ซีสต์ (อังกฤษ: cyst) หมายถึง ถุงน้ำ หรือก้อนตุ่มไตที่ผิดปกติ มักเป็นเนื้องอกไม่ร้าย (ไม่เป็นมะเร็ง) ประเภทหนึ่ง มีลักษณะเป็นถุงเมมเบรนปิดแยกออกจากเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียง ภายในอาจบรรจุอากาศ ของเหลว ไขมัน หรือเซลล์ผิวหนัง เช่น กระดูก ฟัน ลูกตา เล็บ หรือเส้นผมเป็นต้น

ภาพตัดขวาง teratoma cyst พบที่รังไข่ของมนุษย์ ที่ภายในบรรจุเซลล์ผิวหนังและเส้นผม

ซีสต์ เกิดขึ้นได้ในหลายๆตำแหน่งภายในร่างกาย ที่พบบ่อย เช่น ที่บริเวณเต้านม เปลือกตา รังไข่ นิ้วมือ แขน ขา ไต และใต้ผิวหนังส่วนต่างๆ ซีสต์มีหลายชนิด เรียกแตกต่างกันตามลักษณะการเกิด ตำแหน่งที่เกิด และลักษณะของซีสต์เอง เช่น

  • เดอร์มอยด์ซีสต์ (Dermoid cyst หรือ Teratoma) เกิดจากเซลล์ผิวหนังที่จัดวางอยู่ผิดตำแหน่งตั้งแต่พัฒนาการขั้นแรกของทารกในครรภ์ มักพบเส้นผม เล็บ กระดูก ไขมันอยู่ภายใน
  • ช็อกโกแล็ตซีสต์ (Chocolate cyst หรือ Endometrioma) คือ ซีสต์ ที่ภายในบรรจุของเหลวสีน้ำตาลคล้ายชอคโกแล็ต ซึ่งจริงๆ แล้วคือ เยื่อบุมดลูกที่เป็นเลือดประจำเดือนเก่าๆ ซึ่งไหลย้อนกลับผ่านท่อนำไข่ ไปฝังอยู่ในส่วนต่างๆ เช่น รังไข่ มดลูก และนอกมดลูก
  • ฟังชันนัลซีสต์ (Functional cyst) คือ ซีสต์ที่สามารถยุบฝ่อหายไปเองได้ เมื่ออยู่ในสภาพที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการเติบโต

สาเหตุ แก้

สาเหตุของการเกิดซีสต์ในผิวหนังชั้นนอกมีหลายประการ เช่น

  • รูขุมขนอุดตันจากการสะสมของเซลล์ผิวหนัง
  • รูขุมขนถูกทำลายอันเนื่องมาจากการเป็นสิว
  • ต่อมน้ำมันใต้ผิวหนังอุดตันหรือทำงานผิดปกติ

อาการ แก้

  • ก้อนเล็กนูนเกิดขึ้นใต้ผิวหนัง
  • มีกลิ่นเหม็น มีของเหลวหนืดไหลซึมออกมาจากก้อนนูน
  • หากเกิดการอักเสบจะเป็นสีแดง กดแล้วเจ็บรอบๆ ก้อนนูนอย่างไรก็ตาม อาการทั้งหมดนี้อาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ที่ไม่ใช่ซีสต์ในผิวหนังชั้นนอกก็ได้ หากมีอาการดังกล่าวข้างต้นควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย

ซีสต์ ไขมันใต้ผิวหนัง มีผลข้างเคียงอย่างไร? แก้

ผลข้างเคียงที่พบได้จากซีสต์ไขมันผิวหนัง คือ การติดเชื้อในซีสต์ ก่อให้เกิดอาการ บวม แดงเจ็บที่ก้อน อาจมีไข้ได้

อย่างไรก็ตาม ซีสต์ในลักษณะนี้ไม่ค่อยเป็นอันตราย แต่อาจเสี่ยงเกิดความผิดปกติหรือกลายเป็นมะเร็งได้ โดยผู้ป่วยควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจอย่างละเอียดหากสังเกตพบอาการดังต่อไปนี้

  • ก้อนซีสต์ขยายใหญ่มากกว่า 5 เซนติเมตร
  • มีก้อนซีสต์โตขึ้นใหม่อย่างรวดเร็วหลังจากผ่าออกไปแล้ว
  • พบสัญญาณการติดเชื้ออื่น ๆ เช่น มีอาการปวด เกิดรอยแดง มีหนอง เป็นต้น

การวินิจฉัย แก้

โดยมากแล้วแพทย์จะวินิจฉัยได้ว่าผู้ป่วยเป็นซีสต์ในผิวหนังชั้นนอกโดยดูจากอาการที่เกิดขึ้น แพทย์อาจส่งตัวผู้ป่วยไปยังผู้เชี่ยวชาญด้านโรคผิวหนังเพื่อการตรวจวินิจฉัยต่อไป

แพทย์สามารถวินิจฉัย Sebaceous Cyst ได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  • การซักประวัติและตรวจร่างกาย แพทย์สามารถวินิจฉัยอาการได้จากการสังเกตลักษณะก้อนเนื้อที่ผิวหนังและการตรวจร่างกายทั่วไป แต่หากพบว่าก้อนซีสต์มีความผิดปกติ สงสัยว่าอาจเป็นมะเร็ง หรือผู้ป่วยต้องการผ่าก้อนซีสต์ออก แพทย์อาจต้องวินิจฉัยด้วยวิธีอื่นเพิ่มเติม
  • การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ ซีที สแกน เป็นวิธีที่ช่วยให้แพทย์เห็นลักษณะของก้อนซีสต์ได้ชัดเจนมากขึ้น อาจใช้ตรวจดูบริเวณที่เกิดความผิดปกติอย่างละเอียดหรือเพื่อประเมินการผ่าตัด
  • การตรวจอัลตราซาวด์ ใช้สำหรับตรวจดูของเหลวที่อยู่ภายในซีสต์
  • การตัดชิ้นเนื้อตรวจ แพทย์จะผ่าตัดเอาเนื้อเยื่อบางส่วนจากถุงซีสต์ไปส่งตรวจอย่างละเอียดในห้องปฏิบัติการทางพยาธิวิทยา เพื่อตรวจลักษณะชิ้นเนื้อ ชนิดของเซลล์ และตรวจหาความเป็นไปได้ในการเกิดมะเร็ง

เมื่อไรควรรีบไปพบแพทย์ ? แก้

ปกติซีสต์ไขมันใต้ผิวหนังไม่เป็นอันตรายร้ายแรงใดๆ แต่ถ้าพบว่ามีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาให้ถูกต้อง

  • ขนาดของก้อนโตขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • มีอาการปวดบวมแดงร้อน หรือมีหนองไหลจากก้อน
  • มีซีสต์เกิดขึ้นใหม่ทันทีหลังผ่าตัดออกไปแล้ว

การรักษา แก้

เนื่องจาก ซีสต์ไขมันผิวหนังไม่มีอาการ และไม่เปลี่ยนเป็นมะเร็ง จึงไม่จำเป็นต้องทำการรักษา แต่หากต้องการกำจัดก้อนซีสต์ สามารถทำได้โดยการผ่าตัดโดยต้องเอาถุงซิสต์ออกให้หมด

เพราะถ้ายังมีถุงอยู่ก็สามารถเป็นก้อนซ้ำได้อีกในตำแหน่งเดิม อย่างไรก็ตาม ถ้ามีการอักเสบติดเชื้อ การรักษาคือการให้ยาปฏิชีวนะ ร่วมกับการผ่าเอาสารภายในซีสต์หรือหนองออกก่อน อาจร่วมกับการฉีดยาต้านการอักเสบเข้าไปในซีสต์ด้วย

  • การผ่าตัด ผ่าเอาซีสต์ทั้งก้อนออกไป
  • การเจาะน้ำออก เปิดก้อนซีสต์เพื่อให้ของเหลวในก้อนซีสต์ไหลออกมาก่อน จากนั้นนำถุงซีสต์ที่เหลือออกมา
  • การฉีดสเตียรอยด์ ไม่ได้เป็นการนำเอาก้อนซีสต์ออก แต่เป็นการทำให้การอักเสบน้อยลง

วิธีดูแลตนเอง หลังการรักษา ซีสต์ แก้

การดูแลตนเองเมื่อเป็น ซีสต์ไขมันผิวหนัง คือ ไม่ควรพยายามกดสารสีขาวออกจากซีสต์ด้วยตนเอง เพราะจะทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อตามมาได้ และถ้ากังวลในการมีก้อนซีสต์ หรือเมื่อซีสต์โตขึ้น ควรพบแพทย์

แล้วจะป้องกัน ซีตส์ ได้อย่างไร ? แก้

ไม่มีวิธีป้องกันซีสต์ไขมันใต้ผิวหนังได้ 100% แต่สามารถลดโอกาสเกิดได้ โดยรักษาความสะอาดผิวหนัง ป้องกันการเกิดสิว หรือแผล รวมถึงใช้เครื่องสำอางผิวทุกชนิดเป็นชนิดปลอดไขมัน (Oil free) และหลีกเลี่ยงแสงแดดจัด

[1]

[2]

[3]

[4]

  1. https://www.bumrungrad.com/th/conditions/cysts-epidermis
  2. https://www.synphaet.co.th/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%83/
  3. https://www.pobpad.com/sebaceous-cyst-%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%9C%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87
  4. https://www.rattinan.com/sebaceous-cyst/