ซิติเซนเดียม (อังกฤษ: Citizendium) เป็นสารานุกรมออนไลน์เสรีฐานวิกิ ภาษาอังกฤษที่เปิดบริการโดยแลร์รี แซงเงอร์[3] ผู้ร่วมก่อตั้งนูพีเดียและวิกิพีเดีย[4]

ซิติเซนเดียม
ภาพจับหน้าจอ
หน้าหลักของซิติเซนเดียมใน ค.ศ. 2018
ประเภทสารานุกรมออนไลน์
ภาษาที่ใช้ได้อังกฤษ
สร้างโดยแลร์รี แซงเงอร์
ยูอาร์แอลen.citizendium.org
เชิงพาณิชย์ไม่
ลงทะเบียนไม่จำเป็น (จำเป็นในการแก้ไขหน้า ผ่านการร้องขอบัญชี)
เปิดตัว23 ตุลาคม 2006; 17 ปีก่อน (2006-10-23) (เดิม)
25 มีนาคม 2007; 17 ปีก่อน (2007-03-25) (สาธารณะ)
สถานะปัจจุบันส่วนใหญ่ไม่มีความเคลื่อนไหว[1][2]
ลิขสิทธิ์เนื้อหาCC BY-SA 3.0

มีการประกาศครั้งแรกในเดือนกันยายน ค.ศ. 2006 ในฐานะส้อมของวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ[5] แต่เปิดตัวในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2007 โดยเน้นที่เนื้อหาต้นฉบับ จุดมุ่งหมายของโครงการคือการปรับปรุงโมเดลวิกิพีเดียด้วยการเพิ่มความน่าเชื่อถือ[6] ซึ่งมีแผนที่จะบรรลุสิ่งนี้โดยกำหนดให้ผู้มีส่วนร่วมเกือบทั้งหมดต้องใช้ชื่อจริง กลั่นกรองพฤติกรรมที่ไม่เป็นมืออาชีพอย่างเคร่งครัด ให้ "การกำกับดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญอย่างอ่อนโยน" แก่ผู้มีส่วนร่วมทุกวัน และ "บทความที่ผ่านการคัดกรอง" ที่ผ่านการพิชญพิจารณ์โดยผู้เชี่ยวชาญที่มีการรับรอง[7][8]

เว็บไซต์เคยมีผู้ที่มีความเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นในช่วง 3 เดือนแรกของ ค.ศ. 2008 หลังจากนั้นจึงเริ่มลดลง ในวันที่ 27 ตุลาคม ค.ศ. 2011 เว็บไซต์นี้มีสมาชิกที่มีความเคลื่อนไหวน้อยกว่า 100 บัญชี[1] บรรณาธิการบริหารคนสุดท้ายคือ Anthony Sebastian[9] โดยอยู่จนกระทั่งพ้นจากตำแหน่งใน ค.ศ. 2016 ข้อมูลเมื่อ 24 กันยายน ค.ศ. 2020 (2020 -09-24) เว็บไซต์นี้มีบทความถึง 17,103 บทความ ในจำนวนนี้ผ่านการรับรอง 166 บทความ และมีผู้ที่มีส่วนร่วมในช่วง 30 วันเพียง 16 บัญชี[2]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Lee, Timothy B. (27 October 2011). "Citizendium turns five, but the Wikipedia fork is dead in the water". Ars Technica. สืบค้นเมื่อ 27 October 2011.
  2. 2.0 2.1 "Welcome to Citizendium", Citizendium. Retrieved 2020-09-24, and "Statistics", Active users (Users who have performed an action in the last 30 days), Citizendium. Retrieved 2020-09-24.
  3. Bergstein, Brian (25 March 2007). "Sanger says he co-started Wikipedia". NBCNews.com. Associated Press.
  4. Volpicelli, Gian (16 April 2019). "Wikipedia's Jimmy Wales wanted to save journalism. He didn't". Wired News.
  5. Andrew Orlowski."Wikipedia founder forks Wikipedia, More experts, less fiddling?", The Register, 18 September 2006. In software engineering, a project fork occurs when developers take a copy of source code from one software package and start independent development on it, creating a distinct piece of software.
  6. "The Citizendium's Statement of Fundamental Policies". Citizendium. 6 September 2007. สืบค้นเมื่อ 25 February 2008.
  7. McCarthy, Caroline (23 January 2007). "Citizendium: Wikipedia co-founder Sanger's Wikipedia rival". CNET News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-30. สืบค้นเมื่อ 13 April 2009.
  8. Anderson, Nate (25 February 2007). "Citizendium: building a better Wikipedia". Ars Technica. สืบค้นเมื่อ 13 April 2009.
  9. "[Citizendium-l] New Managing Editor and reduced Council sizes". The Mail Archive. 1 July 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-21. สืบค้นเมื่อ 1 July 2012.

อ่านเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้