ซามูเอล จอห์นสัน

ซามูเอล จอห์นสัน รู้จักกันในชื่อ ดร. จอห์นสัน (อังกฤษ: Samuel Johnson; 18 กันยายน ค.ศ. 1709 [รูปแบบเก่า 7 กันยายน] – 13 ธันวาคม ค.ศ. 1784) เป็นนักพจนานุกรม นักวิจารณ์และกวี เกิดที่เมืองลิชฟิลด์ สแตฟฟอร์ดไชร์ ตอนกลางของประเทศอังกฤษ เป็นบุตรชายของเจ้าของร้านขายหนังสือ นับถือนิกายแองกลิคัน[1]โดยเข้ารับการศึกษาที่มหาวิทยาลัยลิชฟิลด์และออกซฟอร์ดแต่ลาออกก่อนได้รับปริญญาเพื่อมาเป็นครู ในปี พ.ศ. 2280 จอห์นสันย้ายไปอยู่ที่กรุงลอนดอนทำงานเป็นนักหนังสือพิมพ์ หลังจากปี พ.ศ. 2290 ไปอีก 8 ปี จอห์นสันได้เขียนงานพจนานุกรม “พจนานุกรมภาษาอังกฤษ” (Dictionary of English Language) ซึ่งมีนิยามคำศัพท์มากถึง 40,000 คำโดยมีตัวอย่างประกอบการใช้คำด้วยพร้อมข้อความอ้างอิงต่างๆ มากกว่า 100,000 รายการ พจนานุกรมของจอห์นสันกลายเป็นพจนานุกรมภาษาอังกฤษมาตรฐานที่ใช้กันยาวนานจนกระทั่งมีการตีพิมพ์พจนานุกรมใหม่ คือ Oxford English Dictionary ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2427[2]

ซามูเอล จอห์นสัน
ซามูเอล จอห์นสัน ประมาณ ค.ศ 1772,
ภาพวาดโดย Sir Joshua Reynolds
เกิด18 กันยายน ค.ศ. 1709(1709-09-18)
(รูปแบบเก่า 7 กันยายน)
ลิชฟีลด์, สแตฟฟอร์ดเชอร์, ประเทศอังกฤษ
เสียชีวิต13 ธันวาคม ค.ศ. 1784(1784-12-13) (75 ปี)
ลอนดอน, ประเทศอังกฤษ
สุสานเวสต์มินสเตอร์แอบบีย์
พรรคการเมืองทอรีย์
คู่สมรสElizabeth Porter (née Jervis) (สมรส 1735; เสียชีวิต 1752)
อาชีพนักเขียน
นามปากกาดร. จอห์นสัน
ภาษาอังกฤษ
จบจากPembroke College, Oxford
(ไม่มีปริญญา)
ผลงานที่สำคัญ
ลายมือชื่อ

ในปี พ.ศ. 2302 จอห์นสันได้ออกวารสารเชิงจริยธรรมที่โด่งดังชื่อ “เดอะแรมเบลอร์” (The Rambler) และในปี พ.ศ. 2311 เขียนงานร้อยแก้วเกี่ยวกับอบิสซิเนียเรื่อง “ราสเซลลาส์” (Rassellas)

ต่อมาในปี พ.ศ. 2314 จอห์นสันได้รับเบี้ยยังชีพจากราชสำนักทำให้เขาสามารถเข้าสู่แวดวงของสมาคมบรรณโลกและกลายเป็นบุคคลสำคัญในสังคม โดยเฉพาะสมาคมนักอักษรศาสตร์ที่เขาเป็นผู้ร่วมก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2307 ในปีถัดมา จอห์นสันเริ่มตีพิมพ์งานชุดเช็คสเปียร์ ปี พ.ศ. 2315 ได้เริ่มงานออกหนังสือเล่มเล็กเกี่ยวกับการเมือง พ.ศ. 2315 ได้ออกเดินทางกับเจมส์ บอสเวลล์ไปทัศนาจรสก็อตแลนด์และกลับมาเริ่มเขียนหนังสือเรื่อง “ชีวิตของกวี” (Lives of the Poets) ระหว่าง พ.ศ. 2322-24)

ชื่อเสียงของจอนห์สันในด้านความเป็นนักสนทนาในยุคนั้นได้บดบังชื่อเสียงในความสามารถด้านอักษรศาสตร์ของเขาเองเกือบหมดสิ้น หากไม่มี เจมส์ บอสเวลล์ นักเขียนชาวสก็อตผู้เป็นเพื่อนสนิทเป็นผู้เปิดเผยผลงานในสมาคมนักอักษรศาสตร์ของเขาในหนังสือชีวประวัติ "Life of Samuel Johnson" ซึ่งตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2324 ก็คงไม่มีใครทราบถึงความสามารถที่แท้จริงของเขา

ซามูเอล จอนห์สัน มีชีวิตอยู่ระหว่างรัชสมัยของพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระสมัยกรุงศรีอยุธยาและรัชสมัยของพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น

อ้างอิง แก้

จำเพาะ

  1. Meyers 2008, p. 2
  2. Rogers, Pat (2006), "Johnson, Samuel (1709–1784)", Oxford Dictionary of National Biography (online ed.), Oxford University Press, สืบค้นเมื่อ 25 August 2008

ทั่วไป

อ่านเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้