ซาโอริ คิมูระ

(เปลี่ยนทางจาก ซะโอะริ คิมุระ)

ซาโอริ คิมูระ (ญี่ปุ่น: 木村 沙織โรมาจิKimura Saori; เกิด 19 สิงหาคม ค.ศ. 1986) เป็นนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติญี่ปุ่น ซึ่งทำหน้าที่เป็นกัปตันทีมครั้งแรกในปี ค.ศ. 2013 และเป็นขวัญใจของกองเชียร์ชาวญี่ปุ่น อีกทั้งเธอยังรับใช้ทีมชาติญี่ปุ่นมานาน เห็นได้จากการเข้าแข่งขันของเธอในนามทีมชาติญี่ปุ่นที่อยู่ตั้งแต่สมัยโอลิมปิกฤดูร้อน 2004 และโอลิมปิกฤดูร้อน 2008

ซาโอริ คิมูระ
ข้อมูลส่วนบุคคล
ชื่อเต็มคิมูระ ซาโอริ
เกิด (1986-08-19) 19 สิงหาคม ค.ศ. 1986 (37 ปี)
ยาชิโอะ จังหวัดไซตามะ ประเทศญี่ปุ่น
ส่วนสูง185 ซม. (6 ft 1 in)
น้ำหนัก66 kg (146 lb)
กระโดดตบ304 เซนติเมตร
บล็อก293 เซนติเมตร
ข้อมูล
ตำแหน่งหัวเสาโค้งซ้าย
สโมสรปัจจุบันญี่ปุ่น โทเรย์แอร์โรส์
หมายเลข3
อาชีพ
ทีม
โทเรย์แอร์โรส์
ทีมชาติ
2003–2016ญี่ปุ่น
ซาโอริ คิมูระ
เหรียญรางวัล
ตัวแทนของ ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
โอลิมปิกฤดูร้อน
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 ลอนดอน 2012 ทีม
วอลเลย์บอลชิงแชมป์โลก
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 ญี่ปุ่น 2010 ทีม
วอลเลย์บอลเวิลด์แกรนด์แชมป์เปี้ยนคัพ
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 นะโงะยะ/โตเกียว 2013 ทีม
เอเชียนเกมส์
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ โดฮา 2006 ทีม
วอลเลย์บอลชิงแชมป์เอเชีย
เหรียญทอง - ชนะเลิศ สุพรรณบุรี 2007 ทีม
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 ฮานอย 2009 ทีม
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ ไทเป 2011 ทีม
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ นครราชสีมา 2013 ทีม

และเธอยังเป็นนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติญี่ปุ่นเพียงแค่คนเดียวที่มีโอกาสไปเล่นลีกอาชีพในตุรกีในนามสโมสร วาคีฟแบงก์ อิสตันบูล เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 2012 ก่อนที่ในวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 2013 จะย้ายสัญญามาอยู่กับสโมสร กาลาตาซาราย ไดกิน ในฤดูกาลตุรกีลีก 2013 ด้วยการเซ็นสัญญาค่าตัวเป็นเงิน 34 ล้านบาท ถือเป็นนักวอลเลย์บอลสัญชาติญี่ปุ่นที่มีค่าตัวสูงที่สุด[1]

ซาโอริลำอาวงการวอลเลย์บอลเมื่อ ค.ศ. 2017

ประวัติ แก้

ซาโอริ คิมูระ ภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่จังหวัดชิกะ ส่วนสูง 185 ซม. น้ำหนัก 65 กก. นอกจากนี้ เธอยังมีน้องสาวชื่อมิซาโตะ คิมูระ[2]

สโมสร แก้

สโมสร ประเทศ ปี
ชิโมะกิตะซะวะ ไซโทสุ   ญี่ปุ่น ค.ศ. 2002–2005
โทเรย์แอร์โรส์   ญี่ปุ่น ค.ศ. 2005–2012
วาคีฟแบงก์   ตุรกี ค.ศ. 2012–2013
กาลาตาซาราย ไดกิน   ตุรกี ค.ศ. 2013–2014
โทเรย์แอร์โรส์   ญี่ปุ่น ค.ศ. 2014-2017

ผลงาน แก้

กีฬาวอลเลย์บอลในโอลิมปิก

  • ค.ศ. 2004: อันดับ 5
  • ค.ศ. 2008: อันดับ 5
  • ค.ศ. 2012: อันดับ 3
  • ค.ศ. 2016: อันดับ 5

ชิงแชมป์โลก

  • ค.ศ. 2006: อันดับ 6
  • ค.ศ. 2010: อันดับ 3
  • ค.ศ. 2014: อันดับ 7

วอลเลย์บอลเวิลด์คัพ

  • ค.ศ. 2003: อันดับ 5
  • ค.ศ. 2007: อันดับ 7
  • ค.ศ. 2011: อันดับ 4
  • ค.ศ. 2015: อันดับ 5

วอลเลย์บอลหญิงเวิลด์แกรนด์แชมป์เปี้ยนคัพ

  • ค.ศ. 2005: อันดับ 5
  • ค.ศ. 2009: อันดับ 4
  • ค.ศ. 2013: อันดับ 3

เอเชียนเกมส์

  • ค.ศ. 2006: อันดับ 2

วอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย

  • ค.ศ. 2003: อันดับ 2
  • ค.ศ. 2005: อันดับ 3
  • ค.ศ. 2007: อันดับ 1
  • ค.ศ. 2009: อันดับ 3
  • ค.ศ. 2011: อันดับ 2
  • ค.ศ. 2013: อันดับ 2

หนังสือ แก้

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "5 สาวป๊อปศึกลูกยางเอเชีย - โพสต์ทูเดย์ ข่าวกีฬา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-25. สืบค้นเมื่อ 2021-08-15.
  2. "日本女子バレーボール界のエース☆木村沙織選手がイノブンに遊びに来てくれました!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-23. สืบค้นเมื่อ 2014-10-27.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้