฤษก่อนจำนำเครื่องบินที่งานแสดงเมื่อปีพ.ศ. 2552
  กาตาร์
  แคนาดา
  เดนมาร์ก
  นอร์เวย์
  • กองทัพอากาศนอร์เวย์ มีซี-130เจ-30 สี่ลำในรายการสั่งซื้อ โดยลำแรกทำการส่งมอบไปแล้วในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551
  สหรัฐ
  สหราชอาณาจักร
  อิตาลี
  อิรัก
  อินเดีย
  สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
  โอมาน
  ออสเตรเลีย

รายละเอียด แก้

 
 
เฮอร์คิวลิส ซี.4 (ซี-130เจ-30) ของกองทัพอากาศอังกฤษเมื่อปีพ.ศ. 2547
  • ลูกเรือ 3 นายเป็นอย่างน้อย (นักบินสองและพลลำเลียง)
  • ความจุ
    • ผู้โดยสาร 92 คน (สำหรับซี-130เจ-30 จะได้ 128 คน) หรือ
    • ทหารพลร่ม 64 นาย (สำหรับซี-130เจ-30 จะได้ 92 นาย) หรือ
    • สินค้า 6 ฐาน (8 ฐานสำหรับซี-130เจ-30) หรือ
    • รถฮัมวี 2-3 คัน หรือ รถสายพานลำเลียงพล เอ็ม113 หนึ่งคัน
  • น้ำหนักที่บรรทุกได้ 19,090 กิโลกรัม และ 19,900 กิโลกรัมสำหรับซี-130เจ-30
  • ความยาว 29.79 เมตร และ 34.68 สำหรับซี-130เจ-30
  • ระยะระหว่างปลายปีกทั้งสอง 40.41 เมตร
  • ความสูง 11.84 เมตร
  • พื้นที่ปีก 162.1 ตารางเมตร
  • น้ำหนักเปล่า 34,274 กิโลกรัม
  • น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด มากสุดได้ 79,378 กิโลกรัม แต่โดยปกติแล้ว 70,305 กิโลกรัม
  • ขุมกำลัง เครื่องยนต์เทอร์โบใบพัดโรลส์-รอยซ์ เออี 2100ดี3 สี่เครื่องยนต์ แต่ละเครื่องให้กำลังขับ 4,700 แรงม้า (แต่ละเครื่องใช้ใบพัดขับเคลื่อนอาร์391 ที่เป็นวัสดุผสมของดาวตี้ 6 ใบ)
  • ความเร็วสูงสุด 670 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • พิสัย 5,250 กิโลเมตร
  • เพดานบินทำการ 40,000 ฟุต
  • ระยะในการบินขึ้น 953 เมตรพร้อมน้ำหนักทั้งหมด 70,300 กิโลกรัม

[28][29][4]

ดูเพิ่ม แก้

การพัฒนาที่เกี่ยวข้อง
อากาศยานที่เทียบเท่า

อ้างอิง แก้

  1. "FY 2009 Budget Estimates." เก็บถาวร 2008-10-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน United States Air Force. February 2008, p. 81.
  2. C-130J Advanced propeller system (6-blade R391 propellor) เก็บถาวร 2010-04-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Dowty Propellers. Retrieved: 31 July 2009.
  3. C-130J Spec Book. cc-130j.ca
  4. 4.0 4.1 Eden, Paul. "Lockheed C-130 Hercules". Encyclopedia of Modern Military Aircraft. Amber Books, 2004. ISBN 1904687849.
  5. Trimble, Stephen (18 June 2008). "Lockheed Martin C-130J selected for new special operations role"". Flightglobal. Reed Business Information.
  6. "General James T. Conway on The Posture of the United States Marine Corps, 14 May 2009". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-21. สืบค้นเมื่อ 2009-10-05.
  7. McCullough, Amy (1 June 2009). "Refuel and Fire". Marine Corps Times. Gannett Company. {{cite news}}: |access-date= ต้องการ |url= (help)
  8. [1]
  9. "News Breaks", Aviation Week & Space Technology, 18 December 2006.
  10. India – C-130J Aircraft เก็บถาวร 2008-03-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Defence Security Cooperation Agency, 25 May 2007.
  11. "India signs agreement for Hercules aircraft". Indian Defense Research Wing. 6 February 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-26. สืบค้นเมื่อ 2009-10-05.
  12. Warwick, Graham. "Canada signs $1.4bn contract for 17 Lockheed Martin C-130Js". Flight International, 16 January 2008. Accessed: 17 January 2008.
  13. "Public Works and Government Services Canada - PWGSC announces next step in procuring tactical airlift fleet". 3 August 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-22. สืบค้นเมื่อ 2007-08-08.
  14. "Norway to Renew Tactical Transport Fleet". Defense Industry Daily, 23 November 2009.
  15. "Kontraktene er på plass" เก็บถาวร 2009-06-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (นอร์เวย์). Norwegian Defence Force website, 29 June 2007. Contract for new transport planes signed (english)
  16. "Arbeidshesten er tilbake" เก็บถาวร 2009-07-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (นอร์เวย์). Norwegian Defence Force website, 25 November 2008. Plough horse back in business (english)
  17. Hoyle, Craig. "Norway takes delivery of first Lockheed Martin C-130J". Flight International, 17 November 2008.
  18. "LOCAL BRIEFING - Lockheed to Supply Planes to Qatar". Washington Post, 8 October 2008, p. D4
  19. [2]
  20. "Israel - C-130J-30 Aircraft". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-25. สืบค้นเมื่อ 2009-10-05.
  21. Iraq - C-130J-30 Aircraft เก็บถาวร 2008-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Defense Security Cooperation Agency, 25 July 2008.
  22. 22.0 22.1 "Iraq Orders C-130Js". Defense Industry Daily, 12 August 2009.
  23. U.K., France Seek Data on Super Hercules Plane, Lockheed Says
  24. "Qatar Buys 3 C-130Js"[ลิงก์เสีย]. Defense News, 8 October 2008.
  25. Hoyle, Craig. "Lockheed Martin delivers 100th C-130J for US customer". Flightglobal.com, 1 May 2008. Retrieved on 2 May 2008.
  26. "Lockheed Martin Completes C-130J Deliveries for 2001". Lockheed Martin UK. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-07. สืบค้นเมื่อ 2008-06-06.
  27. "Sultanate of Oman Acquires C-130J Super Hercules" เก็บถาวร 2012-06-30 ที่ archive.today. Reuters, 5 June 2009
  28. "USAF C-130 Hercules fact sheet". September 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-01. สืบค้นเมื่อ 13 June 2009.
  29. Frawley, Gerard (2002). The International Directory of Military Aircraft, 2002/03. Fyshwick, ACT, Australia: Aerospace Publications Pty Ltd. pp. 108. ISBN 1-875671-55-2.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้