มีมาร์ ซินัน

สถาปนิกชาวออตโตมัน
(เปลี่ยนทางจาก ซินาน)

มีมาร์ ซินัน (ตุรกีออตโตมัน: معمار سينان, อักษรโรมัน: Mi'mâr Sinân, ตุรกี: Mimar Sinan, ออกเสียง: [miːˈmaːɾ siˈnan]; ป. ค.ศ. 1488/1490 - 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1588) เป็นหัวหน้าสถาปนิกออตโตมัน (ตุรกี: mimar) และวิศวกรโยธาแก่สุลัยมานผู้เกรียงไกร, สุลต่านเซลิมที่ 2 และสุลต่านมูรัดที่ 3 รู้จักกันในชื่อ โคจา มีมาร์ ซินัน อาอา (Koca Mi'mâr Sinân Âğâ, "ซินัน อาอา สถาปนิกหลวง") เขามีส่วนในการก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่กว่า 300 งาน และแบบพอประมาณหลายงาน เช่น โรงเรียน การเป็นลูกมือฝึกหัดของเขานำมาสู่การออกแบบมัสยิดสุลต่านอาเหม็ดที่อิสตันบูล และสตารีมอสต์ที่มอสตาร์

มีมาร์ ซินัน
ภาพวาดดินสอของมีมาร์ ซินัน
เกิดป. ค.ศ. 1488/1490
Ağırnas, Karaman Eyalet,
จักรวรรดิออตโตมัน
(ปัจจุบันคือจังหวัดคัยเซรี, ประเทศตุรกี)
เสียชีวิต17 กรกฎาคม ค.ศ. 1588 (97–100 ปี)
คอนสแตนติโนเปิล, จักรวรรดิออตโตมัน
(ปัจจุบันคืออิสตันบูล, ประเทศตุรกี)
สัญชาติออตโตมัน
ลายมือชื่อ

เป็นบุตรของช่างหิน เขาได้รับการศึกษาอย่างดีและกลายเป็นวิศวกรการทหาร เขาได้เลื่อนตำแหน่งหลายครั้งจนเป็นหัวหน้าและท้ายที่สุดก็เป็นผู้บังคับบัญชาจานิสซารีย์ (Janissary) พร้อมกับตำแหน่ง ağa[1] แล้วกลายเป็นมืออาชีพในด้านการก่อสร้างป้อมปราการทุกรูปแบบ เช่นเดียวกันกับโครงสร้างพื้นฐานทางทหาร เช่น ถนน, สะพาน และสะพานส่งน้ำ[2] ตอนอายุ 50 ปี เขาถูกแต่งตั้งเป็นหัวหน้าสถาปนิกหลวง[2]

ผลงานสำคัญของเขาคือมัสยิดเซลีมีเยที่เอดีร์แน ถึงแม้ว่าผลงานที่โด่งดังที่สุดของเขาคือมัสยิดซิวเลย์มานีเยที่อิสตันบูลก็ตาม เขาถูกยกย่องเป็นสถาปนิกที่ยิ่งใหญ่แห่งสถาปัตยกรรมออตโตมันยุคคลาสสิก และถูกเปรียบเทียบกับมิเกลันเจโลโดยโลกตะวันตก[3][4] ผลงานของมีมาร์ ซินัน เป็นหนึ่งในสิ่งที่มีอิทธิพลมากที่สุดในประวัติศาสตร์[5]

ช่วงต้นและเบี้องหลัง แก้

 
รูปปั้นครึ่งตัวของมีมาร์ ซินันที่อิสตันบูล

รายงานจากนักชีวประวัติร่วมสมัย Mustafa Sâi Çelebi ซินันเกิดใน ค.ศ. 1489 (ป. ค.ศ. 1490 ตามรายงานจากสารานุกรมบริแทนนิกา[6] ค.ศ. 1491 ตามรายงานพจนานุกรมสถาปัตยกรรมอิสลาม และบางช่วงระหว่าง ค.ศ. 1494 ถึง 1499 ตามรายงานจากศาสตราจารย์ชาวตุรกีและสถาปนิก Reha Günay)[7] มีชื่อเกิดคือโจเซฟ (Joseph) โดยอาจเป็นคนจากชาวอาร์มีเนียน,[8][9][10][11][12][13] ชาวกรีกแคปพาโดเชีย,[14][15][16][17][18][19][20] ชาวแอลเบเนีย[21][22][23] หรือชาวตุรกีที่นับถือศาสนาคริสต์[24] ในหมู่บ้านเล็กที่มีชื่อว่าAğırnas ใกล้กับเมืองคัยเซรีในอานาโตเลีย (กล่าวในคำสั่งของสุลต่านเซลิมที่ 2)[25] รายงานจากสารานุกรมบริแทนนิกา ซินันอาจมีต้นกำเนิดจากอาร์มีเนียหรือกรีก[6] ข้อโต้แย้งที่เชื่อว่าเขามีต้นกำเนิดเป็นชาวอาร์มีเนียหรือกรีกคือพระราชกฤษฎีกาของสุลต่านเซลิมที่ 2 ที่บันทึกในวันที่ 7 เราะมะฎอน ฮ.ศ. 981 (ประมาณ 30 ธันวาคม ค.ศ. 1573)[11][26]

รายงานจากนกวิชาการบางท่าน นั่นหมายความว่าครอบครัวของเขาเป็นชาวกรีกแคปพาโดเชีย เพราะเป็นแคว้นคริสเตียนออร์ทอดอกซ์แห่งเดียวที่มีแค่ชาวกรีก[27].[28]

รายงานจาก เฮอร์เบิร์ต เจ. มุลเลอร์ คิดว่า เขา "น่าจะเป็นชาวอาร์มีเนีย"[29] Lucy Der Manuelian แห่งมหาวิทยาลัยทัฟส์แนะนำว่า "เขาสามารถเป็นชาวอาร์มีเนียผ่านทางเอกสารในจดหมายเหตุของจักรวรรดิและหลักฐานอื่น ๆ"[30]

นักวิชาการบางคนอิงว่าซินันน่าจะมีต้นกำเนิดเป็นชาวแอลเบเนีย[21] รายงานจากนักวิชาการชาวบริติช เพอร์ซี บราวน์ และนักวิชาการชาวอินเดีย Vidya Dhar Mahajan จักรพรรดิบาบูร์ ทรงไม่พอพระทัยกับสถาปัตยกรรมและแบบแผนของชาวอินเดีย ดังนั้นพระองค์จึงเชิญ "ซินัน ศิษย์ผู้นำสถาปัตยกรรมออตโตมัน, อัจฉริยบุคคลชาวแอลเบเนีย เพื่อจัดการแผนการสถาปัตยกรรมของพระองค์"[31][32].

ซินันเติบโตมาเพื่อช่วยงานพ่อ และในตอนนั้น เขาอาจมีทักษะในการก่อสร้างที่สามารถปฏิบัติได้จริง[33] มีบันทึกย่อสามฉบับ (Anonymous Text; Architectural Masterpieces; Book of Architecture) ในห้องสมุดพระราชวังโทพคาปึ ตามคำบอกของซินันถึงเพื่อนและนักเขียนชีวประวัติ Mustafa Sâi Çelebi ในเอกสารเหล่านี้ ซินันเล่าถึงชีวิตวัยเด็กละอาชีพทางทหาร พ่อของเขากล่าวถึงเขาว่า "อับดืลเมนนาน" (Abdülmennan; แปลตรงตัวคือ "ผู้รับใช้ของผู้ทรงกรุณาและเมตตา") ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ใช้ในสมัยออตโตมันถึงพ่อที่ไม่ใช่มุสลิมของผู้เข้ารับอิสลาม[7]

ผลงาน แก้

มีหลายหลักฐานกล่าวว่าซินันสร้างสิ่งก่อสร้างอย่างน้อย 374 แห่ง ซึ่งรวมไปถึงมัสยิด 92 แห่ง; มัสยิดเล็ก 52 แห่ง (mescit); โรงเรียนสอนเทววิทยา 55 แห่ง (medrese); โรงเรียนสอนการอ่านกุรอาน 7 แห่ง (darülkurra); สุสาน 20 แห่ง (türbe); ห้องครัวสาธารณะ 17 แห่ง (imaret); โรงพยาบาล 3 แห่ง (darüşşifa); สะพานส่งน้ำ 6 แห่ง; สะพาน 10 แห่ง; สถานีคาราวาน 20 แห่ง; วังและคฤหาสน์ 36 แห่ง; โลง 8 แห่ง และอ่างน้ำ 48 แห่ง[34]

การพัฒนาทางอาชีพของซินันสังเกตได้ผ่านผลงานชิ้นใหญ่สามอัน โดยสองอันแรกอยู่ที่อิสตันบูล: มัสยิดเชห์ซาเด สร้างในช่วงเป็นลูกมือฝึกหัด มัสยิดซิวเลย์มานีเย สร้างในช่วงได้รับคุณวุฒิ และมัสยิดเซลีมีเยที่เอดีร์เน สร้างในช่วงปรมาจารย์.

เสียชีวิตและสิ่งสืบทอด แก้

 
สุสานของซินันในอิสตันบูล
 
ซินันกับมัสยิดเซลีมีเยบนด้านหลังของธนบัตร 10,000 ลีราตุรกีใน ค.ศ. 1982-1995

ซินันเสียชีวิตใน ฮ.ศ. 996 (ค.ศ. 1587-88) และฝังในสุสานที่อิสตันบูล อยู่ในบริเวณตอนเหนือของมัสยิดซิวเลย์มานีเย เขาถกฝังใกล้กับสุลัยมานผู้เกรียงไกรกับฮาเซกี ฮืร์เร็ม พระมเหสีของพระองค์

ใน ค.ศ. 1935 กลุ่มนักวิชาการตุรกีขุดลุมฝังศพของเขา ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมในเวลานั้น พวกเขาอ้างว่าหัวกะโหลกของซินันเป็นข้อพิสูจน์ว่าเขาเป็นชาวตุรกี[35]

ชื่อของเขาถูกตั้งให้แก่:

ภาพเหมือนของซินันปรากฏในด้านหลังของธนบัตร 10,000 ลีราตุรกีใน ค.ศ. 1982-1995[36] และเหรียญ 7 500 000 ลีราใน ค.ศ. 2001

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Goodwin (2001), p. 87
  2. 2.0 2.1 Kinross (1977), pp 214–215
  3. De Osa, Veronica.
  4. Saoud (2007), p. 7
  5. http://home.howstuffworks.com/home-improvement/construction/planning/10-most-famous-architects2.htm
  6. 6.0 6.1 Encyclopædia Britannica. Sinan (Ottoman architect):

    Sinan, also called Mimar Sinan (“Architect Sinan”) or Mimar Koca Sinan (“Great Architect Sinan”) (born c. 1490, Ağırnaz, Turkey—died July 17, 1588, Constantinople [now Istanbul]), most celebrated of all Ottoman architects, whose ideas, perfected in the construction of mosques and other buildings, served as the basic themes for virtually all later Turkish religious and civic architecture.
    The son of Greek or Armenian Christian parents, Sinan entered his father’s trade as a stone mason and carpenter.

  7. 7.0 7.1 Günay, Reha (2006). A guide to the works of Sinan the architect in Istanbul. Istanbul, Turkey: Yapı-Endüstri Merkezi Yayınları. p. 23. ISBN 975-8599-77-1. สืบค้นเมื่อ 2012-04-05.
  8. Fletcher, Richard (2005). The cross and the crescent: Christianity and Islam from Muhammad to the Reformation (Reprinted. ed.). London: Penguin. p. 138. ISBN 9780670032716. ...was Sinan the Old-he lived to be about ninety-an Armenian from Anatolia who had been brought to the capital as one of the 'gathered'.
  9. Zaryan, Sinan, Armenian Soviet Encyclopedia, p. 385.
  10. Kouymjian, Dickran. "Armenia from the Fall of the Cilician Kingdom (1375) to the Forced Emigration under Shah Abbas (1604)" in The Armenian People From Ancient to Modern Times, Volume II: Foreign Dominion to Statehood: The Fifteenth Century to the Twentieth Century. Richard G. Hovannisian (ed.). New York: St. Martin's Press, 1997, p. 13. ISBN 0-312-10168-6.
  11. 11.0 11.1 Alboyajian (1937), vol. 2, pp. 1533-34.
  12. Jackson, Thomas Graham (1913). Byzantine and Romanesque Architecture, Volume 1. Cambridge University Press. p. 143. They are many of them designed by Sinan, who is said to have been an Armenian
  13. Sitwell, Sacheverell (1939). Old Fashioned Flowers. Country Life. p. 74. The architect Sinan, perhaps of Armenian descent, raised mosques and other buildings all over the Turkish Empire.
  14. Talbot, Hamlin Architecture Through the Ages. University of Michigan, p. 208.
  15. Byzantium and the Magyars, Gyula Moravcsik, Samuel R. Rosenbaum p.28.
  16. Kathleen Kuiper. Islamic Art, Literature, and Culture. — The Rosen Publishing Group, 2009 — p. 204 — ISBN 9781615300976: "The son of Greek Orthodox parents, Sinan entered his father's trade as a stone mason and carpenter." .
  17. Sinan: the grand old master of Ottoman architecture, p. 35, Aptullah Kuran, Institute of Turkish Studies, 1987
  18. Walker, Benjamin and Peter Owen Foundations of Islam: the making of a world faith, 1998, p. 275.
  19. Goodwin 2003, p. 199.
  20. Rogers, J. M. (2006). Sinan: Makers of Islamic Civilization. I.B.Tauris: Oxford Centre for Islamic Studies. p. backcover. ISBN 978-1-84511-096-3. (Sinan) He was born in Cappadocia, probably into a Greek Christian family. Drafted into the Janissaries during his adolescence, he rapidly gained promotion and distinction as a military engineer.
  21. 21.0 21.1 Cragg, Kenneth (1991). The Arab Christian: A History in the Middle East. Westminster John Knox Press. p. 120. ISBN 0-664-22182-3.
  22. al-Lubnānī lil-Dirāsāt, Markaz (1992). The Beirut review, Issue 3. Lebanese Center for Policy Studies. p. 113. สืบค้นเมื่อ 2012-04-05.
  23. Brown, Percy (1942). Indian architecture: (The Islamic period). Taraporevala Sons. p. 94. … the fame of the leading Ottoman architect, Sinan, having reached his ears, he is reported to have invited certain pupils of this Albanian genius to India to carry out his architectural schemes.
  24. Akgündüz Ahmed & Öztürk Said, (2011), Ottoman History, Misperfections and Truths, IUR Press (Islamitische Universiteit Rotterdam), Pg.196, See online. Quoted from the book: "According to yet another view, Sinan came from a Christian Turkish family, whose father's name was Abdulmennan and his grandfather's Doğan Yusuf."
  25. Goodwin 2003, pp. 199–200.
  26. This decree was published in the Turkish journal Türk Tarihi Encümeni Mecmuası, vol. 1, no. 5 (June 1930-May 1931) p. 10.
  27. Necipoğlu 2007, p. 147.
  28. Constantinople, de Byzance à Stamboul, Celâl Esad Arseven, H. Laurens, 1909
  29. Muller, Herbert Joseph (1961). The Loom of History. New American Library. p. 439.
  30. "Architects, Craftsmen, Weavers: Armenians and Ottoman Art". Abstracts from the International Conference ARMENIAN CONSTANTINOPLE organized by Richard G. Hovannisian, UCLA, May 19–20, 2001. Social Sciences Division University of California, Los Angeles. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 July 2014. สืบค้นเมื่อ 13 September 2013.
  31. Brown, Percy (1942). Indian architecture: (The Islamic period). Taraporevala Sons. p. 92. สืบค้นเมื่อ 2012-04-05. … the fame of the leading Ottoman architect, Sinan, having reached his ears, he is reported to have invited certain pupils of this Albanian genius to India to carry out his architectural schemes.
  32. Mahajan, Vidya Dhar; Savitri Mahajan (1962). The Muslim rule in India, Volume 1. S.Chand. p. 210. สืบค้นเมื่อ 2012-04-07.
  33. Encyclopædia Britannica: Sinan (Ottoman architect)
  34. A list of the buildings designed by Mimar Sinan
  35. Hanioğlu, M. Şükrü (2013). Atatürk: An Intellectual Biography. Princeton, NJ: Princeton University Press. p. 171. ISBN 9780691157948.
  36. Central Bank of the Republic of Turkey เก็บถาวร 2009-06-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Banknote Museum: 7. Emission Group - Ten Thousand Turkish Lira - I. Series เก็บถาวร 2009-07-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, II. Series เก็บถาวร 2009-07-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, III. Series เก็บถาวร 2009-07-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน & IV. Series เก็บถาวร 2009-07-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. – Retrieved on 20 April 2009.

สารานุกรม แก้

ข้อมูลตติยภูมิ
  • (in Armenian) Zaryan, Armen. «Սինան» (Sinan). Armenian Soviet Encyclopedia. vol. x. Yerevan: Armenian Academy of Sciences, 1984, pp. 385–386.
  • (in French) Roux, Jean-Paul (1988). "Les Mosquées de Sinan", Les Dossiers d'archéologie, May 1988, number 127.
  • (in French) Stierlin, Henri (1988). "Sinan et Soliman le Magnifique", Les Dossiers d'archéologie, May 1988, number 127.
  • (in French) Topçu, Ali (1988a) "Sinan et l'architecture civile", Les Dossiers d'archéologie, May 1988, number 127.
  • (in French) Topçu, Ali (1988b)."Sinan et la modernité", Les Dossiers d'archéologie, May 1988, number 127.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้